แผ่นป้องกันหัวนม คืออะไร ควรใช้หรือไม่ระหว่างให้นมลูก?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แผ่นป้องกันหัวนม คือ แผ่นหุ้มหัวนมสังเคราะห์ ที่ใช้สวมใส่เต้านมขณะให้นมลูก แผ่นหุ้มนี้ ส่วนมากจะทำจากซิลิโคน หรือยางพารา นอกจากนี้ ยังมีอีกหลาย ๆ แห่ง ที่ทำแผ่นป้องกันหัวนมนี้ จากแก้ว และขี้ผึ้งเหมือนกัน สำหรับคุณแม่ท่านใดที่กำลังสงสัยว่า แผ่นป้องกันหัวนม จำเป็นหรือไม่ วันนี้ theAsianparent Thailand จะพามาไขข้อสงสัยกันครับ

 

แผ่นป้องกันหัวนม หรือ Nipple Shield คืออะไร

nipple shield หรือ แผ่นป้องกันหัวนม  โล่หัวนมเป็นปกบางทำจากซิลิโคนอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นที่ครอบคลุมหัวนมของผู้หญิง และใช้ในการช่วยพยาบาลเด็กทารกแรกเกิด มันมีรูเล็ก ๆ หลายแห่งที่ปลายของโล่เพื่อให้น้ำนมไหลผ่านได้ง่าย โล่สามารถทำให้ทารกดูดนมได้ง่ายขึ้น และสามารถป้องกันหัวนมเจ็บได้ ทารกจะยึดเข้ากับจุกนมแทน การล็อกเข้ากับหัวนมของแม่โดยตรง ใช้หุ้มลานนมในระหว่างให้นม จะมีรูตรงปลายไปทางหัวนม ซึ่งรูที่แผ่นป้องกันหัวนมแม่นี้ จะช่วยให้น้ำนมไหลได้อย่างสะดวก และช่วยให้ลูกดูดนมได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย แถมลดอาการอักเสบหัวนมของคุณแม่อีกด้วย

nipple shield บางประเภทนั้น อาจจะมีพื้นที่ว่างตรงขอบ เพื่อให้คางหรือจมูกของลูกน้อย ได้สัมผัสกับผิวหนังแม่ เพื่อสร้างความแนบชิดระหว่างแม่กับลูกในตอนให้นม

 

ควรใช้ แผ่นป้องกันหัวนม เมื่อใด?

  1. เมื่อลูกมีปัญหาเรื่องการเข้าเต้า : หากทารกมีปัญหาเรื่องการเข้าเต้า ไม่สามารถงับเต้านมได้สะดวก คุณก็อาจจะใช้แผ่นป้องกันหัวนม หรือ nipple shield มาเป็นตัวช่วย เพราะแผ่นป้องกันหัวนมนี้ มีส่วนช่วยให้หัวนมแม่ ขยับหันออกมาด้านนอก ซึ่งจะทำให้น้ำนมไหลเข้าสู่ปากของทารกได้ดียิ่งขึ้น
  2. ปัญหาอาจมาจากสรีระตัวคุณแม่เอง : เช่น หัวนมสั้น ทำให้ลูกงับเต้านมได้ไม่สะดวก คุณแม่ก็ต้องใช้ตัวช่วยอย่างแผ่นป้องกันหัวนม หรือ nipple shield เพราะแผ่นป้องกันหัวนมนี้ จะทำให้หัวนมของคุณแม่ ขยับออกมาข้างนอกมากขึ้น โดยจะอยู่ในแผ่นป้องกันหัวนม ทำให้ลูกดูดได้ง่ายขึ้น
  3. เมื่อลูกคลอดก่อนกำหนดหรือตัวเล็กมาก ๆ : ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีขนาดตัวที่เล็กกว่าปกติ มักจะเจอปัญหาเรื่องการดูดนม คือ ไม่สามารถดูดน้ำนมได้ถนัด ซึ่งคุณแม่ก็อาจจะใช้แผ่นป้องกันหัวนม หรือ nipple shield นี้ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด หลังจากนั้นเมื่อทารกโตขึ้น จึงให้ลูกดูดน้ำนมจากเต้าได้ตามปกติ
  4. เมื่อคุณแม่มีอาการเจ็บหัวนม หรือหัวนมแตก : สำหรับคุณแม่ที่มีอาการดังกล่าว ก็อาจจะทำให้เกิดความลำบากในการให้นมลูก ซึ่งคุณแม่สามารถใช้แผ่นป้องกันหัวนม หรือ nipple shield เพื่อช่วยบรรเทา อาการเจ็บตอนที่ลูกดูดนมได้ครับ
  5. เมื่อลูกมีอาการสับสนหัวนม : หากลูกสับสนหัวนม เพราะไม่ได้ดูดนมจากเต้าตั้งแต่แรกเกิด แต่ดูดจากขวดมาก่อน ก็อาจทำให้ลูกปฏิเสธเต้านมได้ คุณหมอจึงมักจะแนะนำให้คุณแม่ใช้ nipple shield หรือแผ่นป้องกันหัวนม เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้กินนมจากเต้าของคุณแม่ได้ โดยไม่เกิดอาการสับสนครับ

อย่างไรก็ตาม คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญ มักจะไม่แนะนำให้คุณแม่ใช้แผ่นป้องกันหัวนม หรือ nipple shield เป็นเวลานาน ๆ หรือตลอดระยะเวลาที่ต้องให้นมลูกนะครับ เพราะไม่ใช่วิธีดูดนมแบบธรรมชาติ และเป็นแค่อุปกรณ์เพื่อใช้ ตอนที่มีปัญหาเรื่องการให้นมเท่านั้น

