ตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ภัยเงียบที่ต้องระวัง!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตับอ่อนอักเสบ โรคร้ายที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง สังเกตตัวเอง เพื่อการป้องกันและรู้เท่าทันโรค บทความนี้จะพาไปดูรายละเอียด โรคตับอ่อนอักเสบ เพื่อการป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง

 

ตับอ่อนอักเสบ คืออะไร?

ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) คือ การอักเสบที่เกิดขึ้นที่ตับอ่อน ทำให้เนื้อเยื่อของตับอ่อนเกิดอ่อนบวม และถูกทำลาย โดยปกติแล้วตับอ่อนมีลักษณะยาว แบน อยู่ด้านหลังกระเพาะอาหาร อยู่ที่ท้องส่วนบน ทำหน้าที่ในการผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร และผลตฮอร์โมนที่ช่วยในการควบคุม กระบวนการทำงานของน้ำตาลในร่างกาย

อาการตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

อาการตับอ่อนอักเสลเฉียบพลัน คือ ภาวะที่ตับอ่อนเกิดการอักเสบรุนแรงเฉียบพลัน โดยจะเป็นการอักเสบที่บริเวณเซลล์ของตับอ่อน ที่เกิดจากการมีน้ำย่อยจากตับอ่อน ไหลผ่านท่อของตับอ่อน ทำให้น้ำย่อยเนื้อเยื่อตับอ่อน เกิดอาการอักเสบขึ้น โดยอาการจะรุนแรง และรวดเร็วกว่าปกติ ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการจะดีขึ้นหลังจากได้รับการรักษา 1-2 สัปดาห์ 

 

ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงทันที และอาจปวดท้องแบบเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งอาจใช้เวลานานถึงหลายปี โดยผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จะสามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ประเภทของโรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตับอ่อนอักเสบบวมน้ำ และตับอ่อนอักเสบที่มีเนื้อตาย ดังนี้

  • ตับอ่อนอักเสบบวมน้ำ (Interstitial Edematous Pancreatitis) สามารถพบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน โดยจะมีอาการตับอ่อนบวม และมีการสะสมของสารน้ำในรอบ ๆ ตับอ่อน
  • ตับอ่อนอักเสบที่มีเนื้อตาย (Necrotizing Pancreatitis) โดยมีเนื้อตายของตับอ่อนจากการที่เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ และมีเนื้อตายรอบ ๆ ตับอ่อน โดยส่วนใหญ่จะเกิดร่วมกัน แต่อาจเกิดในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

 

สาเหตุของการเกิดตับอ่อนอักเสบ

ตับอ่อนอักเสบ เกิดขึ้นเมื่อเอนไซม์จากตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ย่อยอาหาร เริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ในตับอ่อน โดยเฉพาะเอนไซม์ที่ชื่อว่าทริปซิน (Trypsin) ซึ่งทำหน้าที่ใสนการย่อยโปรตีน ที่ปกติแล้วจะไม่ทำงานเมื่ออยู่ในตับอ่อน แต่จะทำงานเมื่ออยู่ในลำไส้เล็กเท่านั้น เมื่อตับอ่อนเกิดการอักเสบ จะทำให้เกิดภาวะสารเคมีผิดปกติ ซึ่งจะกระตุ้นให้น้ำย่อยของตับอ่อน และทริปซินทำงาน น้ำย่อยเหล่านี้ จะย่อยสลายเซลล์ของตับอ่อน และทำให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หากเซลล์ในตัยอ่อน มีอาการอักเสบอย่างต่อเนื่อง หรือ เกิดการอักเสบเรื้อรัง โดยอาจเกิดขึ้นหลังจากการอักเสบเฉียบพลัน ที่รักษายังไม่หาย เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบยังคงอยู่ อย่างไรก็ตาม การทำงานที่บกพร่องของตับอ่อน จะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร และทำให้เกิดโรคเบาหวานได้

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค

  • การดื่มแอลกอฮอล ในปริมาณที่มาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักดื่มมากกว่า 50 กรัมต่อวัน ติดต่อกัน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี มากกว่า 25 – 35%
  • นิ่วในถุงน้ำดี มักเกิดจากนิ่วที่หลุดออกมาจากถุงน้ำดีที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร โดยสาเหตุนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วย มากถึง 40 – 70%
  • เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง เนื้องอกตับอ่อน โรคเกี่ยวกับตับอ่อนที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ระดับแคลเซียมในเลือดสูง ยาชนิดต่าง ๆ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการตับอ่อนอักเสบเป็นอย่างไร?

