ลูกโยน-ขว้างสิ่งของ เมื่อความ "โกรธ" ไม่ใช่เรื่องตลก แต่รับมือได้ใน 4 ขั้นตอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกโยน-ขว้างสิ่งของไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่เป็นความเสี่ยงที่คุณพ่อคุณแม่สามารถพบเจอได้เป็นปกติ เกิดจากพัฒนาการด้านการจับสิ่งของที่ไม่รู้ว่าควรโยน หรือไม่ควรโยนในสถานการณ์ไหนบ้าง สามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ลูกฝึกไปทีละขั้นตอนควบคู่ไปกับความเข้าใจในตัวเด็กของคุณพ่อคุณแม่ด้วย

 

ลูกชอบโยนของ ปาของ เวลาโกรธ เกิดจากอะไร

เด็กเล็กที่กำลังเรียนรู้ และมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ในบางครั้งด้วยความเป็นเด็กอาจไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งที่เขากำลังเรียนรู้อยู่นั้นต้องใช้ในเวลาใดบ้าง และเวลาไหนที่ไม่ควรใช้ นั่นหมายถึง “การโยนของ” ด้วยเช่นกัน เขาอาจเรียนรู้วิธีการโยนเพื่อใช้ทักษะนี้ทำสิ่งต่าง ๆ แต่เขาอาจไม่เข้าใจว่าไม่ควรโยนใส่ผู้อื่นในเวลาโกรธ หรือของชิ้นไหนโยนได้โยนไม่ได้ ถือเป็นปัญหาพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่มีโอกาสพบเจออยู่แล้วเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นสิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้ลูกเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อหลีกเลี่ยงนิสัย ลูกโยนทุกอย่างที่ขวางหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง : 20 คำปลอบลูก ทำอย่างไรให้ลูกหายโกรธ ง่าย ๆ ด้วยคำพูด

 

4 ขั้นตอนแก้นิสัยลูกโยน สิ่งของ

การแก้นิสัยของเด็กที่ชอบโยนของทำได้ไม่ยาก แต่ต้องใช้ความเข้าใจในตัวของเด็ก และผู้ปกครองต้องมีความใจเย็นสามารถแก้ไขได้เป็นขั้นตอนอย่างตั้งใจ และคอยระวังไม่ให้พฤติกรรมของลูกรุนแรงขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 1 : คือความเข้าใจ

ก่อนเริ่มทำสิ่งต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มจากความ “เข้าใจ” ในตัวของเด็ก ว่าเขาคือผ้าขาวที่ต้องได้รับการแต่งเติมที่ถูกต้อง ทักษะการโยนเป็นเรื่องปกติ แต่เด็กเอามาใช้ไม่ถูกต้องในบางจังหวะเท่านั้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามไม่โกรธ ไม่ดุ หรือใช้อารมณ์เมื่อเห็นว่า ลูกโยน ของ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเกิดความหวาดกลัว ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ในด้านนี้ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ขั้นตอนที่ 2 : ฝึกฝนในทางที่ถูก

เมื่อปัญหาการเรียนรู้เป็นอุปสรรคของเด็กในการโยนของ คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มได้ด้วยการฝึกให้เข้าใจถึงสิ่งที่ควรทำ ให้ลูกได้รู้ว่าสามารถใช้มือหยิบ,จับ หรือโยนกับสิ่งใดได้บ้าง เพื่อสร้างความเคยชินให้เด็กได้ซึมซับเอาไว้ โดยสามารถทำผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เกมเก็บของ : คุณพ่อคุณแม่สามารถเปลี่ยนพื้นที่ห้องที่โล่งกว้างให้เป็นพื้นที่ฝึกทักษะของลูกได้ด้วยการนำสิ่งของต่าง ๆ เช่น ของเล่น หรือของใช้เล็ก ๆ ให้ลูกโยนลงพื้นเบา ๆ ให้ได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด จากนั้นทำการจับเวลาถอยหลังให้ลูกเก็บของต่าง ๆ ขึ้นบนโต๊ะให้ได้ก่อนเวลาหมด หากลูกทำได้อาจมีรางวัลเล็ก ๆ ให้กับเขา หรือสามารถเพิ่มกติกาเพื่อให้ลูกมีทักษะในการแยกสิ่งของด้วยการให้ลูกนำของที่โยนลงพื้นเก็บใส่กล่องที่จำแนกชนิดไว้ เป็นต้น

 

  • ทำเองเก็บเอง : หลังจากได้รู้วิธีการฝึกขั้นพื้นฐานให้กับเด็กเล็กแล้ว ต่อไปคือการจัดการกับปัญหา ลูกโยน ของใช้ของเล่น ด้วยการให้เขารับผิดชอบสิ่งที่ตนเองทำ เช่น ลูกโยนเสื้อผ้าลงพื้นหลังจากใส่แล้ว ก็ให้ลูกเก็บใส่ตะกร้าด้วยตนเอง หรือเมื่อลูกโยนของเล่นลงพื้นทิ้งไว้แบบนั้น ก็ต้องตามให้ลูกมาเก็บให้เข้าที่ เป็นต้น

 

  • สื่อกลางเรียนรู้ : เด็กอาจไม่ฟังไม่แปลก ความดื้อในเด็กสามารถพบเจอได้ในตัวของเด็กทุกคน คุณพ่อคุณแม่สามารถลองให้เด็กเรียนรู้จากสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโยนของ หรือจัดของช่วยได้ วิธีนี้อาจทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น หรือสามารถสอนลูกผ่านการเล่านิทานให้ลูกฟังตามแต่โอกาสก็ได้เช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้ปกครองต้องระวังเรื่องของเล่นของเด็กไม่ควรมีส่วนคมใด ๆ ที่สามารถนำไปทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บด้วย นอกจากนี้การฝึกลูกให้มีพฤติกรรมหยิบจับสิ่งของที่ถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเรียนรู้ได้จากวิดีโอที่เราเลือกมาให้ตามด้านล่างนี้

 

 

ขั้นตอนที่ 3 : ทำดีต้องมีรางวัล

เมื่อคนทำดีก็ควรได้รับรางวัลตอบแทนบ้าง สำหรับเด็กเล็กก็ไม่แตกต่างกัน การแสดงออกของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมของเด็ก ส่งผลโดยตรงต่อตัวของเด็กเอง เขาจะจดจำได้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องหรือไม่ก็มาจากจุดนี้ด้วยนั่นเอง เมื่อลูกไม่โยนของ หรือเก็บของตามพื้นด้วยตนเอง หากผู้ปกครองเห็น ควรกล่าว “ชื่นชม” เป็นอย่างน้อย และอาจให้รางวัลตามสมควร แต่ต้องระวังหากเด็กได้รางวัลตลอดจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมทำความดี ทำสิ่งที่ถูกเพื่อหวังรางวัล ผู้ปกครองควรดูตามความเหมาะสม และท่องไว้เสมอว่าเป็นการตอบสนองต่อเด็กเล็กที่มีทักษะในทางที่ถูกต้องเท่านั้น

 

ขั้นตอนที่ 4 : ผิดคือผิด

ลูกโยน ข้าวของต่าง ๆ มาจากพัฒนาการที่ควรเรียนรู้ในทางที่ถูกต้องก็จริง แต่ถ้าหากลูกเคยผ่านขั้นตอนทั้ง 3 ข้อที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ลูกก็ยังมีพฤติกรรมโยนของเมื่อโกรธ หรือตั้งใจทำ คุณพ่อคุณแม่ควรแสดงออกอย่างชัดเจน ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง และไม่เห็นด้วยกับการกระทำของลูกน้อย เช่น การบอกลูกให้หยุดขว้างปาด้วยท่าทีที่จริงจัง หรือจับมือลูกเบา ๆ ให้หยุดปาแล้วบอกว่าให้หยุดทำเพราะไม่ดี เป็นต้น หากลูกไม่หยุดให้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเขาหยุดไปเอง แต่ต้องระวังไม่ใช้อารมณ์กับเด็ก หรือการที่เด็กหยุดทำแล้วไปต่อว่าเด็กต่อจะยิ่งทำให้เด็กโกรธ และต่อต้านมากยิ่งขึ้น

 

 

เด็กโกรธขว้างปาสิ่งของไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ

หลังจากทำตามขั้นตอนแล้วพบว่าเด็กโกรธทุกครั้ง และทำการปาข้าวของตลอด นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าเด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความโกรธของตนเองได้ ถือว่าเป็นปัญหาที่ควรใส่ใจอย่างมากสำหรับเด็กเล็ก นอกจาก ลูกโยน สิ่งของต่าง ๆ แล้วการแสดงออกที่น่าเป็นห่วงยังมีดึงหยิกเส้นผม, กระชากของหรือผู้อื่น, ร้องไห้อาละวาดดิ้นไปดิ้นมา, ไม่หยุดร้องไห้แม้ผ่านไปเป็นชั่วโมง ไปจนถึงการตัดสินใจทุบตีทำร้ายผู้อื่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกมีนิสัยก้าวร้าวชอบตีผู้ใหญ่ เด็กตีผู้ใหญ่บ่อย ๆ ควรทำอย่างไร?

 

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกมีพฤติกรรมโกรธรุนแรง

อารมณ์โกรธเป็นอารมณ์ที่ควรจัดการได้ด้วยตนเอง แต่สำหรับเด็กแล้วอาจมีอะไรที่มากกว่านั้น เพราะจะเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นรอบตัวเด็กด้วย จึงต้องให้ความสำคัญในด้านต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ควบคุมตนเองก่อน : เมื่อลูกโวยวายหรือ ลูกโยน สิ่งของ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความเครียด หรือโมโหได้ หากใช้อารมณ์จัดการปัญหาแน่นอนว่าจะยิ่งเกิดผลเสียมากกว่าผลดี สิ่งที่ควรทำก่อนเข้าหาลูกทุกครั้งคือต้องระงับอารมณ์ตนเองให้เกิดความใจเย็นเสียก่อนนั่นเอง

 

  • พฤติกรรมของคนในครอบครัว : ท่องไว้ก่อนเสมอว่า “สิ่งแรกที่เด็กเห็น คือสิ่งแรกที่เด็กจะจำ” ดังนั้นหากว่ากันตามนี้แล้ว เมื่อคนรอบตัวเด็กแสดงกิริยาท่าทางให้เด็กเห็นบ่อยจนเป็นเรื่องปกติ เด็กก็จะมองว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ปกติเช่นกัน หากไม่ต้องการให้เด็กจดจำพฤติกรรมการปาสิ่งของด้วยอารมณ์โกรธ ก็ไม่ควรทำให้เด็กเห็นด้วยนั่นเอง

 

  • ให้เวลากับเด็ก : ลูกที่มีอารมณ์โกรธอาจเลือกใช้วิธีการให้เขาได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น ปล่อยให้เขาโกรธอยู่คนเดียว งดความสนใจเพื่อให้เขาสงบลงได้ด้วยตนเอง จากนั้นค่อยเข้าไปพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจต่อกัน พยายามหาสาเหตุว่าทำไมเด็กจึงโกรธ และอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กได้รู้จักการขอโทษ และการให้อภัย

 

หากการกระทำต่าง ๆ ของผู้ปกครองไม่สามารถส่งผลในเชิงบวกของเด็กได้อาจต้องพาลูกเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ เพื่อไม่ให้เด็กใช้อารมณ์ความโกรธจนติดเป็นนิสัยไปจนถึงช่วงวัยรุ่น

 

บทความที่น่าสนใจ

“ขโมยของ หยิบเล็กหยิบน้อย” เมื่อเด็กกลายเป็นจอมโจร Robin Hood ควรแก้อย่างไร

ถึงสนามบินแล้ว แต่ลูกกลัวเครื่องบินไม่ยอมขึ้น ทำอย่างไรดี ?

ถอนฟันที่เด็ก ๆ มักกลัว ทำอย่างไรดีเมื่อลูกกลัว งอแงไม่ยอมไปถอนฟัน

 

ที่มาข้อมูล : amarinbabyandkids rakluke sanook

บทความโดย

Sutthilak Keawon