หากจำเป็นต้องใช้แผ่นป้องกันหัวนม หรือ nipple shield ควรเริ่มใช้หลังจากที่ลูกอายุได้ 3 – 6 วันเป็นต้นไป และควรปรึกษาคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้นะครับ เพราะอาจมีข้อเสียคือทำให้การสร้างน้ำนมลดลง เนื่องจากหัวนมไม่ได้รับการกระตุ้นนั่นเองครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการใช้ Nipple Shield หรือแผ่นซิลิโคนป้องกันหัวนม

  • เช็ดบริเวณหัวนมให้สะอาด
  • หยดน้ำนมเล็กน้อยบริเวณแผ่นซิลิโคน
  • ติดแผ่นซิลิโคนบริเวณหัวนม
  • ค่อย ๆ กดรอบ ๆ บริเวณหัวนมแล้วจึงให้ลูกดูดนม
  • ดูแลทำความสะอาด ให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา

 

วิธีการเลือกใช้ Nipple Shield หรือแผ่นซิลิโคนป้องกันหัวนม

  • เลือกขนาด ที่เหมาะสมกับหน้าอก ของคุณแม่ จะสามารถลดความเจ็บปวดการเสียดสี และทำให้น้ำนมไหลได้ดีที่สุด
  • เลือกขนาด ที่เหมาะสมกับลูกน้อย แผ่นปิดหัวนมขนาดที่ดีและเหมาะสม คุณแม่อาจต้องเพิ่มขนาดเป็นขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ เมื่ออายุลูกน้อยเพิ่มมากขึ้น
  • ปรึกษาการให้นมบุตรที่ได้รับการรับรอง หรือกุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อดี ของการใช้แผ่นป้องกันหัวนมแม่

คุณหมอหลายคนอาจแนะนำ ให้คุณแม่ใช้แผ่นป้องกันหัวนมแม่ เพราะช่วยลดอาการเจ็บได้ หากคุณแม่มีอาการเจ็บหรือหัวนมแตกครับ อีกทั้งแผ่นป้องกันหัวนมแม่ หรือ nipple shield นั้นยังช่วยให้แม่ให้นมลูกได้ดีขึ้นอีกด้วย เมื่อแม่มีน้ำนมพุ่ง เวลาที่ลูกดูดนม น้ำนมจะพุ่งเข้าคอลูกจนสำลัก Nipple shield จะเป็นตัวกั้นน้ำนมและช่วยลดแรงปะทะลงอีกด้วย

หากทารกแรกเกิดหรือทารกที่มีภาวะลิ้นติด อาจมีแนวโน้มที่จะมีปัญหากับการล็อกโดยเฉพาะ การใช้ที่ป้องกันหัวนมจะช่วยให้ ทารกดูดนมได้ง่ายขึ้น คิดว่าเกราะป้องกันหัวนมคือ “การฝึกให้นมบุตร” สำหรับลูกน้อย เมื่อพวกเขาเชี่ยวชาญศิลปะ การดูดนมและการให้นมแล้ว คุณควรจะสามารถให้นมลูกได้ โดยไม่ต้องมีเกราะป้องกัน แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรใช้แผ่นป้องกัน หัวนมแม่ในระยะเวลาสั้น ๆ จนกว่าลูกจะดูดนมได้อย่างคล่องแคล่ว หรือจนกว่าอาการเจ็บหัวนมจะหายครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจ็บน้ำตาเล็ด ลูกกัดหัวนม ความเจ็บปวดที่ต้องทนเท่านั้นรึเปล่านะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ข้อเสีย ของการใช้แผ่นป้องกันหัวนมแม่

แน่นอนครับว่า ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าวิธีการทางธรรมชาติ มาดูข้อเสียจากการใช้ แผ่นป้องกันหัวนมแม่กันครับ

  • อาจทำให้การสร้างน้ำนมลดลง เนื่องจากหัวนมไม่ได้รับการกระตุ้น
  • หากใช้แผ่นป้องกันหัวนมแม่ ในขนาดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ก็อาจทำให้คุณแม่เกิดอาการเจ็บหัวนมได้
  • อาจทำให้คุณแม่เกิดอาการ เต้านมอักเสบได้
  • บางครั้งลูกของคุณอาจมีปัญหา การดูดน้ำนมเมื่อใช้แผ่นป้องกันหัวนม
  • อาจทำให้ลูกดูดน้ำนมได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลูกได้รับน้ำนม ในปริมาณไม่เพียงพอ
  • หากใช้แผ่นป้องกันหัวนม มีความยากลำบาก สำหรับคุณแม่บางคน ในที่การให้ลูกเข้าเต้าในที่สาธารณะ คุณแม่จะต้องใส่ที่ป้องกันหัวนมก่อนที่ลูกจะสามารถล็อกได้

 

การให้นมนั้นช่วยให้แม่และลูกได้มีเวลาร่วมกัน ได้สัมผัสซึ่งกันและกัน และยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี หากลูกของคุณมีปัญหาการดูดนม ควรใช้แผ่นป้องกันหัวนมแม่ ในช่วงระยะเวลา 2 – 3 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของคุณหมอจะดีที่สุดนะครับ หากคุณแม่ต้องการ ใช้ในระยะเวลามากกว่า 2 – 3 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะดีที่สุด

หากคุณแม่ท่านใด ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้แผ่นป้องกันหัวนม หรือ nipple shield ก็อย่าลืมบอกเล่าประสบการณ์ให้กับทางทีมงานและผู้อ่านท่านอื่นได้อ่านกันบ้างนะครับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 วิธีรับมือ ลูกชอบกัดหัวนมแม่ตอนให้นม

เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย

การให้นมลูก ปริมาณน้ำนม และความถี่ในการให้นม ฉบับคู่มือแม่มือใหม่

ที่มา : momjunction

บทความโดย

P.Veerasedtakul