ตู้แช่นมจำเป็นหรือไม่ ตู้แช่นม สำคัญอย่างไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 48

ตู้แช่นมจำเป็นหรือไม่ แม่ท้องมือใหม่หลาย ๆ ท่านคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการสต็อกนมเก็บไว้ให้ลูกน้อย มาดูกันว่าการสต็อกน้ำนมแม่นั้นสำคัญอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตู้แช่นมจำเป็นหรือไม่ แม่ท้องมือใหม่หลาย ๆ ท่านคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการสต็อกนมเก็บไว้ให้ลูกน้อย วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับการสต็อกน้ำนมแม่มาฝากคุณแม่กัน มาดูกันว่าการสต็อกน้ำนมแม่นั้นสำคัญอย่างไร

 

นมน้ำแม่ ถือเป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก เพราะเป็นแหล่งรวบรวมสารอาหารที่ครบถ้วน ทั้งยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้อย่างดีอีกด้วย แต่สำหรับคุณแม่บางท่านอาจจะไม่มีเวลามากพอที่จะพาเจ้าหนูน้อยเข้าเต้า อันเนื่องมาจากหน้าที่การงานหรือเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุให้ห่างไกลจากลูกน้อย เพราะฉะนั้น ตู้แช่นม และการสต็อกนมไว้ให้ลูกน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญนั้นเอง

 

ตู้แช่นมจำเป็นหรือไม่ ตู้แช่นม ดีอย่างไร

ตู้แช่นมจำเป็นหรือไม่ ประโยชน์ของการสต็อกน้ำนม ใน ตู้แช่นม

การปั๊มนมเก็บไว้ให้กับลูกน้อย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ที่สามารถช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากนมแม่อย่างครบถ้วนในยามที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องกลับไปทำงาน โดยการเก็บน้ำนมเช่นนี้นอกจากจะช่วยให้ลูกได้ทานน้ำนมแม่ที่สารอาหารครบถ้วนแล้ว  ยังช่วยให้คุณแม่ไม่เครียดในเรื่องการดื่มนมของลูกด้วยเช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่จะจัดเรียงสต็อก ตู้แช่นมจำเป็นหรือไม่

การที่จะจัดเรียงสต็อกนมถุงใหญ่ให้เรียบร้อยได้ ก็ต้องทำถุงเล็กให้เรียบร้อยก่อน ปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมจะเก็บใส่ถุงน้ำนมสำหรับทำสต็อกนม 40 ถุงแรก คุณแม่ตั้งใจจะเก็บถุงละ 4 Oz. แต่เมื่อมาคิดว่ากว่าเราจะได้ใช้นมสต็อกระหว่างวัน ลูกน่าจะกินประมาณ 12 Oz. เลยเริ่มเก็บถุงละ 6 Oz. เท่ากันทุกถุงเพื่อเป็นการประหยัดถุงเก็บนมแม่ด้วย

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  1. ถุงเก็บนมแม่ มีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ เช่น Boots Natur ทานตะวัน ฯ ล ฯ แตกต่างกันที่คุณภาพและราคา
  2. ขวดเก็บน้ำนมที่มีขีดบอกปริมาตร จะได้มาตรฐานกว่าวัดด้วยถุง
  3. ปากกาเขียนถุงนม (ปากการเขียนซีดี)
  4. ตะกร้าสำหรับวางเก็บนมก่อนบรรจุลงถุงใหญ่

 

วิธีการจัดเก็บสต๊อกนม

เราสามารถเก็บนมที่ปั๊มหลาย ๆ ครั้งรวมกันได้ แต่ไม่ควรจะเกิน 24 ชั่วโมง สมมติปั๊มครั้งที่ 1 ได้ 8 Oz. ก็เก็บใส่ถุง 6 Oz. แช่แข็ง ส่วนอีก 2 Oz. ใส่ขวดเก็บน้ำนมแช่เย็นไว้

