คางทูม อาการเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคคางทูม มาจากอะไร ?

คางทูม อาการเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคคางทูมมาจากอะไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คางทูม เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถติดเชื่อไวรัสได้จากคนสู่คน โดยที่สัมผัสกับละอองของน้ำลายผู้ที่ติดเชื้อ จากการ ไอ จาม ไวรัสจะเคลื่อนตัวจากระบบทางเดินหายใจ ไปยังต่อมของน้ำลายบริเวณข้างหู เมื่อต่อมนั้นเกิดอาการอักเสบจะทำให้เกิดอาการเจ็บ ปวด และบวม แดง นอกจากนี้แล้ว ถ้าไวรัสแพร่กระจายแล้วสู้สมองและไขสันหลังแล้ว ก็อาจจะแพร่ไปยังส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกายได้ สงผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาทีหลังได้ เราไปดูกันว่า อาการของโรคคางทูม เป็นอย่างไร? สาเหตุที่เป็นเพราะสิ่งใด?

 

ขอขอบคุณวีดีโอจาก : nuradio , https://www.youtube.com

 

คางทูม อาการ เป็นอย่างไร?

คางทูม อาการ โรคคางทูมมักจะมีอาการที่ผิดปกติที่สามารถสังเกตได้นั้นก็คือ ต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณข้างหูมีอาการเจ็บ ปวด บวม แดง อย่างเห็นได้ชัด และจะมีอาการตามข้างต้นนี้ คือ

  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศสเซลเซียส
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ปากแห้ง
  • มีอาการเบื่ออาหาร
  • ปวดตามเนื้อตัว และข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ป้องกันโควิด เมื่อออกจากบ้าน ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโควิด – 19

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คางทูม อาการ คางทูม เป็นอย่างไร? คางทูมอาการเป็นแบบไหน

สาเหตุของโรคคางทูมคืออะไร?

สาเหตุของ โรคคางทูม เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส เป็นวัยรัสที่อยู่ในอากาศสามารถแพร่กระจายได้โดยการ ไอ จาม เหมือนโรคหวัดธรรมดา หรือสัมผัสเข้ากับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากผู้ป่วยที่อาจจะแฝงอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู เก้าอี้ หรือแม้แต่งสิ่งของส่วนตัวที่ให้ร่วมกัน ผู้ป่วยในส่วนใหญ่แล้วมักจะแพร่เชื้อก่อรที่จะมีอาการบวมของต่อมน้ำลายบริเวณข้างหู 2-3 วัน โดยที่เชื้อไวรัสนี้จะเคลื่อนตัวออกจากระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ ปาก จมูก ลำคอ ไปยังต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณข้างหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง โดยปกติแล้วโรคนี้จะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 16-18 วัน แล้วจะพบมากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นหนักในเด็กช่วงอายุ 5-9 ปี จะมีอัตราการป่วยที่สุด หรือกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนนั้นเอง

 

การวินิจฉัยของ โรคคางทูม?

โรคคางทูม ในปกติแล้วจะรักษาตามอาการหากว่ายังไม่ได้มีอาการอะไรที่รุนแรง หรือพบอาการแทรกซ้อน โดยแพทย์ก็อาจจะวินิจฉัย คางทูม อาการ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ตรวจสารก่อภูมิต้านทานของ (Antigen) ในเลือด
  • ตรวจอาการ บวม ของต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณข้างหู และต่อม ทอนซิล ในปาก
  • ตรวจวัดอุณหภูมิ ของผู้ป่วยดูว่าอยู่ในระดับที่สูงผิดปกติอยู่หรือไม่
  • ตรวจเช็คประวัติการ อาการเจ็บป่วยของตัวผู้ป่วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?

 

คางทูม อาการคางทูม ไวรัส คางทูมอาการเป็นยังไง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษา โรคคางทูม เป็นอย่างไร?

การรักษาของโรคคางทูมในปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้โดยเฉพาะ แต่ก็มีวิธีที่สามารถช่วยลดอาการ ปวด และทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จนกว่าอุณหภูมิในร่างกายจะเป็นปกติ
  • รับประทานยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอลหรือ ไอบูโปรเฟน และไม่ควรใช้ยา แอสไพริน กับเด็กน้อย และบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพราะอาจเกิดกลุ่มอาการ ไรย์ซินโดรม ซึ่งจะทำให้ตับ และสมองมีอาการ บวม อาเจียน อ่อนเพลีย ชัก และหมดสติลงได้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะกรดในน้ำผลไม้จะทำให้ต่อมน้ำลายเกิดการระคายเคืองมากขึ้น และทำให้ปวดบวมมากขึ้นได้
  • การประคบร้อน หรือการประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการปวดบวมที่บริเวณต่อมน้ำลายได้
  • รับประทานอาหารอ่อน หรืออาหารเหลว เช่น โจ๊ก ซุป เพื่อลดการเคี้ยว และการกระแทกในบริเวณที่มีอาการ ปวด บวม

โดนส่วยใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น และหายได้ในเวลาประมาณ 7-10 วัน แต่เมื่อได้รับการรักษาตามอาการแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วย เพราะอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคที่มากับหน้าฝน มีอะไรบ้าง มาดูวิธีรับมือและป้องกันลูกน้อยจากโรคเหล่านี้กัน!!

 

วิธีการป้องกัน โรค คางทูม

การป้องกันของโรคคางทูมสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีน MMR (Measles Mumps Rubella Vaccine) เป็นการฉีดเข้าไปใต้ผิวหนัง ขนาด 0.5 มิลลิลิตร บริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้า ในเด็กหรือต้นแขนใน ผู้ใหญ่ ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ถึง 95% การรับวัคซีนจะเกิดขึ้นทั้งหมด 2 ครั้ง คือ

  • ครั้งแรกในเด็วัยอายุ 9-12 เดือน
  • ครั้งที่ 2 ในเด็กอายุประมาณ 2 ขวบ หรือ 4-6 ขวบ

เมื่อปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณะสุข ของประเทศไทย มีการแนะนำให้เปลี่ยนการฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่ 2 จากเด็กอายุ 4-6 ขวบ เลื่อนเข้ามาเป็นอายุ 2 ขวบครึ่ง เพื่อเร่งการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กที่ได้รับวัคซีนครั้งแรกในอายุ 9 เดือน แล้วไม่ได้ผล

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สถานการณ์เสี่ยงติดโควิด ที่คุณแม่และเด็ก ๆ ต้องหลีกเลี่ยง !!

เลี้ยงลูกแบบนี้ไง ลูกถึงเป็น โรคพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว เด็กเกเร ไม่ใช่เรื่องเล็ก

โรคซางในเด็กเล็ก คืออะไร รักษาอย่างไร ยาซาง คืออะไร

 

แหล่งที่มา : (pobpad)

บทความโดย

chonthichak88