จริงไหม ทารกที่เกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะตัวสูง

ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกสูง คุณแม่ก็มักจะบำรุงตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนลูกเกิด จนโต มีคนบอกว่าถ้าเด็กแรกเกิดออกมาตัวสูง โตขึ้นก็จะสูง เอ๊ะแล้วมันจริงรึเปล่าเนี่ย?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มาดูกันว่า ทารกที่เกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะตัวสูง จริงไหม?

ทารกที่เกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะตัวสูง จริงไหม

ทารกเกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะสูง

คำตอบคือ จริงค่ะ ทารกที่เกิดมาตัวยาวโตขึ้นจะตัวสูง และมีแนวโน้มจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ตัวสูงในอนาคต

ความสูงของพ่อแม่ก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะสามารถดูได้ว่าลูกจะเกิดมาตัวสูงหรือไม่ เพราะลูกได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่นั่นเองค่ะ และในตามหลักปัจจัยทางพันธุกรรมเราอาจประมาณความสูงของลูกได้ด้วยการนำความสูงของพ่อกับแม่ (หน่วยเป็นนิ้ว) มารวมกัน จากนนั้นให้หารด้วย 2 และบวกเพิ่ม 2.5 นิ้วสำหรับเด็กผู้ชาย และลบออก 2.5 นิ้วสำหรับเด็กผู้หญิง

และอีกหลักการหนึ่งก็คือ ลูกจะมีความสูงเมื่อโตขึ้นจะเป็น 2 เท่าของความสูงเมื่ออายุ 3 ปี

อย่างไรก็ดีสูตรคำนวณทั้งสองเป็นเพียงแนวโน้มเท่านั้น ไม่ได้การันตีว่าลูกจะสูงเท่านี้แน่ ๆ นะคะ ทางที่ดีควรให้ลูกออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อการเติบโตที่แข็งแรงสมวัยในอนาคตค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช็กกันหน่อย ลูกควรสูงแค่ไหน หนักเท่าไหร่ในแต่ละเดือน

การที่ลูกน้อยมีน้ำหนัก และส่วนสูงที่เหมาะสมตามวัย จะช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และช่วยส่งเสริมให้เด็กมีรูปร่าง และบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย เราไปดูกันครับว่า ลูกควรสูงแค่ไหน หนักเท่าไหร่ในแต่ละเดือน

เกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทยตามช่วงอายุและเพศ

อายุ น้ำหนักเด็กเพศชาย (กก.)  ส่วนสูงเด็กเพศชาย (ซม.) น้ำหนักเด็กเพศหญิง (กก.) น้ำหนักเด็กเพศหญิง (ซม.)
 แรกเกิด  2.8 - 3.9 47.6 - 53.1 2.7 - 3.7 46.8 - 52.9
1 เดือน 3.4 - 4.7 50.4 - 56.2 3.3 - 4.4 49.4 - 56.0
2 เดือน 4.2 - 5.5  53.2 - 59.1 3.8 - 5.2 52.0 - 59.0
3 เดือน 4.8 - 6.4 55.7 - 61.9 4.4 - 6.0 54.4 - 61.8
4 เดือน  5.3 - 7.1 58.1 - 64.6 4.9 - 6.7 56.8 - 64.5
5 เดือน 5.8 - 7.8 60.4 - 67.1 5.3 - 7.3 58.9 - 66.9
6 เดือน 6.3 - 8.4 62.4 - 69.2 5.8 - 7.9 60.9 - 69.1
7 เดือน 6.8 - 9.0 64.2 - 71.3 6.2 - 8.5 62.6 - 71.1
8 เดือน 7.2 - 9.5 65.9 - 73.2 6.6 - 9.0 64.2 - 72.8
9 เดือน 7.6 - 9.9 67.4 - 75.0 6.9 - 9.3 65.5 - 74.5
10 เดือน 7.9 - 10.3 68.9 - 76.7 7.2 - 9.8 66.7 - 76.1
11 เดือน 8.1 - 10.6 70.2 - 78.2 7.5 - 10.2 67.7 - 77.6
1 ขวบ 8.3 - 11.0 71.5 - 79.7 7.7 - 10.5 68.8 - 78.9
2 ขวบ 10.5 - 14.4 82.5 - 91.5 9.7 - 13.7 80.8 - 89.9
3 ขวบ 12.1 - 17.2 89.4 - 100.8 11.5 - 16.5 88.1 - 99.2
4 ขวบ 13.6 - 19.9 95.5 - 108.2 3.0 - 19.2 95.0 - 106.9
5 ขวบ 15.0 - 22.6 102.0 - 115.1 14.4 - 21.7 101.1 - 113.9

