โรคนิ่วในไต สังเกตอย่างไร ป้องกันไว้ก่อนไตจะพัง อาการ และวิธีการป้องกัน

ลักษณะโรคนิ่วในไต คือ โรคที่เกิดจากแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นก้อน บริเวณไต ซึ่งจะมีขนาด และลักษณะที่แตกต่างกันออกไป สามารถพบได้ตลอด ระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากปัสสาวะมีความเข้มขน จนทำให้แร่ธาตุต่าง ๆ เกิดการตกตะกอน โรคนิ่วในไต เป็นโรคใกล้ตัว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย บทความนี้จะพาไปดูวิธีการสังเกต ดูแล และป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคนี้กัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคนิ่วในไต เป็นโรคที่สามารถพบได้ในผู้คน ทุกเพศ ทุกวัย สร้างความเจ็บปวด และทรมานให้กับผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย มาดูวิธีการสังเกต ดูแลและป้องกัน โรคนิ่วในไต ไม่ให้มากวนใจเรากัน กับบทความนี้

 

โรคนิ่วในไตคืออะไร?

ลักษณะโรคนิ่วในไต คือ โรคที่เกิดจากแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นก้อน บริเวณไต ซึ่งจะมีขนาด และลักษณะที่แตกต่างกันออกไป สามารถพบได้ตลอด ระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากปัสสาวะมีความเข้มข้น จนทำให้แร่ธาตุต่าง ๆ เกิดการตกตะกอน และจับตัวกลายเป็นนิ่ว ซึ่งนิ่วในไต นิ่วในไตอาการ สามารถสร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วย ได้เป็นอย่างมาก และอาจทำให้มีภาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด

อาการโรคนิ่วในไต เกิดจากอะไร?

โรคนิ่วในไต อาการเป็นนิ่ว เกิดจากมีปริมาณของแร่ธาตุต่าง ๆ มากเกินไป เช่น แคลเซียม กรดออกซาลิก กรดยูริก เป็นต้น ซึ่งมีปริมาณมากกว่าของเหลวในปัสสาวะจะทำการละลาย หรือ ทำให้ความเข้มข้นลดลงได้ ทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่ว ในที่สุด ซึ่งสาเหตุของโรคนิ่วในไต สามารถแบ่งออกถามสารหลัก 4 ชนิด ดังนี้

 

1. แคลเซียม

ก้อนนิ่วที่เกิดจากแคลเซียม เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย มากที่สุด ซึ่งเป็นสารที่มักพบในอาหาร และเครื่องดื่ม เช่น ส้ม สตรอว์เบอร์รี ถั่ว เต้าหู้ โซดา ชา เบียร์ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. กรดยูริก

ก้อนนิ่วที่เกิดจากกรดยูริก มักพบได้ในผู้ชาย มากกว่าผู้หญิง และพบในผู้ป่วยโรคเกาต์ หรือ ผู้ป่วยที่กำลังรับเคมีบำบัด ซึ่งก้อนนิ่วชนิดนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อปัสสาวะมีความเป็นกรด มากเกินไป

 

3. สตรูไวท์

เป็นสารที่พบในผู้หญิง ที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งก้อนนิ่วชนิดนี้ เกิดจากการติดเชื้อที่ไต และทำให้ปัสสาวะเกิดการถูกปิดกั้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ซีสทีน

นิ่วชนิดนี้ เป็นนิ่วที่พบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งเกิดในผู้ที่มีความผิดปกติ ทางพันธุกรรมของซีนทีน ซึ่งเป็นกรดที่เกิดขึ้นในร่างกายอยู่แล้ว และอาจเกิดการรั่วไหล จากไตมายังปัสสาวะ

บทความประกอบ: โรคลําไส้แปรปรวนมีอาการเป็นอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่?

 

โรคนิ่วในไต อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียน เกลือ แร่ธาตุ โปรตีน และน้ำตาล มากเกินไป
  • ไม่ชอบดื่มน้ำ ดื่มน้ำน้อยเกินไป
  • ชอบใส่น้ำตาลในเครื่องดื่ม และใส่มากเกินไป
  • รับประทานอาหารที่มีสารซาเลต ซึ่งจะไปยับยั้งการดูดแคลเซียม มากเกินไป
  • รับประทานวิตามินซีมากเกินไป มากกว่าวันละ 1,000 มิลลิกรัม
  • ต่อมพาราไทรอยด์ ทำงานมากเกินไป
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อน ของโรคเกาต์
  • เกิดจากโรคลำไส้อักเสบ เรื้อรัง
  • เกิดจากโรคอ้วน น้ำหนักตัวมากเกินไป
  • เกิดจากโรคเบาหวาน

อาการของโรคนิ่วในไตเป็นอย่างไร?

