แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดธาตุเหล็ก ทั้งที่กินครบ 5 หมู่! หมอแนะปรับตารางการกินด่วน!

ลูกบ้านไหนกินได้ทุกอย่างอย่าเพิ่งดีใจ ถึงจะกินได้ทุกอย่างกินครบ 5 หมู่แต่ว่าปริมาณน้อย ก็เป็นสาเหตุ ลูกขาดธาตุเหล็ก 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ Charles Kimmi แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดธาตุเหล็ก จนมีภาวะเลือดจางและเม็ดเลือดแดงตัวเล็ก *สาเหตุจากการกินน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ทั้ง ๆ ที่กินครบ 5 หมู่ !! และมีข้อบ่งชี้จากอาการที่หลายๆ บ้านคิดว่า เดี๋ยวโตขึ้นก็หาย !!

แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดธาตุเหล็ก ทั้งที่กินครบ 5 หมู่!

ลูกขาดธาตุเหล็ก มีข้อบ่งชี้อย่างไร

คุณแม่เล่าว่า เมื่อวันที่ 5 เม.ย. คุณแม่พาน้องทีก้าลูกชายวัย 1.6 ไปรับวัคซีนตามนัดปกติ ตอนแรกก็คิดว่าแค่ไปฉีดวัคซีน คุยกับคุณหมอเรื่องพัฒนาการของน้อง คุณแม่เล่าว่าน้องเป็นเด็กกินง่าย แต่กินน้อย กินตับ กินผัก กินผลไม้ กินได้ทุกอย่างเลย

แต่สิ่งที่ทำให้คุณหมอเริ่มกังวลคือ น้องมีอาการร้องกลั้น ทั้งที่อายุ 1.6 ขวบแล้ว แต่ยังไม่หายร้องกลั้น จึงเป็นข้อบ่งชี้ที่ทำให้คุณหมอแนะนำให้เจาะเลือดตรวจ

*ร้องกลั้น คือ ร้องไห้แล้วกลั้นหายใจค้างไปสักแป๊บ จนหน้าเขียวปากม่วง (ทีก้าไม่ถึงขั้นหมดสติ) เป็นได้ตั้งแต่ทารก – 6 ขวบ ปกติจะดีขึ้นช่วง 1 ขวบขึ้นไป ที่หมอตรวจเพราะจะดูว่ามีภาวะอะไรซ่อนเร้นมั้ย ถ้าบางคนตรวจแล้วไม่เจอภาวะซ่อนเร้นที่ต้องรักษาก็รอดีขึ้นเองค่ะ

ร้องกลั้นสาเหตุผิดปกติที่ซ่อนเร้นจะมี >> ภาวะเลือดจาง โรคหัวใจ หรือ โรคลมชัก

แล้วผลเลือดออกมา น้องทีก้า มีภาวะเลือดจางจริงๆ

คุณหมอจึงให้ยาธาตุเหล็กมากิน วันละ 5 ml. และนัดเจาะเลือดตรวจละเอียดอีกครั้ง วันที่ 27 เม.ย (พร้อมกับตรวจเลือดตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง)

และฟังผลเลือดของภาวะเลือดจาง วันที่ 28 เม.ย. กับคุณหมอโรคเลือดเด็กเฉพาะทาง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หลังจากเสริมยาธาตุเหล็กไป 21 วัน ก็ยังไม่ดีขึ้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

28 เม.ย. ผลออกมาว่า ค่าเลือดหลายอย่างของทีก้าต่ำกว่าเกณฑ์มากค่ะ เช่น HD , Hct , MCV , MCH และ SI ต่ำมาก ค่าแค่ 21 เกณฑ์ต้อง 33-193

ข้อบ่งชี้ คือ สีปากชมพูอ่อน (มาก) สีผิวออกเหลือง เล็บเท้าบางฉีกง่าย ลักษณะคือ บางอ่อน แบนราบ ส่วนนิ้วก้อยแอ่นลงจนผิดรูปค่ะ หน้าเล็บไม่เรียบมีความเป็นคลื่นๆ