ครั้งที่ 2 ปั๊มได้ 7 Oz. เอา 2 Oz. ที่อยู่ในขวดนมมารวมด้วย โดยใช้ 2 Oz. (ครั้งที่แล้ว) + 4 Oz. (ครั้งนี้) เก็บใส่ถุงแช่แข็ง ส่วน 3 Oz. ที่เหลือเก็บใส่ขวดแก้วแช่เย็น ทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นนมในขวดแก้วจะอยู่ในตู้เย็นช่องธรรมดาจะไม่ถึง 24 ชม.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตอนเก็บน้ำนม ให้เทน้ำนมลงไปในถุงแล้ววางถุงราบกับพื้นโต๊ะโดยยกปากถุงขึ้น ค่อย ๆ ไล่อากาศออกไป แล้วก็ไล่ปิดปากถุงจากนั้นนำไปใส่ในตู้แช่โดยวางนอนราบเหมือนกัน หรือใช้นิ้วรีดที่ก้นถุงเพื่อให้น้ำนมกระจายทั่วกันด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คุณแม่รู้รึเปล่า ลูกกินนมแม่มากเกินไป ก็มีโทษเหมือนกันนะ

ตู้แช่นม จำเป็นหรือไม่ ตู้แช่นม ดียังไง

วิธีจัดเรียงสต๊อกนม

  1. หาตะกร้ามาใส่นมถุงเล็กที่ปั๊มสต๊อกไว้ เมื่อเก็บได้ครบ 10 ถุงเล็กแล้ว นำมาบรรจุเก็บใส่ถุงใหญ่อีกที
  2. เขียนเลขที่ถุงให้เห็นชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดเรียง เขียนวันที่ลงไปด้วยจะได้ทราบว่านมที่เก็บนั้นปั๊มตั้งแต่เมื่อไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขั้นตอนการห่อเก็บนมสต๊อก

อุปกรณ์

  1. ถุงเย็นขนาด 12 x 18 นิ้ว (หาซื้อได้ที่ Macro จะขายเป็นแพ็คละ 1 กิโลกรัม) เพื่อนำมาใช้ห่อถุงนม
  2. สก็อตเทป
  3. กระดาษสำหรับเขียนเลขที่ถุง
  4. ปากกาสำหรับเขียนเลขที่ถุง

 

ข้อควรระวัง

  • หากเป็นตู้เย็นประตูเดียวควรเก็บนมอย่างน้อยเพียง 1 เดือน และตู้เย็น 2 ประตูสามารถเก็บนมได้ 2-3 เดือน
  • ไม่ควรเปิดตู้เย็นในช่องที่เก็บแช่สต๊อกนมบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ความเย็นไม่คงที่ทำให้นมเสียเร็ว
  • หลีกเลี่ยงการนมสต๊อกแช่รวมกับอาหารแช่แข็งชนิดอื่น ๆ เพื่อป้องกันกลิ่น อาหารไปรบกวนน้ำนม และ ทำให้น้ำนมจะเก็บได้นานและ คุณภาพดี ไม่เสียง่าย

 

ตู้แช่ นมจำเป็นหรือไม่ ตู้แช่นม ดียังไง

เคล็ดลับการทำนมสต๊อก

  • เริ่มต้นปั๊มนมในช่วงเช้าประมาณตี 5-6โมงเช้าดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมได้มากที่สุด
  • สลับเต้าให้ลูกดูดกับเต้าที่จะปั๊มนมคนละข้าง เช่น ถ้าตื่นก่อนลูก ให้ปั๊มน้ำนมข้างซ้ายออกก่อน 1 ข้าง ประมาณ 10-15 นาที เก็บเอาไว้ เมื่อลูกตื่นให้ลูกดูดข้างขวานานจนกว่าจะพอใจ แล้วให้ลูกมาดูดต่อข้างซ้ายที่เราปั๊มออกไปก่อนแล้ว และเมื่อลูกดูดเสร็จ ก็กลับมาปั๊มน้ำนมข้างขวาต่ออีก 2-3 นาทีเพื่อกระตุ้น
  • ถ้าลูกตื่นก่อน ให้ลูกดูดนมข้าง 1 จนพอใจ แล้วคุณแม่มาปั๊มนมอีกข้างที่ลูกไม่ดูดประมาณ 15 นาที จากนั้นกลับมาปั๊มข้างที่ลูกดูดไปแล้วอีก 2-3 นาที หรือถ้าเป็นไปได้ลองปั๊มนมอีกข้างไปพร้อม ๆ กับที่ลูกดูดอีกข้าง เพื่อจะช่วยประหยัดเวลาและทำให้คุณแม่ปั๊มนมได้ง่ายขึ้นด้วย
  • ถ้าลูกดูดข้างเดียวไม่อิ่มก็สลับให้ดูดนมแม่ทั้งสองข้างก่อน หลังจากนั้นค่อยมาปั๊มต่อข้างละ 10-15 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนม
  • ในระหว่างวัน คุณแม่ก็สามารถปั๊มนมเก็บทำนมสต๊อกได้ ด้วยการปั๊มนมต่อ 10-15 นาทีหลังลูกดูดเสร็จแต่ละมื้อ ทำเรื่อย ๆ ทุกวัน ร่างกายจะรับรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมเพิ่ม คุณแม่ก็จะได้น้ำนมที่ปั๊มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 1 ออนซ์ เป็น 2 เป็น 3 ออนซ์
  • ทานอาหารให้ครบและใส่ใจในโภชนาการ ดื่มน้ำให้มาก ๆพักผ่อนให้เต็มที่ จะช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมได้ตามความต้องการของลูกและเพียงพอต่อการทำสต๊อกนมในที่สุด
  • ส่วนคุณแม่ที่เริ่มกลับไปทำงานแล้ว ระหว่างอยู่ที่ทำงานควรปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมงและเป็นเวลาที่สม่ำเสมอแบบนี้ทุกวัน เช่น ตอนเช้าให้ลูกดูดก่อนไปทำงานพอถึงที่ทำงานก็ปั๊มนมตอนช่วง00 น./13.00 น. และ16.00 น. โดยน้ำนมที่ปั๊มได้เก็บใส่ถุงซิปแช่ตู้เย็นและเตรียมกระติกแช่แข็งใส่กลับบ้าน เป็นสต๊อกไว้ให้ลูกกินในวันถัดไป ส่วนในช่วงวันหยุดควรพยายามให้ลูกได้ดูดนมจากแม่ทุกมื้อ เพื่อรักษาปริมาณน้ำนม

 

ในช่วงแรก ๆ หากคุณแม่ปั๊มอย่างน้อย 15 นาที ยังไม่มีน้ำนมออกมาหรือมีแค่หยด สองหยด ก็ไม่ต้องกังวล นำน้ำนมที่ติดปลายช้อนมาป้อนลูกได้ และหากมีปริมาณเยอะขึ้นคุณแม่ก็สามารถนำนมเก็บแช่แข็งเป็นสต๊อก พอหลังจาก 1 เดือนมีสต๊อกนมไว้พอแล้วก็สามารถใช้นมสต๊อกมาให้ลูกกินเมื่อคุณแม่กลับไปทำงาน ที่สำคัญหากลูกนอนนานมากขึ้น ในระหว่างที่ลูกหลับ หรือคุณแม่ได้กลับไปทำงานก็ไม่ควรหยุดปั๊ม พยายามปั๊มนมออกมาเก็บไว้เรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้น้ำนมลดปริมาณลงและมีน้ำนมสต๊อกไว้เพียงพอต่อความต้องการ

 

Source : breastfeedingthai , pantip

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

น้ำนมแม่ที่ปั๊มมาแล้วเก็บได้กี่ ชม เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ให้นมต้องรู้

“โฟร์โมสต์-อีจัน” เตรียมพร้อมคาราวานรถนม ลงพื้นที่เดินหน้าภารกิจ ส่งมอบกำลังใจให้คุณแม่ พร้อมสารอาหารจากน้ำนมโคคุณภาพเพื่อเด็กๆ ภายใต้แคมเปญ “แม่ตกงานลูกอดนม”

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 54 ช่วงให้นมทำโบท็อก หรือศัลยกรรม ได้หรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khattiya Patsanan