อาการนิ่วในไต ก้อนนิ่วที่ยังมีขนาดเล็ก อาจหลุดออกไปกับปัสสาวะ โดยไม่สร้างความเดือดร้อน และความรำคาญใจ ให้กับผู้ป่วย แต่หากเป็นนิ่วขนาดใหญ่ หรือ นิ่วเคลื่อนตัวไปที่ไต อาการนิ่วในไต อาจทำให้มีอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • ปวดบริเวณหลัง หรือ ช่องท้องด้านล่าง อาจปวดร้าวไปถึงบริเวณขาหนีบ
  • ปวดบีบเป็นระยะ และ มีความรุนแรงเป็นช่วง ๆ
  • ปัสสาวะเป็นเลือด มีสีแดง ชมพู
  • ปัสสาวะมีความขุ่น และ มีกลิ่นแรง
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะทีละน้อย
  • มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หนาวสั่น มีไข้

บทความประกอบ: อาการนิ่วในถุงน้ำดี ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับนิ่วในถุงน้ำดี

การวินิจฉัยนิ่วในไต

1. การตรวจเลือด

การตรวจเลือดจะสามารถบอกถึงสุขภาพไตของผู้ป่วยได้ และยังช่วยให้แพทย์ได้วินิจฉัยโรคอื่น ๆ รวมทั้งตรวจวัดระดับของสาร ที่มีส่วนทำให้เกิดนิ่ว ซึ่งผู้ป่วยที่มีนิ่วในไตอาจมีปริมาณแคลเซียม และกรดยูริคในเลือดมากเกินไป

 

2. การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ จะช่วยให้แพทย์สามารถดูว่าร่างกายสามารถขับแร่ธาตุที่รวมตัวเป็นก้อนนิ่วมากเกินไป หรือ มีสารป้องกันการเกิดนิ่วน้อยเกินไป และยังสามารถตรวจหาภาวะติดเชื้อ  สามารถทำได้โดยการเก็บปัสสาวะของผู้ป่วย

 

3. การตรวจโดยภาพถ่ายไต

การตรวจโดยดูจากภาพถ่ายไต จะสามารถช่วยให้เห็นก้อนนิ่วต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างทางเดินปัสสาวะ ซึ่งทำให้มองเห็นก้อนนิ่วในไตขนาดเล็ก หรือ นิ่วบางชนิด แพทย์อาจใช้การทำซีทีสแกน ซึ่งจะช่วยให้เห็นนิ่วเหล่านั้นได้

 

4. การตรวจไต และทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสี

ทำได้ด้วยการฉีดสีเข้าไปที่เส้นเลือดใหญ่ แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อดูว่ามีสิ่งกีดขวางในขณะที่ไตทำการกรองสีออกจากเลือด แล้วขับออกเป็นปัสสาวะ โดยผู้ป่วยจะต้องปัสสาวะผ่านเครื่องกรอง เพื่อดักจับนิ่วที่ออกมา และทำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดโรค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษาโรคนิ่วในไต เป็นอย่างไร?

การรักษาโรคนิ่วในไต รักษานิ่ว สามารถรักษาตามชนิดของนิ่ว ยารักษานิ่ว และสาเหตุการเกิดนิ่ว ดังนี้

1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

การรักษานิ่วที่มีขนาดเล็ก และสามารถหลุดออกมาได้เอง สามารถทำได้โดยการดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อช่วยให้นิ่ว ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ อีกทั้งยังสามารถรับประทานยา  ยารักษานิ่ว ช่วยขับก้อนนิ่วได้ ตามการพิจารณาของแพทย์

 

2. การใช้เครื่องสลายนิ่ว

เป็นการใช้เครื่องมือ ที่จะนำมาสลายนิ่ว ขนาดไม่เกิน 2 ซม. ซึ่งการรักษา จะเป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้ก้อนนิ่ว เกิดการแตกตัว และขับออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งการรักษาวิธีนี้ อาจมีความเจ็บเพียงเล็กน้อย และมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา

 

3. การส่องกล้องสลายนิ่ว

วิธีการรักษานี้ จะทำให้นิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 3 ซม. โดยแพทย์จะทำการใช้เครื่องมือ ส่องกล้องเข้าไปทางท่อปัสสาวะ เพื่อทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก แล้วขับออกมาทางปัสสาวะอีกที

 

4. การผ่าตัด

การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ขนาดของก้อนนิ่ว มีขนาดใหญ่ และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ ซึ่งแพทย์จะทำการผ่าตัด ด้วยการเจาะรูเล็ก ๆ เพื่อใช้กล้องส่อง และทำให้นิ่วแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วคีบก้อนนิ่วออกมา

บทความประกอบ: อาการโรคไตวาย วิธีรักษาโรคไต เรื่องควรรู้เกี่ยวกับอาการไตวาย

 

การป้องกันโรคนิ่วในไต

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง
  • ควบคุมการรับประทานเนื้อสัตว์ นม เนย
  • รับประทานผักให้มาก ๆ ลดโอกาสการเกิดนิ่ว

 

โรคนิ่วในไต เป็นโรคที่ไม่ไกลตัวเราเท่าไหร่นัก หากเราดูแลตัวเองไม่ดี โรคนี้ก็อาจจะมาเยี่ยมเยียนเราได้ ดังนั้นเราควรหมั่นดูแลตนเอง ดื่มน้ำให้มาก ๆ และสังเกตตนเองบ่อย ๆ ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เมื่อพบอาการ ให้รีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยทันที

 

ที่มาข้อมูล :  1 2

บทความที่น่าสนใจ :

อาการของโรคไต เป็นแบบไหน โรคไต สาเหตุมาจากอะไร วิธีการรักษาอย่างไร?

ไต อวัยวะสำคัญที่ต้องดูแล มารู้จักภาวะไตเสื่อม

10 อาหารโซเดียมสูง เสี่ยงโรคไต

บทความโดย

Waristha Chaithongdee