อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับแม่ท้องก็คือ การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ เพื่อยืนยันว่าทารกในครรภ์นั้นปลอดภัย ไม่ได้มีภาวะคับขันอะไร เพราะบางครั้งอาจจะมีปัญหาหรือความผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะเบาหวาน มีการตกเลือดก่อนคลอด รวมไปจนถึงความรู้ที่สัมผัสได้ว่าลูกน้อยดิ้นน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังอยู่ตลอดเพื่อติดตามสุขภาพของทารก เพื่อลดการเกิดปัญหาเฉียบพลันที่สามารถส่งผลกระทบให้กับทารกได้ทุกเมื่อค่ะ
การเคลื่อนไหวของ ทารกในครรภ์
การเคลื่อนไหวของทารกจะเปลี่ยนไปตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ ซึ่งจะเริ่มเคลื่อนไหวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 7 สัปดาห์ และเมื่อถึงช่วง 8-10 สัปดาห์ ทารกก็จะเริ่มมีความเคลื่อนไหวแบบบิดตัวไปมา สามารถงอและเหยียดตัวได้ ส่วนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์จะเริ่มมีการเคลื่อนไหวของ แขน ขา และลำตัวที่ชัดเจนมากขึ้น และในช่วง 18-20 สัปดาห์ขึ้นไป การเคลื่อนไหวของทารกจะเป็นช่วงที่เคลื่อนไหวมากหรือน้อยไปเลย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการ การสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมของทารกในครรภ์ด้วยค่ะ
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ ระยะก่อนคลอดแบบเบื้องต้น
1. การนับลูกดิ้น
การที่คุณแม่รู้สึกได้ว่าลูกกำลังดิ้นนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ค่อนข้างเก่าแก่อยู่เหมือนกัน แต่ก็บอกได้ถึงสุขภาพของทารกได้ครรภ์ได้ เพราะคุณแม่จะรับรู้ได้ก็ต่อเมื่อลูกดิ้นหรือลูกน้อยมีการเคลื่อนไหว ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 และจะเริ่มรู้สึกชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในไตรมาสที่ 3 ดังนั้น ถ้าจะมีปัญหาแบบเฉียบพลันคนที่จะได้รับรู้ก่อนก็คือคุณแม่นั่นเองค่ะ โดยอาศัยวิธีการนับลูกดิ้น จึงทำให้คุณแม่เล็งเห็นถึงความใส่ใจต่อการนับลูกดิ้นอย่างถูกวิธี และเมื่อไรก็ตามที่ลูกในท้องไม่ดิ้น ส่วนใหญ่ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์แล้ว ดังนั้น การนับลูกดิ้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับแม่ท้องทุก ๆ คน
สำหรับการรับรู้ลูกดิ้นจะเริ่มรู้สึกตอนอายุครรภ์ได้ประมาณ 18 -20 สัปดาห์ ในขณะเดียวกันครรภ์หลังจะรู้สึกเร็วขึ้น ประมาณ 16-20 สัปดาห์ เพราะว่าทารกจะเคลื่อนไหวเยอะขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 28-34 สัปดาห์ และหลังจากนี้จะค่อย ๆ ลดลง แต่ก็ยังเคลื่อนไหวอยู่โดยที่มารดาอาจไม่รู้สึกเลยก็ได้ พอครบกำหนดพบได้ถึงร้อยละ 40 ในทารกปกติอาจมีการเคลื่อนไหวได้ตั้งแต่ 4-100 ครั้งต่อชั่วโมง และทารกจะดิ้นมากในช่วงเย็นค่ะ
2. การประเมินน้ำคร่ำ
การตรวจเช็กสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วยปริมาณน้ำคร่ำ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมนำมาใช้กันมากอยู่เหมือนกัน เพราะทำได้ง่ายมากจากการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ ซึ่งปริมาณน้ำคร่ำสัมพันธ์กับการเกิด uteroplacental insufficiency ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังไตลดน้อยลง การทำงานของไตลดลง ทำให้ปัสสาวะสร้างได้น้อยตามไปด้วย การประเมินปริมาณน้ำคร่ำจึงช่วยทำนายสุขภาพทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะภาวะทารกโตช้าในครรภ์ ซึ่งการวินิจฉัยน้ำคร่ำที่นิยมใช้จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ
- วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ เป็นการตรวจหาตำแหน่งของแอ่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ไม่มีสายสะดือหรือตัวเด็กอยู่ โดยจะวัดในแนวดิ่ง และต้องมีที่ว่างในแนวนอนอย่างน้อย 1 ซม. และถ้ามีขนาด 2 ซม. หรือน้อยกว่า จะถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อยค่ะ ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่ายแต่ก็มีขีดจำกัดในการวัดเช่นกัน
- วัดดัชนีปริมาณน้ำคร่ำ ค่านี้ได้จากค่าที่ได้จากการวัดแอ่งน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดจากการแบ่งหน้าท้องมารดาเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยอาศัยแนวของสะดือและ linear nigra ถ้าน้อยกว่า 5 ซม. ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย
3. Nonstress test (NST)
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยวิธีนี้จะอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ ด้วยการดู fetal heart rate variability เป็นการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติต่อสิ่งกระตุ้น ซึ่งมีการใช้มาก่อนในการตรวจสุขภาพทารกในระยะช่วงคลอด และต่อมาได้นำมาใช้ในระยะก่อนคลอด เพื่อตรวจด้วย electronic fetal monitoring ดู FHR pattern
การตรวจ สุขภาพของทารกในครรภ์ ในระยะก่อนคลอด
- คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยวิธี nonstress test, contraction stress test, biophysical profile หรือ modified biophysical profile.
- คุณแม่สามารถเริ่มตรวจครรภ์ได้ตั้งแต่ 32 -34 สัปดาห์ ส่วนรายที่มีความเสี่ยงสูงบางกรณี สามารถเริ่มได้เร็วตั้งแต่ 26-28 สัปดาห์
- คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายควรได้รับการตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและดุลยพินิจของแพทย์
- หากผลตรวจออกมาผิดปกติ ควรได้รับการตรวจยืนยันสุขภาพทารกด้วย contraction stress test หรือ full biophysical profile
- ถ้ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย ควรพิจารณาให้คลอดก่อนกำหนด หรือติดตามต่ออย่างใกล้ชิด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ด้วย
- ในรายที่พบว่าทารกมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตในครรภ์ ควรพิจารณาให้คลอด
- แม้ผลการตรวจติดตามสุขภาพทารกในระยะก่อนคลอดจะปกติ แต่ก็ยังจำเป็นต้องตรวจการเต้นของหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง
การตรวจ สุขภาพของทารกในครรภ์ ระยะคลอด
การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะคลอดที่มีความเสี่ยงสูง ยิ่งจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามสุขภาพของทารกอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังระยะคับขันที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเจ็บคลอด โดยให้มีการใช้ intrapartum electronic fetal monitoring (EFM) ซึ่งจะแปลผลตามคำแนะนำของ American College of Obstetrics and Gynecology ที่มีแนวทางในการดูแลรักษาตามระบบการแปลผลของคุณแม่ตั้งครรภ์ค่ะ
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แน่นอนอยู่แล้วว่าการตรวจสุขภาพถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก และไม่ใช่แค่การตรวจร่างกายของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังเป็นการตรวจสุขภาพของทารกในท้องด้วยว่าเขายังอยู่ดีไหม การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นอย่างไร ดิ้นเร็วหรือช้าหรือเปล่า ซึ่งสามารถเริ่มเช็กได้ตั้งแต่ครรภ์อายุได้ 7 สัปดาห์จนถึงตอนคลอดเลยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตรวจร่างกายหญิงตั้งครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง? นัดตรวจครรภ์ทุกไตรมาส
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในครรภ์สมบูรณ์ ลูกในครรภ์ของคุณครบ 32 หรือเปล่า
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 53 การอัลตราซาวด์ ตรวจความผิดปกติได้หรือไม่
ที่มา : cmu