ลาคลอดเมื่อไหร่ดี? แล้ว กฏหมายคุ้มครองผู้หญิงตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง?

สงสัยใช่ไหมคะว่าปกติแล้วผู้หญิงตั้งครรภ์เขาเลือกที่จะทำงานต่อไปไหม ถ้าคุณเลือกที่จะทำงานคุณจะลาคลอดเมื่อไหร่ดี? มีเกณฑ์อะไรที่คุณควรพิจารณา และกฏหมายคุ้มครองคุณอย่างไร อยากรู้อ่านต่อเลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคยสงสัยไหมว่า ผู้หญิงทำงานเมื่อตั้งครรภ์แล้ว จะทำงานต่อดีไหม แล้วควร ลาคลอดเมื่อไหร่ดี นะ

ลาคลอดเมื่อไหร่ดี ?

 

 

ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ คุณก็ทำงานในสำนักงานตามปกติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณไปแล้ว คุณอาจจะทำต่อไปก็ได้ แต่ทำนานขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วล่ะค่ะ คุณอาจจะอยากทำงานต่อไปหลังจากที่รู้ว่า คุณกำลังตั้งครรภ์ ผู้หญิงส่วนมากมองว่า การทำงานระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติ การทำงานทำให้ผู้หญิงรู้สึกมั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้พวกเธอยังรู้สึกว่า การตั้งครรภ์ไม่ได้ทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปมากนัก แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากปฏิเสธเงินที่เข้ากระเป๋าสักหน่อย หากคุณตัดสินใจที่จะทำงานต่อ เรามีเคล็ดลับมาฝากค่ะ

เมื่อไหร่ที่ควรลาคลอด

อย่าโหมทำงานเกินไป จนลืมดูแลสุขภาพของตัวเอง และลูกในท้องนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้หญิงทุกคนควรตัดสินใจเองว่า ควรจะลาคลอดเมื่อไหร่ บางคนสามารถทำงานได้จนวินาทีสุดท้ายก่อนคลอดลูก แต่ บางคนก็ต้องลาคลอดเร็วขึ้นมาสักหน่อย ขึ้นอยู่กับการปรับตัวในการตั้งครรภ์ของร่างกายแต่ละคน นอกจากนี้สุขภาพ และ ปัจจัยอื่น ๆ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

คุณอาจจะเลือกทำงานต่อ แทนที่จะออกมาเตรียมตัวเป็นแม่ และ ใช้เวลากับลูกในท้องให้เต็มที่ หรือ ใช้เวลากับตัวเองก่อนคลอด ผู้หญิงส่วนมากเลือกที่จะลาคลอด 2 อาทิตย์ ก่อนถึงกำหนดคลอดเพื่อเตรียมทุกอย่างที่จำเป็นก่อนลูกเกิด อีกอย่างช่วงใกล้คลอด ก็อาจจะทำให้คุณไม่มีสมาธิทำงานสักเท่าไหร่นัก เพราะว่าคุณอาจจะตื่นเต้น หรือ อาจจะเจ็บท้องเตือนบ่อยครั้ง ก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่า คุณจะหยุดเมื่อไหร่ให้ลองพิจารณาจากปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ สุขภาพของคุณ และ ลูก

สุขภาพของว่าที่คุณแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเครียดจากการทำงาน อาจก่อให้เกิด ภาวระครรภ์เป็นพิษ ได้

ผลการวิจัยพบว่า สตรีมีครรภ์ที่มี ความเครียด มีความเสี่ยงของ ภาวะครรภ์เป็นพิษ นั่นก็หมายความว่า งานที่เครียดก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อการตั้งครรภ์ แม้ว่าคุณจะเคยชินกับงานที่ทำอยู่แล้ว แต่ระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายมีวิธีรับมือกับสถานการณ์ความเครียดที่ต่างออกไป ระดับฮอร์โมนเพิ่มสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์อยู่แล้ว ดังนั้น ฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวันย่อมอันตรายต่อคุณ และ ลูกในท้อง

บรรยากาศของการทำงานบางแห่ง ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของคุณ เช่น การทำงานที่ยาวนานต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงกลางคืน การยืนเป็นเวลานาน ทำงานกับสารเคมี หรือ งานที่ต้องใช้แรง และ การเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก

หากคุณพบว่าคุณทำงานที่มีความเครียดสูง และ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ของคุณ ลองคุยกับเจ้านาย หรือ เจ้าของกิจการเพื่อลองหาตำแหน่งที่เหมาะสมให้คุณระหว่างตั้งครรภ์ บางครั้งคุณหมออาจแนะนำให้หยุดทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ยังไม่มาก เพราะมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ส่งผลต่อสุขภาพของคุณและลูกในท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านวิธีป้องกันสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ของคุณ และ กฎหมายลาคลอดต่อในหน้าถัดไปค่ะ


วิธีป้องกันสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ของคุณ

ไม่ว่าคุณจะทำงาน หรือ ไม่ทำงานในระหว่างตั้งครรภ์ก็ตาม คุณควรดูแลสุขภาพของคุณระหว่างตั้งครรภ์ตามวิธีต่อไปนี้

  • พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่สร้างความเครียดให้คุณ คุณอาจจะขอทำงานที่บ้านอาทิตย์ละ 2-3 วัน หรือ เปลี่ยนมาเป็นทำงานพิเศษแทนการทำงานประจำ หากบรรยากาศ และ สภาพแวดล้อมในการทำงานค่อนข้างตึงเครียด
  • คุณอาจจะขอลางานในช่วงไตรมาสแรก หากคุณมีอาการแพ้ท้องที่รุนแรง แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 คุณจะรู้สึกกระฉับกระเฉงมากขึ้นและ สามารถกลับไปทำงานต่อได้
  • หลีกเลี่ยงการยืน และ นั่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดื่มน้ำเยอะ ๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตลอดวัน

หากคุณรู้สึกว่า ร่างกายของคุณไม่แข็งแรงขณะตั้งครรภ์ คุณอาจต้องหยุดทำงานเพื่อความปลอดภัยของคุณ และ ลูก

กฎหมายลาคลอด

กฎหมายกำหนดให้ผู้หญิงลาได้นานถึง 90 วัน ในระหว่างลาคลอดนายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนให้ตามปกติ แต่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเพียงครึ่งเดียวคือ 45 วัน และ สามารถเบิกประกันสังคมได้อีกครึ่งหนึ่ง จึงทำให้คุณไม่ขาดรายได้ระหว่างลาคลอด นอกจากนี้ประกันสังคมยังกำหนดอัตราการจ่ายเพิ่มเติมให้อีกท้องละ 4,000 บาท แต่คนหนึ่งเบิกได้ไม่เกินสองท้องเท่านั้นค่ะ

นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังมีนโยบายสนับสนุนให้ ข้าราชการหญิงสามารถลาคลอดต่อเนื่องจาก 90 วัน เป็น 180 วัน เพื่อให้แม่ยุคใหม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด และ ขยายสิทธิให้พ่อลางานเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงลูกหลังคลอด และ ได้รับค่าแรงจากนายจ้าง จาก 15 วัน เป็น 30 วัน เพื่อส่งเสริมความอบอุ่นสถาบันครอบครัวอีกด้วย

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ


souce หรือ บทความอ้างอิง : asinta.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทบาทของพ่อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีดูแลตัวเองให้สวย ดูดี ของคนท้อง

ท้องลดก่อนคลอด เป็นอย่างไร

 

 

บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์