เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด อันตรายต่อโอกาสรอดของลูก

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ลูกจะมีโอกาสรอดเท่าไร สาเหตุของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดคืออะไร อันตรายต่อลูกน้อยอย่างไร และแม่ท้องควรทำตัวอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด เรื่องที่คุณแม่ต้องระวัง

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก ที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือ เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือ 259 วัน โดยเริ่มนับจากวันแรกของวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อแม่ท้องไปฝากครรภ์ คุณหมอจะมีการคาดคะเนวันคลอดให้ โดยเริ่มนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย และ บวกไปอีก 280 วัน

ทารกที่คลอดในช่วงระหว่างอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ถึงก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ จะเรียกว่าการคลอดก่อนกำหนด และ ถ้าทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม จะเรียกว่า ทารกน้ำหนักน้อย ส่วนทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์นั้นมักจะเสียชีวิต ซึ่งเราจะเรียกกันว่า การแท้ง

สาเหตุของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

สาเหตุของการ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีอยู่ด้วยกันหลายประการ ดังนี้

  1. อายุ แม่ท้องที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือมีอายุมากกว่า 34 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
  2. น้ำหนักตัว แม่ท้องที่มีน้ำหนักน้อยมีโอกาสที่จะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่าปกติ
  3. ประวัติเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธ์ เช่น มีประวัติเคยทำแท้งมาก่อน เคยคลอดก่อนกำหนด มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของมดลูก เคยผ่าตัดคลอด หรือ ผ่าตัดบริเวณปากมดลูก
  4. ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง ตั้งครรภ์แฝด แท้งคุกคาม รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด และ การติดเชื้อในระบบสืบพันธ์
  5. วิธีการดำเนินชีวิต เช่น มีความครียด สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือ การทำงานหนัก
  6. ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ทารกมีความพิการแต่กำเนิด

อันตรายของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้นยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตของทารกสูงกว่าทารกที่คลอดตามกำหนดถึง 3 เท่า และยังพบอีกว่าทารกแรกคลอดจำนวน 2 ใน 3 ที่เสียชีวิตในเดือนแรกนั้น เป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนด นอกจากนั้นแล้ว ยังมีอันตรายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้อีกเช่น

  • ภาวะปอดไม่สมบูรณ์ และ ภาวะโรคปอดเรื้อรัง
  • ภาวะเลือดออกในสมองเฉียบพลัน
  • การติดเชื้อ
  • น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ และ มีพัฒนาการช้า
  • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สูญเสียการมองเห็น และ การได้ยิน
  • เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

อายุครรภ์กับโอกาสรอดของทารก

ยิ่งอายุครรภ์น้อยมากเท่าไร โอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ดังนี้

  • อายุครรภ์ 22 – 23 สัปดาห์ มีโอกาสที่ทารกจะรอดชีวิตได้ประมาณ 17 %
  • อายุครรภ์ 24 – 25 สัปดาห์ มีโอกาสที่ทารกจะรอดชีวิตได้ประมาณ 40 – 50 %
  • อายุครรภ์ 26 – 28 สัปดาห์ มีโอกาสที่ทารกจะรอดชีวิตได้ประมาณ 80 – 90 %
  • อายุครรภ์ 32– 33 สัปดาห์ มีโอกาสที่ทารกจะรอดชีวิตได้ประมาณ 90 – 95 %
  • อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไป มีโอกาสที่ทารกจะรอดชีวิตเหมือนทารกที่คลอดตามกำหนดทั่วไปได้ประมาณ 95 – 98 %

สัญญาณเตือนของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีอะไรบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไป>>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัญญาณเตือนของการ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

คุณแม่สามารถสังเกตอาการต่างๆได้ดังต่อไปนี้

  • มดลูกหดรัดตัวแข็งเกร็ง จนรู้สึกเจ็บตึงท้อง และ ปวดไปถึงบริเวณหลังส่วนล่าง
  • มีอาการเจ็บครรภ์อย่างสม่ำเสมอทุกนาที นานอย่างน้อย 30 วินาที
  • มีมูกเลือดหรือน้ำคร่ำไหลออกมาทางช่องคลอด

คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

แม่ท้องควรดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ดังนี้

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรรีบไปฝากครรภ์ และ ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ดื่มน้ำเยอะๆ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดการทำงานหนัก หรือ การออกกำลังกายนานๆ
  • ระวังเรื่องน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มมากหรือน้อยเกินไป
  • หากมีอาการผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น แม่ท้องควรรีบไปพบคุณหมอทันที

ถ้าหากมีอาการผิดปกติต่างๆ ควรรีบไปหาหมอทันที และ ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ


souce หรือ บทความอ้างอิง : medthai.com, uniserv.buu.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท่าเบ่งคลอด ลดอาการเจ็บท้องคลอด

วิธีลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

ความพิการแต่กำเนิด 5 โรคร้ายแรงที่แม่ท้องต้องระวัง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul