เจ็บหน้าอกซ้าย เกิดจากอะไร เจ็บหน้าอกข้างซ้าย ลูกเป็นโรคหัวใจ หรือเป็นอันตรายอะไรหรือไม่ ? วันนี้ theAsianparent นำข้อมูล เกี่ยวกับ เด็กที่ชอบ เจ็บหน้าอกซ้าย มาฝากแม่ ๆ จะเกิดจากสาเหตุอะไร และรักษาอย่างไร เราไปดูกันเลย
อาการเจ็บหน้าอกในเด็ก เจ็บหน้าอกด้านซ้าย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?
อาการเจ็บหน้าอก มีได้หลายสาเหตุ โดยแบ่งเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ และสาเหตุที่ไม่ได้เจอจากหัวใจ โดยสาเหตุที่เกิดจากหัวใจนั้น มีอาการรุนแรงกว่า แต่ไม่พบได้บ่อยในเด็ก
บทความที่เกี่ยวข้อง : เป็นโรคหัวใจแล้วท้อง เลือกคลอดแบบไหน ทารกในครรภ์ อันตรายหรือไม่ วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด
อาการเจ็บหน้าอก เจ็บหน้าอกข้างซ้าย จี๊ด ๆ อันตรายหรือไม่
เด็กที่เจ็บหน้าอก ควรประเมินเร่งด่วน เนื่องจากอาจมีสาเหตุจากหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่
- เจ็บแน่น ที่หน้าอกด้านซ้าย เด็กบางคนอาจบอกว่าเหมือนถูกกดทับ ร่วมกับมีอาการปวดร้าวที่แขนด้านซ้าย
- เจ็บขณะออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงเยอะ ๆ
- มีอาการร่วม ได้แก่ หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น ใจเต้นเร็ว
- มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหัวใจ
- มีประวัติครอบครัว ที่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด โรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย
การเจ็บหน้าอกจากความผิดปกติของหัวใจมีอะไรบ้าง?
สาเหตุของการเจ็บหน้าอกนอกจากความผิดปกติของหัวใจ ก็มีหลายสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ โรคของเยื่อบุหัวใจ เช่น เยื่อบุหัวใจมีการอักเสบ หรือมีน้ำในเยื่อบุหัวใจ อาการผิดปกติของลิ้นหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการที่รุนแรง เฉียบพลัน เช่น เหงื่อออก มีอาการซีดเซียว ใจสั่น คลื่นไส้อาเจียนอย่างมากร่วมด้วย และผู้ป่วยอาจจะมีประวัติการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อย ซึ่งอาจเกิดจากโรคหัวใจ
การเจ็บหน้าอกที่ไม่ใช่จากหัวใจ มีอะไรบ้าง?
สาเหตุที่พบได้บ่อยของการเจ็บหน้าอกที่ไม่ใช่จากหัวใจ ได้แก่ การอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก ซึ่งพบได้บ่อยมากในเด็ก ผู้ป่วยมักจะมีประวัติอุบัติเหตุกระทบกระแทก เล่นกีฬา ยกของหนัก โดยอาการมักจะมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง หรือถูกกดบริเวณนั้น และหายใจเข้าลึก ๆ , โรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ร่วมกับ เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย หายใจมีเสียงวี้ด หรือโรคปอดอักเสบติดเชื้อ มีอาการร่วมคือ มีไข้ ไอ และหอบ ฟังปอดได้เสียงผิดปกติ
ภาวะเยื่อหุ้มปอดมีการอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแบบแปล๊บ ๆ , โรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน โดยอาการลักษณะการเจ็บหน้าอก เป็นแบบแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ก่อนจะกระจายมาที่กลางหน้าอก และเจ็บมากขึ้นหลังทานอาหาร
นอกจากนี้ อาการเจ็บหน้าอกอาจมีสาเหตุมาจากจิตใจ ความกังวล และความเครียด ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กโตและวัยรุ่น โดยเกิดหลังจากความเสียใจ การสูญเสีย หรือการเจ็บป่วยหนักของคนในครอบครัว แต่ก็มีเด็กที่มีอาการเจ็บหน้าอกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ โดยอาการจะเกิดขึ้นแล้วหายไปได้เองค่ะ
ลักษณะอย่างไรที่ควรรีบไปพบคุณหมอ?
หากลูกเจ็บหน้าอก กะทันหัน ขณะออกกำลังกาย เจ็บมากตอนตื่นนอน จนทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลมหมดสติ หรือมีประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน ควรพาลูกไปโรงพยาบาลทันที แต่ถ้าหากว่า เคยมีอาการแบบนี้มานานแล้ว ก็อาจจะไม่มีอะไรร้ายแรงเท่าไหร่นัก แต่หากคุณพ่อคุณแม่ มีความกังวลว่าลูกจะเป็นอะไรร้ายแรงหรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : เจ็บหน้าอกขวา เสี่ยงโรคปอดและโรคหัวใจ บอกสัญญาณโรคร้ายอะไรได้อีกบ้าง
รักษาอย่างไร หากลูกเจ็บหน้าอก จุกหน้าอกข้างซ้าย
- การอักเสบของกระดูก และกล้ามเนื้อผนังทรวงอก ที่อาการไม่รุนแรง มักจะหายได้เอง ไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด แต่หากรุนแรง อาจจะต้องประคบอุ่น และรับประทานยาแก้ปวดหากมีอาการ
- หากอาการเจ็บหน้าอกมาจากหัวใจ และหลอดเลือด ก็จะต้องรักษาเฉพาะทาง เช่น โรคหัวใจเต้นผิดปกติแบบเร็ว จะต้องรักษาโดยการกินยาโรคหัวใจ และการจี้ไฟฟ้า
นอกจากนี้ เด็กที่เป็นโรคหัวใจอาจจะโตช้า โดยเฉพาะรายที่มี ภาวะหัวใจวาย มีอาการหายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ส่วนสูง น้ำหนักไม่เป็นตามเกณฑ์ โตช้าไม่ทันเพื่อน ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ ควรสังเกตลูกน้อยอย่างใกล้ชิด และอาการเจ็บหน้าอก จะสังเกตได้ยากในเด็กเล็ก ซึ่งพัฒนาการตามวัย ไม่สามารถบ่งบอกอาการได้ อาการที่สังเกตได้ อาจเป็นการนำมือมากุมหน้าอก เหงื่อแตก หน้าซีด มีอาการเหนื่อยจากการดูดนม หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่ามีความผิดปกติ ควรนำลูกส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยอาการต่อไป
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รู้จักวัคซีนภูมิแพ้ ก่อนพาลูกรักไปรักษาโรคภูมิแพ้
พบบ่อย! โรคผื่นลมพิษในคุณแม่ตั้งครรภ์
โรคหัวใจโตในเด็ก และโรคหัวใจในผู้ใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม
ที่มา : Sukumvit Hospital