ท้องลด ใกล้คลอดดูยังไง แม่ต้องรู้ อาการใกล้คลอดมีอะไรบ้าง?

ท้องลด เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ใกล้จะได้เจอลูกน้อยกันแล้ว! ท้องลดใกล้คลอดดูยังไง ท้องลด กี่วันคลอด อาการใกล้คลอดมีอะไรบ้าง มาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หนึ่งในอาการที่คุณแม่ต้องเจอคือ “ท้องลด” อาการนี้บอกเลยว่าเมื่อมาถึงคุณแม่จะสบายตัวขึ้นมาก ทำให้มีเวลาคิดเรื่องเตรียมตัวคลอดได้แล้ว เพราะนี่คืออีกหนึ่งสัญญาณที่ใกล้จะได้เจอลูกน้อยกันแล้ว! เอาล่ะ เรามาทำความรู้จักอาการ “ท้องลด” กันดีกว่า

 

อาการ ท้องลด คืออะไร?

อาการท้องลด เกิดจากการที่ลูกน้อยเริ่มเคลื่อนศีรษะลงมาอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด ท้องมีขนาดเล็กลง และ หายใจสะดวกขึ้น โดยทั่วไปอาการนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้าย อาจจะเป็นช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอด หรือ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอดก็ได้ ทั้งนี้ในคุณแม่บางคนก็อาจไม่มีอาการท้องลดเตือนเมื่อใกล้ถึงเวลาคลอดก็ได้ 

 

ท้องลดใกล้คลอดดูยังไง

อย่างที่บอกไปว่า เมื่อคุณแม่ท้องลด นั่นหมายถึงการที่ทารกกลับหัว เป็นท่าเตรียมพร้อมที่จะคลอด คุณแม่จะสังเกตได้ว่าความสูงของยอดมดลูกลดลง รู้สึกโล่งสบาย หายใจสะดวกขึ้นหรือที่เรียกกันว่า แต่ช่วงนี้มักจะปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ เพราะศีรษะลูกจะอยู่ในตำแหน่งที่กดเบียดกระเพาะปัสสาวะ 

 

ท้องลด กี่วันคลอด

ส่วนใหญ่แล้วอาการท้องลด อาจเกิดขึ้น 2 – 3 สัปดาห์ก่อนคลอด หากมีอาการนี้ในท้องแรก อาจจะคลอดภายใน 1 เดือน ส่วนท้องหลัง เมื่อท้องลดคุณแม่ต้องรีบเตรีมตัวเพราะอาจจจะคลอดภายในไม่กี่วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง

นอกจากอาการท้องลดแล้ว ยังมีอาการใกล้คลอดอื่นๆ ที่คุณแม่ควรสังเกต เพื่อเตรียมคว้ากระเป๋าไปคลอด และพร้อมเจอหน้าลูกน้อย ดังนี้

  • เจ็บท้อง  คือ การที่มดลูกบีบรัดตัวอย่างสม่ำเสมอ แต่ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป โดยการเจ็บท้องจริง ๆ ที่ไม่หลอกจะเจ็บเป็นพัก ๆ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย 
  • เจ็บท้องอย่างต่อเนื่อง หากอาการเจ็บจะไม่หายไปเมื่อครบ 1 ชั่วโมง ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที แต่ถ้าเจ็บแล้วหายไปอาจเป็นการเจ็บเตือนจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ 
  • น้ำเดิน คือ การที่มีน้ำใส ๆ ออกจากบริเวณช่องคลอดเป็นจำนวนมาก (ถุงน้ำคร่ำแตก) ไม่หยุดและไม่ใช่อาการปวดปัสสาวะ 
  • เลือดหรือมูกออกทางช่องคลอด การที่มูกที่จุกอยู่ที่ปากช่องคลอดหลุดออกมา เกิดจากการที่มดลูกบีบรัดตัว เพราะศีรษะของลูกเคลื่อนลงไปกดปากมดลูก ส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดและมูกที่อุดกั้นหลุดออกมา 
  • ลูกดิ้นน้อยลง การดิ้นของลูกบ่งบอกถึงความแข็งแรง แต่หากทารกดิ้นน้อยลงอย่างน้อยกว่าสิบครั้งต่อวัน อาจจะสื่อถึงความผิดปกติ ที่อาจจะไม่ใช่แค่ใกล้คลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

อาการท้องลดนอกจากจะทำให้คุณแม่สบายตัวขึ้นแล้ว เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องสังเกตตัวเองมากๆ ด้วย เพราะอาการนี้แสดงว่าคุณแม่ใกล้จะได้เจอกับลูกน้อยแล้ว เตรียมตัวจัดกระเป๋าไปคลอดกันได้เลย สำหรับคุณแม่มือใหม่ อาจจะต้องรอนานสักหน่อย แต่สำหรับคุณแม่ท้องสองต้องรีบแล้ว เพราะ “ท้องลด” เมื่อไหร่ ก็ใกล้คลอดได้ทุกเมื่อ และเตรียมตัวพร้อมแล้ว อย่าลืมบอกคนรอบข้างให้เตรียมตัวไปด้วยกันด้วย จะได้ไม่ฉุกละหุกเมื่อถึงเวลาใกล้คลอดจริงๆ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด” ต่างกันยังไงนะ?