น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก วัยแรกเกิด – 5 ปี

เด็กก่อนวัยเรียนจะมีการเจริญเติบโตของร่างกายทั้งรูปร่างและสัดส่วนที่เปลี่ยนไปจากวัยทารกค่อนข้างมาก เช่น เมื่อถึงวัยทารกจากที่เคยอ้วนกลม ศีรษะใหญ่ ตัวใหญ่ แขนขาสั้น ก้จะเริ่มยืดออก ส่วนทางใบหน้าและศีรษะจะเล็กลงเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว แขน ขา ลำตัวและลำคอจะเรียวยาวขึ้น มือและเท้าใหญ่แข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสทำหน้าที่ได้ดีขึ้น คราวนี้พ่อแม่มาเช็คกันเลยดีกว่าว่าลูกน้อยมี น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก หรือไม่ เช็คกันเลย!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของเด็ก

ปิกติแล้วทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 2.5 – 4.5 กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 3 กิโลกรัม พอโตขึ้นมาในช่วง 2-3 ปีแรก น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่พออายุ 4-7 ปี น้ำหนักตัวจะเพิ่มน้อยลงจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นน้ำหนักก้จะเพิ่มชึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉลี่ยแล้วเด็กๆ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 2.5 กิโลกรัม วิธีการเพิ่มน้ำหนักของเด็กก่อนวัยเรียนควรเริ่มที่อาหาร โดยต้องให้เด็กทานอาหารครบ 5 หมู่ รวมถึงการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การได้พักผ่อน

สิ่งที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของลูกน้อย

ไม่เพียงแต่อาหารและโภชนาการจะสำคัญต่อน้ำหนักตัวของลูกแล้ว ปัจจัยต่าง  ก็ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำหนักได้ เช่น สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตหรือไม่ มีพื้นที่ให้ลูกได้เคลื่อนไหวออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน รวมถึงเรื่องพันธุกรรมของพ่อแม่ก็มีส่วน ถ้าคนในครอบครัวที่มีรูปร่างอวบอ้วนเด็กก็มีแนวโน้มที่จะอ้วนตามได้เช่นกัน อีกทั้งเรื่องของสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และการใช้ยาต่าง  ก็ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเด็กได้ค่ะ

แม้ว่าเรื่องน้ำหนักตัวของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอยู่สม่ำเสมอ แต่ก็อย่าวิตกกังวลจนเครียดเกินไปนะคะ เพราะร่างกายของเด็กมีระบบการย่อย การเผาผลาญ และการดูดซึมที่แตกต่างกัน อาจมีขึ้น ๆลง  ในบางเดือน ที่สำคัญไม่ควรเอาน้ำหนักตัวของลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เพียงแต่ให้ดูว่าอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ แต่หากสังเกตว่าลูกผอมหรืออ้วนมากไป อาจเกิดจากอาหารการกิน หรือความผิดปกติบางอย่างร่วมด้วย อย่างไรแล้วแนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์จะดีที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

โดยปกติเด็กแรกเกิดจะมีความยาวหรือส่วนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร

1.อายุแรกเกิด – 6 เดือน เด็กชายควรสูงขึ้น อย่างน้อย 17 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้น อย่างน้อย 16 ซม.

2.อายุ 6-12 เดือน ควรสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 8 ซม. ทั้งเด็กชายและหญิง

3.อายุ 1-2 ปี เด็กชายควรสูงขึ้น อย่างน้อย 10 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้น อย่างน้อย 11 ซม.

4.อายุ 2-5 ปี ควรสูงขึ้นประมาณ 6-8 ซม ./ ปี ทั้งเด็กชาย และ หญิง

5.อายุ > 5 ปี – เริ่มเข้าวัยรุ่น ควรสูงขึ้น 6 ซม. / ปี ถ้าสูงขึ้น น้อยกว่า 5 ซม. / ปี ถือว่าต่ำกว่าปกติ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงควรหาสาเหตุ

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีการปรุงอาหารสุขภาพดีให้เด็ก

เด็กควรออกกำลังกายมากแค่ไหน

ทารกตัวโตออกมาจากมดลูกอย่างชิลล์ (มีคลิป)

บทความโดย

ธิดา พานิช