อาการตับอ่อนอักเสบ จะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของการอักเสบ ดังนี้

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดบริเวณท้องส่วนบน อาจมีอาการปวดร้าว ลามไปถึงหลังได้ โดยจะปวดประมาณ 2-3 วัน
  • ปวดท้องมากขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร
  • กดแล้วเจ็บเมื่อสัมผัสหน้าท้อง อาจมีอาการท้องอืด
  • มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน
  • เกิดภาวะช็อค จากการขาดน้ำ มีอาการกระสับกระส่าย เหงื่ออก ตัวเย็น ชีพจรเต้นเบา หรือ เต้นเร็ว ความดันต่ำ
  • มีอาการดีซ่าน

 

อาการตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ปวดท้องส่วนบน เป็น ๆ หาย ๆ หรือ อาจปวดตลอดเวลา
  • น้ำหนักตัวลดผิดปกติ แบบไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างปกติ
  • มีภาวะอุจจาระมีไขมันมาก อุจจาระเป็นสีเทา สีซีด หรือ มีกลิ่นมากกว่าปกติ

 

การตรวจวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ

  • ซักประวัติส่วนตัว
  • ตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ทั่วไป เช่น ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือก การตรวจการทำงานของตับ ระดับน้ำตาล ระดับแคลเซียม และ ระดับไตรกลีเซอไรด์
  • เจาะเลือดตรวจหาเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) และ ไลเปส (Lipase) โดยตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จะพบเอนไซม์อะไมเลส ที่มีค่าสูงขึ้น ภายใน 6-12 ชั่วโมง และค่าไลเปสในเลือดจะสูงขึ้นตั้งแต่มีการอักเสบ
  • การทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP)

การรักษาโรคตับอ่อน

การรักษาตับอ่อนอักเสบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. การรักษาตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน

  • โดยปกติแล้ว การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน จำเป็นจะต้อให้สารน้ำทางหลอดเลือด และให้ยาบรรเทาอาการปวด โดยผู้ป่วย อาจต้องงดรับประทานอาหารและน้ำ เพื่อลดการทำงานของตับอ่อนก่อน จนกว่าอาการที่อักเสบจะทุเลาลง โดยแพทย์จะทำการให้น้ำเกลือ และสารอาหารทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันภาวะช็อค จากการขาดน้ำ และเป็นการรักษาสมดุลของเกลือแร่ จนกว่าผู้ป่วยจะรับประทานอาหารทางปากได้เอง
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะต้องพักรักษาตัวที่ห้องดูแลผู้ป่วยหนัก หรือ ห้องไอซียู (Intensive Care Unit: ICU) ซึ่งแพทย์จะทำการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะตับอ่อนอักเสบ จะสร้างความเสียหายแก่หัวใจ ปอด หรือ ไต
  • ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจทำให้เนื้อเยื่อตับอ่อนตายได้ ถ้ามีการติดเชื้อ อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเนื้อเยื่อเสียหาย
  • หากนิ่วในถุงน้ำดีกำเริบ อาจจำเป็นจะต้องนำถุงน้ำดีออก หรือ ผ่าตัดท่อน้ำดี โดยหลังจากนำนิ่วออกแล้ว การอักเสบจะหายไป ตับอ่อนก็จะกลับมาทำงานได้อย่างปกติ
  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน มักจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน โดยอาการของผู้ป่วยมักจะดีขึ้น และหายได้เป็นปกติ ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์

 

2. การรักษาตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

  • การรักษาตับอ่อนอักเสบเรื้อรังเป็นการทำได้ยาก แพทย์จะต้องรักษาด้วยการลดอาการปวด และจัดแจงเรื่องโภชนาการ โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะได้รับเอนไซม์ของตับอ่อน และ จำเป็นต้องได้รับสารอินซุลิน และต้องปรับตัวไปรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำด้วยเช่นกัน
  • การผ่าตัดอาจจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ในบางราย เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง คืนการระบายเอนไซม์ หรือ ฮอร์โมนของตับอ่อน การรักษาตับอ่อนอักเสบที่เกิดจากการปิดกั้นของท่อตับอ่อน หรือ ลดความถี่ของอาการกำเริบของโรค
  • ผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง จำเป็นต้องหยุดสูบบุหรี่ และ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล ตามที่แพทย์แนะนำ และต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

 

ภาวะแทรกซ้อนของตับอ่อนอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนของตับอ่อนอักเสบ อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยบางราย โดยในผู้ป่วยมักพบอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • เกิดความเสียหายกับไต
  • เป็นมะเร็งตับอ่อน
  • โรคเบาหวาน
  • ขาดสารอาหาร
  • ตับอ่อนติดเชื้อ
  • หายใจลำบาก
  • เกิดภาวะช็อคจากการขาดน้ำ
  • ตัวซีด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การป้องกันตับอ่อนอักเสบ

ตับอ่อนอักเสบ สามารถป้องกันได้ ดังนี้

  • งดการดื่มแอลกอฮอล
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
  • หากมีนิ่วในถุงน้ำดี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา

 

ตับอ่อนอักเสบ หรือ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน อาจเป็นโรคที่ไม่มีอาการที่แน่ชัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการทั่ว ๆ ไป ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดี ที่จะช่วยให้รู้ว่าร่างกายแข็งแรงหรือไม่ หากใครที่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็ตาม ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และการรักษาต่อไป

 

 

ที่มาข้อมูล 1 2

บทความที่น่าสนใจ

อาการโรคตับเริ่มแรก ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการของโรคตับ

โรคตับแข็งอาการเป็นอย่างไร โรคตับแข็งมีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคตับแข็ง

โรคตับอักเสบ และโรคตับแข็งในเด็ก เกิดได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไร

บทความโดย

Waristha Chaithongdee