อาการท้องลด คือ สัญญาณที่ลูกต้อยเตรียมตัวออกมาเจอกับคุณพ่อคุณแม่กันแล้ว อาการต่อไปที่คุณแม่ต้องพบเจอก็คือการ “เจ็บท้องคลอด” แต่อาการเจ็บท้องนั้น แบบไหนคือ เจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องคลอด เรามาดูกันดีกว่าว่าทั้งสองอาการต่างกันอย่างไร?

“เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด” ต่างกันยังไงนะ?

เจ็บท้องเตือน

เจ็บท้องคลอด

  • เจ็บไม่สม่ำเสมอ เป็นๆ หายๆ
  • ปวดสม่ำเสมอ เช่น ปวดทุก 10 นาที
  • เจ็บห่างๆ เช่น ชั่วโมงละครั้ง
  • ปวดถี่ขึ้น จากปวดทุก 10 นาที เป็น 5 นาที
  • ปวดไม่รุนแรงมาก
  • ปวดแรงขึ้นเรื่อยๆ
  • ปวดบริเวณท้องน้อย
  • ปวดส่วนบนของมดลูก หรือยอดมดลูกและแผ่นหลัง
  • เมื่อทานยาแก้ปวด อาการปวดก็หาย 
  • เมื่อทานยาแก้ปวด อาการปวดลดลง แต่มดลูกยังคงบีบตัว
  • ปากมดลูกไม่ขยาย
  • ปากมดลูกขยาย

เมื่อใกล้คลอดไม่ได้มีแค่อาการท้องลด เจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องคลอดเท่านั้น แต่อาจมีเลือดออกจากช่องคลอด ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อย มีไข้หรือหนาวสั่น น้ำคร่ำเป็นสีอื่นๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู รวมทั้งคลื่นไส้อาเจียน เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หายใจถูกวิธี ลดความเจ็บในการคลอดได้

คุณแม่หลายๆ คนที่ต้องการคลอดเอง อาจมีความกังวลเรื่องความเจ็บปวด เรามีวิธีลดความปวดง่ายๆ ด้วยการหายใจที่ถูกต้องมาฝากกัน

1. หายใจแบบลึก และช้า

วิธีนี้เหมาะสำหรับเมื่อเจ็บท้องคลอดแบบไม่รุนแรงมากให้ฝึกตามนี้ โดยจะแบ่งเป็น 2 จังหวะ

1.1 เมื่อมดลูกเริ่มบีบตัว ให้หายใจเข้าปอดลึกๆ ช้าๆ โดยการนับจังหวะ 1-2-3-4-5 แล้วค่อยๆ หายใจออกทางปากช้าๆ นับจังหวะ 1-2-3-4-5 

ให้เป็นจังหวะตลอดระยะเวลาที่มดลูกบีบตัว (ประมาณ 1 นาที)

1.2 เมื่อมดลูกเริ่มคลายจังหวะจะเจ็บน้อยลง ให้สูดหายใจลึกๆ และหายใจออกจนหมด อีก 1 ครั้ง แล้วหายใจตามปกติ เป็นการจบ 1 ครั้ง จนเมื่อมดลูกบีบตัวให้ทำตาม ข้อ 1.1 ถึง 1.2  ใหม่อีกครั้ง

 

2. การหายใจแบบตื้น เร็วและเบา

วิธีนี้เหมาะสำหรับเมื่อเจ็บท้องหนักใกล้คลอด  ปากมดลูกเปิดมาก โดยจะแบ่งเป็น 4 จังหวะ

2.1 เมื่อมดลูกบีบตัว ให้ให้สูดหายใจลึกๆ และหายใจออกจนหมด

2.2 สูดหายใจเข้าทางจมูกแบบตื้นและเบา ติดต่อกันเร็วๆ  4-6 ครั้ง 

2.3 จากนั้นหายใจออกโดยการห่อปาก และเป่าลมออกทางปากเบาๆ 1 ครั้ง  

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.4 เมื่อมดลูกคลายตัว ความเจ็บลดลง ให้หายใจแบบลึกและช้าเพื่อผ่อนคลาย และเพื่อนำออกซิเจนไปให้ลูกน้อยในครรภ์ได้มากขึ้น

 

คุณแม่ควรฝึกรับมือความเจ็บปวดด้วยการหายใจแบบนี้ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ 6-7 เดือน เพื่อให้ชินเมื่อถึงช่วงเจ็บท้องจริงจะได้สามารถนำเทคนิคลดความเจ็บปวดนี้มาใช้ได้ทันที

 

ที่มา : โรงพยาบาลบางปะกอก 3โรงพยาบาลนครธนศูนย์ศรีพัฒน์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ 

bit.ly/3P4JA8J

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รีวิวผ่าคลอดบล็อกหลัง ฉบับคนกลัวมาก มาก มาก มาก

24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อาการปกติ vs ผิดปกติ ที่ต้องสังเกต

ผ่าคลอด ห้ามยกของหนักกี่โล หลังคลอดกี่วันออกแรงเยอะ ๆ ได้

บทความโดย

daawchonlada