โรคข้อเข่าเสื่อม อาการเป็นอย่างไร วิธีดูแล ป้องกัน และรักษาโรค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลุกแล้ว เจ็บ นั่งแล้วเจ็บ เข่างอเมื่อไหร่เป็นอันต้องเจ็บ! สัญญาณแบบนี้ อย่านิ่งนอนใจ เพราะคุณอาจกำลังเป็น “โรคข้อเข่าเสื่อม” โรคนี้ไม่ใช่ว่าจะเกิดในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ใคร ๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ มาดูปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีการรักษาโรคนี้ไปพร้อม ๆ กัน

 

โรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร?

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูก ซึ่งสาเหตุสำคัญ คือ เรื่องของอายุ ที่พบได้มากในวัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจเกิดเป็นโรคเรื้อรัง ทำให้เมื่อเคลื่อนไหว อาจเกิดความเจ็บปวด และเมื่อเคลื่อนไหวมาก ๆ จะเกิดการเสียดสี ทำให้เข่าสึก กร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า ทำให้เข่าผิดรูปได้ มีผลอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

สาเหตุของการเกิดข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากกระดูกอ่อนของผิวข้อ เกิดการเสื่อม ทั้งในด้านของรูปร่าง การทำงานของกระดูกข้อต่อ โครงสร้างกระดูก และกระดูกต่าง ๆ บริเวณข้อ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากมีอาการข้อเข่าเสื่อมเรื้อรัง กระดูกจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่จะเกิดเป็นกระดูกขรุขระภายในข้อ ทำให้เมื่อเคลื่อนไหว จะมีการติดขัด และมีเสียง ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง จนมีอาการรุนแรง จะทำให้แนวแกนขาผิดปกติ อาจทำให้ขาโก่ง และทำให้การรับน้ำหนักของเข่า เกิดการผิดปกติ

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อายุ เมื่อโรคข้อเข่าเสื่อม มีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นเมื่อมีอายุที่มากขึ้น โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุ 40 ปี เป็นต้นไป
  • เพศ โดยผู้หญิง จะมีโอกาสการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ได้มากกว่าผู้ชาย
  • กรรมพันธุ์ ในผู้ป่วยบางราย อาจมีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคมาก่อน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ อาจทำให้เกิดเป็นข้อเข่าเสื่อมได้
  • อาการบาดเจ็บ อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ จากการออกกำลังกาย อุบัติเหตุ เป็นต้น
  • โรคข้ออักเสบอื่น ๆ อาจทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ เมื่อต้องเคลื่อนไหวร่างกาย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อาจมีอาการเจ็บ ปวด และรู้สึกฝืดที่ข้อเข่า ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ รวมไปถึงเมื่อไม่ได้เคลื่อนไหวนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บได้เช่นกัน นอกจากนี้ สัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจมีอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • ปวดมากเมื่อมีการงอเข่า เช่น นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ ลุก นั่ง และอาการจะดีขึ้น เมื่อมีการหยุดพัก
  • เมื่อขยับเข่า จะรู้สึกได้ถึงการเสียดสี หรือ มีเสียงเกิดขึ้นในเข่า
  • มีอาการฝืขัดที่บริเวณข้อเข่า โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหว หลังจากอยู่นิ่งเป็นเวลานาน
  • ข้อเข่าเกิดการติด ไม่สามารถเหยียดขอเข่าได้
  • กล้ามเนื้อขาลีบ เล็กลง
  • เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการขาโก่ง หลวม หรือ มีการเบี้ยว ผิดรูป
  • กดแล้วเจ็บบริเวณข้อเข่า
  • ข้อเข่าอ่อนแรง เสียมวลกล้ามเนื้อ

 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. ปรับพฤิตกรรมการใช้ชีวิต

  • ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการ ดูแลอาหารการกิน ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะหากมีน้ำหนักตัวมาก อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้
  • บริหารข้อเข่า เพื่อให้ข้อเข่ามีความแข็งแรง โดยการเหยียด ยืดขา เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ให้สามารถพยุงข้อเข่าได้
  • ออกกำลังกาย แต่ให้เลี่ยงกิจกรรมออกกำลังกายที่เพิ่มความเครียดให้กับข้อ โดยให้ออกกำลังกายที่ข้อเข่า ไม่ต้องรับแรงกดดันมาก

 

2. การรักษาทางเลือก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การฝังเข็ม เป็นศาสตร์การรักษาตามแพทย์แผนจีน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสมดุลให้มวลกระดูก และกระตุ้นการสร้างน้ำหล่อเลี้ยง
  • การใช้ครีมยาเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการปวด จากอาการข้อเข่าเสื่อม
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะช่วยชะลอการแคบลงของข้อเข่า และลดอาการเจ็บได้

 

3. การใช้ยา

  • ยาแก้ปวด หรือ ยาแก้อักเสบ เช่น ยาอะเซตามิโนเฟน หรือ ไอบูโพรเฟน
  • ฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยลดการอักเสบ และความเจ็บปวดได้ แต่ผู้ป่วยควรรับการฉีด ไม่ควรเกิน 3-4 ครั้ง ต่อปีเท่านั้น
  • ฉีดกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของน้ำในข้อต่อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหล่อลื่นในข้อเข่า

 

4. การทำกายภาพบำบัด

เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วย ได้เรียนรู้วิธีที่ทำให้กล้ามเนื้อข้อเข่า มีความแข็งแรง และช่วยให้เรียนรู้วิธีการเพิ่มความยืดหยุ่น ให้กับข้อต่อ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้น ปวดน้อยลง และสามารถเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น

 

5. การผ่าตัด

การผ่าตัดในรูแปปต่าง ๆ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการรักษา การผ่าตัดมี 3 รูปแบบ ดังนี้

  • การผ่าตัดเพื่อให้ผิวข้อเข้ามาชิดกัน (Arthrodesis)
  • การศัลยกรรมเปลี่ยนข้อเข่า (Arthroplasty)
  • การตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy)

 

โรคข้อเข่าเสื่อม อาจเกิดได้กับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทุกคน ไม่ใช่เพียงผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งหากใครที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรหมั่นสังเกตตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค และหากใครที่กำลังเป็นโรคนี้ หากทำการรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นแล้ว แต่ยังไม่หาย ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ที่มาข้อมูล 1

บทความที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรครูมาตอยด์ ไขข้ออักเสบ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

อาหารลดการเกิดโรคข้ออักเสบ อาหารและเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง 8 ชนิด

โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบ พันธุกรรมในเด็กที่ควรระวัง

บทความโดย

Waristha Chaithongdee