ด้วยความผลไม่โอเค คุณหมอเลยจัดตารางการกินมาให้ใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ทีก้ากินได้เยอะขึ้นและเป็นผลดีกับการเจริญเติบโต

และนัดติดตามผลการปรับตารางการกิน อีกครั้งวันที่ 6 พ.ค.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งคุณหมอแจ้งว่าค่าเลือดจะดีขึ้นหลังจากรับยาธาตุเหล็กหลัง 4 สัปดาห์ไปแล้ว

คุณหมอปรับตารางการกินใหม่หมด

พฤติกรรมการกินเดิมของน้อง ตอนแรกทีก้าเป็นเด็กกินง่าย กินผัก กินตับ กินผลไม้ กินหมดทุกอย่างเลยค่ะ แต่ติดตรงกินน้อย นมก็กินน้อย แต่กินเยอะเป็นผลไม้ !! (ที่เคยคิดว่าดีอาจจะไม่ใช่แล้วว) และนมมื้อสุดท้ายของทีก้าคือ เที่ยงคืน (นมแม่)  กลางวันกินนมน้อยค่ะ นมกล่องก็กินได้แค่กล่อง 110-125ml. (บางครั้งก็ไม่หมด) เสริมแค่วันละ 1-2 กล่อง บางวันก็ไม่ยอมกินนมกล่องเลย 

เคสของทีก้า แม่ให้น้องกินผลไม้มากไปจนกินข้าวหรืออาหารหลักได้น้อยค่ะ ต้องการปรับให้กินข้าวมื้อหลักให้ได้มากขึ้น

เริ่มการปรับตั้งแต่เย็นวันที่ 28 เม.ย. มื้อข้าว มื้อนม ระยะห่างปรับตามตารางคุณหมออย่างเคร่งครัดบวกลบเวลาได้ตามความเหมาะสม 

 

ตารางการกินที่คุณหมอแนะนำ

มื้อหลัก 3 มื้อเท่านั้น ไม่มีมื้อว่าง

8:00 มื้อเช้า (เน้นผัด ทอด เจียว เพิ่มน้ำหนัก)

>> ผลไม้ท้ายมื้อ 3-5 ชิ้น

10:00 นมเสริม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

12:00 มื้อเที่ยง

>> ผลไม้ท้ายมื้อ 3-5 ชิ้น

14:00 นมเสริม

18:00 มื้อเย็น

20.00 นมเสริม (สามารถขยับเป็นตอนเข้านอน)

 

คุณหมอบอกเพิ่มเติมไว้ว่า ไม่มีมื้อว่าง มื้อไหนกินน้อยก็ต้องรอมื้อถัดไป เพื่อน้องจะได้กินข้าวเยอะขึ้น

และฝึกวินัยการกิน 1. นั่งกินพร้อมกัน 2. ไม่ป้อน (กินเท่าที่กินได้)

1-3 วันแรก คือ งดผลไม้ไปเลย ทีก้าร้องไห้หนักมากๆ คุณพ่อกับคุณแม่ต้องสลับกันอุ้มกล่อมทั้งคืน

คุณแม่ขยับนมมื้อสุดท้ายมาเป็น 3 ทุ่ม เพราะน้องเข้านอน 3 ทุ่ม (จุ๊บเต้า) แม่จะให้น้องกินให้อิ่มจะได้นอนยาวถึงเช้า ถ้าตื่นหรืองอแงระหว่างคืน จะไม่มีการให้นมแล้ว

พอปรับไปเข้าวันที่ 4 ข้าวมื้อเย็นทีก้ากินได้เยอะขึ้นมากๆ แล้ว มื้อที่กินได้เยอะจะให้ผลไม้เป็นรางวัลนิดหน่อยเสริมวิตามิน แต่ไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน

พอปรับตารางตามคุณหมอ เห็นได้ชัดเจนเลยคือ ทีก้านอนยาวตั้งแต่ 3 ทุ่ม ถึง 6-7โมงเช้า ข้าวเช้าและเที่ยงยังกินได้ไม่เยอะเท่าที่พอใจค่ะ แต่ข้าวเย็นกินได้เยอะขึ้นมากๆ แล้ว

เรื่องการปรับนี้ง่ายมากๆ เพราะคนในบ้านทุกคนให้ความร่วมมือ ตายายน้าทุกคนเข้าใจและให้ความร่วมมือค่ะ

 

หลังปรับการกิน ผลเป็นที่น่าพอใจ

6 พ.ค. นัดเพื่ออัพเดตการปรับการกิน คุณหมอพอใจมากๆ คุณหมอดูฝ่ามือและกดท้องทีก้า บอกว่าสีโอเคและหุ่นก็ดีขึ้น 

 

ผลเลือดเป็นไปในทิศทางที่ดี

2 มิ.ย นัดเจาะเลือดอีกครั้ง เพื่อดูค่าเลือดว่า ดีขึ้นไหม  ผลออกมา ค่าเลือดขึ้นมาจากเดิมเล็กน้อย ซึ่งคุณหมอบอกว่าเป็นสัญญาณที่ดีแล้ว แต่ยังต้องติดตามต่อเนื่องจนกว่าค่าเลือดจะถึงเกณฑ์ค่ะ

 

 

theAsianparent Thailand ขอขอบคุณคุณแม่ Charles Kimmi หวังว่าประสบการณ์ที่คุณแม่นำมาเล่าในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับแม่ๆ ทุกบ้านในการดูแลเรื่องอาหารการกินของลูกน้อยให้ได้สารอาหารครบถ้วน เพื่อป้องกัน ลูกขาดธาตุเหล็กการสังเกตข้อบ่งชี้ภาวะเลือดจาง เช่น การร้องกลั้น ลักษณะเล็บของน้อง รวมถึงการปรับตารางการกินตามที่คุณหมอแนะนำค่ะ 

 

ธาตุเหล็กสำคัญอย่างไร

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายของเด็ก โดยมีหน้าที่สำคัญดังนี้

  • สร้างเม็ดเลือดแดง: ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิน โปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย เด็กที่ขาดธาตุเหล็กจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยลง หรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ
  • ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ: ธาตุเหล็กมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและสมอง การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก
  • เพิ่มสมาธิและความจำ: ธาตุเหล็กช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง ส่งผลต่อสมาธิ ความจำ และการเรียนรู้ของเด็ก

ลูกขาดธาตุเหล็ก อาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • อ่อนเพลีย
  • ซีดเซียว
  • เบื่ออาหาร
  • หายใจลำบาก
  • นอนหลับไม่สบาย
  • สมาธิสั้น
  • พัฒนาการช้า

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก

  • เนื้อสัตว์: เนื้อวัว หมู ไก่ ปลา แฮม
  • ตับ: ตับวัว ตับหมู
  • ผักใบเขียว: ผักโขม บร็อคโคลี่ คะน้า
  • ถั่ว: ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ
  • ธัญพืช: ข้าวโอ๊ต คินัว ข้าวกล้อง
  • ผลไม้แห้ง: ลูกเกด อินทผลัม
  • ไข่แดง

การเสริมธาตุเหล็ก

ในบางกรณี เด็กอาจจำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กเสริมจากอาหาร โดยเฉพาะเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย เด็กที่ดื่มนมวัวน้อย เด็กที่กินอาหารไม่หลากหลาย เด็กที่มีโรคประจำตัวบางชนิด และเด็กที่ขาดธาตุเหล็ก

ปรึกษาแพทย์

หากกังวลว่าลูกน้อยอาจขาดธาตุเหล็ก ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและประเมินระดับธาตุเหล็กในเลือด แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลและเสริมธาตุเหล็กที่เหมาะสมกับลูกน้อย

แหล่งข้อมูล : Nonthavej Hospital , dumex  , nestle

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทารกตัวซีด เซื่องซึม มือเท้าเย็น ต้องรีบเสริมธาตุเหล็กด่วน

อาหาร 6 ชนิดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ

คุณแม่ควรให้ลูกน้อยทาน วิตามิน หรือ ยาเสริมธาตุเหล็กทารก หรือไม่ ?