จิตรลดา ฆาตกรโรคจิตชื่อดัง ก่อเหตุแทงเด็กซ้ำเป็นครั้งที่ 2

จิตรลดา ฆาตกรโรคจิตชื่อดัง ก่อเหตุแทงเด็กซ้ำเป็นครั้งที่ 2

จิตรลดา คงเป็นชื่อที่หลาย ๆ คนต้องรู้จักแน่นอนในขณะนี้ เพราะเธอคือฆาตกรโรคจิตชื่อดังที่เคยก่อเหตุครั้งแรกเมื่อ 14 ปีที่แล้ว และกลับมาเป็นกระแสในโลกออนไลน์อีกครั้งจากการก่อเหตุแทงเด็กซ้ำเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา

ย้อนกลับไปในเช้าวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2548 เกิดเหตุการณ์แทงเด็กนักเรียนที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ โดยผู้ก่อเหตุคือ นางสาว จิตรลดา ในวัย 36 ปี ณ ขณะนั้น เธอแต่งกายคล้ายผู้ปกครองทั่วไป ทำทีเดินเข้าไปในโรงเรียน พร้อมพกอาวุธก่อเหตุมีด 3 เล่ม ติดตัวโดยไม่มีท่าทีผิดปกติใด ๆ ทั้งสิ้น เธอลงมือแทงเด็กนักเรียนหญิงเป็นเหยื่อรายแรก ก่อนไล่แทงนักเรียนคนอื่น ๆ เพิ่มอีก 3 คน อย่างโหดเหี้ยม ท่ามกลางความวุ่นวาย หลังจากก่อเหตุนางสาวจิตรลดาได้ทำการขึ้นมอเตอร์ไซค์รับจ้างหลบหนีไปอย่างลอยนวล

จิตรลดา

โดยการก่อเหตุครั้งนี้ มีการให้การจากทางพยานอย่างวินมอเตอร์ไซค์ว่า น.ส จิตรลดา เคยว่าจ้างวินมอเตอร์ไซค์ในการตามเด็ก 2-3 คนและเลิกทำไป อีกทั้งมีการรายงานว่าเธอทำการวางแผนที่จะก่อเหตุนี้เป็นเวลา 3 ปีอีกด้วย โดยเธอมีอาการจิตเภทเรื้อรังมาตั้งแต่อายุ 20 ปี และได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนิติจิตเวชในปี 2536 และได้หยุดการรักษาไป จากนั้นก็ได้เปลี่ยนโรงพยาบาลในการรักษาเป็นโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในปี 2544 และก็ได้หยุดการรักษาอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเข้ารับการรักษาเป็นครั้งสุดท้ายก่อนทำการก่อเหตุดังกล่าวนั่นเอง

วันที่ 10 กันยายน พ.ศ 2548 ทางตำรวจได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่าพบหญิงหน้าตาคล้ายคนร้าย ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งย่านจตุจักร ตำรวจจึงไปตรวจสอบ ก็พบว่าเป็นคนร้ายจริง ๆ ซึ่งนางสาวจิตรลดาให้การสารภาพว่า ลงมือทำไป เพราะได้ยินเสียงสวรรค์สั่งให้ทำ โดยพนักงานสอบสวนได้ทำการสรุปสำนวนดำเนินคดีใน 3 ข้อหา คือ 1. พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 2. ทำร้ายร่างกาย และ 3. พกพาอาวุธมีดเข้าไปในที่สาธารณะ

ที่ผ่านมานางสาวจิตรลดา มีประวัติเข้ารักษาอาการทางจิตที่โรงพยาบาลไม่ซ้ำกันเลย อีกทั้งยังเคยเกิดเหตุการณ์ที่นางสาวจิตรดาทำร้ายพ่อเลี้ยงโดยการใช้มีดฟันศีรษะของพ่อเลี้ยงอีกด้วย

ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2549 อัยการยื่นฟ้อง นางสาวจิตรลดา ในความผิดฐานพยายามฆ่า และพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ ศาลประทับรับฟ้อง และออกหมายขังไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง และให้ส่งตัวไปรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์  จากนั้น วันที่ 20 พ.ย. 2551 พิพากษา จําคุก น.ส.จิตรลดา 8 ปี เนื่องจากจําเลยสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจําคุก 4 ปี หลังพ้นโทษให้ส่งตัวไปคุมตัวรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จนกว่าจะหายดี โดยสั่งให้แพทย์รายงานผลต่อศาลทุก 6 เดือน

จิตรลดา

จากนั้นเมื่อช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2556 มีข่าวแชร์สนั่นว่านางสาวจิตรลดา ได้มีการกลับมาวนเวียนป้วนเปี้ยนอยู่บริเวณโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ซึ่งหลังจากข่าวลือดังกล่าว เชื่อว่านางสาวจิตรลดายังคงเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการอยู่เรื่อย ๆ และทำการก่อเหตุซ้ำหลังจากออกจากโรงพยาบาลได้เพียง 1 สัปดาห์

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา มีรายงานว่าเกิดเหตุแทงด.ญวัย 4 ขวบ ที่ร้านอาหารตามสั่ง บ้านเลขที่ 29/8 หมู่ 4 ต.วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โดยเบื้องต้นทราบว่า เด็กน้อยวัย 4 ขวบ ได้นอนเล่นอยู่ที่แคร่ไม้ในร้านอาหาร โดยที่ป้าและญาติ ๆ ที่ขายของอยู่นั้นกำลังทำงานขายข้าวอยู่หน้าร้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 จึงไม่ได้เปิดร้านให้ลูกค้าเข้ามานั่งทาน จึงเปิดขายเฉพาะหน้าร้าน แล้วใส่ถุงกลับบ้านเท่านั้น

ในขณะเดินออกไปส่งอาหารให้กับลูกค้า เมื่อกลับมาถึงเห็นว่าเด็กหญิงนอนดิ้นทุรนทุรายอยู่บนแคร่ไม้ โดยที่หน้าท้องมีพลเมืองดีและญาติ ๆ ได้ช่วยกันนำส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

จิตรลดา

โดยดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยา-ที่ปรึกษาโครงการศูนย์ฯ ได้ทำการแยกปัจจัยที่นำไปสู่การลงมือฆ่าซึ่งสัมพันธ์กันระหว่าง กาย ใจ อารมณ์ และสังคมไว้ 9 ลักษณะ คือ

  1. ความแค้น
  2. แผลใจ หรือภาวะสะเทือนขวัญ
  3. ภูมิหลังของบุคลิกภาพ
  4. หน้าที่
  5. โรคจิต
  6. เลียนแบบสื่อ
  7. ลัทธิ
  8. ตกใจ
  9. อำนาจและผลประโยชน์

อาการของจิตเภทอ้างอิงจากเอกสารของกระทรวงสาธารณะสุข

อาการด้านบวก (positivesymptoms) ได้แก่

1. อาการหลงผิด (delusion) คือการมีความคิดหรือความเชื่อที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การหลงผิดว่ามีคนจะมาทําร้าย การหลงผิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ มีความสามารถพิเศษ เป็นต้น

2. อาการประสาทหลอนอย่างชัดเจน (prominent hallucination) คือ การกําหนดรู้ท่ีเกิดข้ึน โดยไม่มีสิ่งเร้าภายนอก เช่น หูแว่วได้ยินเสียงคนพูดด้วยโดยท่ีมองไม่เห็นตัว เห็นภาพคน สัตว์ หรือส่ิงของโดยไม่มีสิ่งเหล่าน้ันอยู่จริง เป็นต้น โดยความเชื่อดังกล่าวต้องไม่ใช่ความเชื่อที่พบได้ตามปกติในสังคมหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วย

จิตรลดา

3. การพูดแบบไม่มีระเบียบแบบแผน (disorganized speech) คือ การพูดในลักษณะที่หัวข้อ วลี หรือประโยคที่กล่าวออกมาไม่สัมพันธ์กัน เช่น การเปลี่ยนเรื่องที่พูดจาหนึ่งไปอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กันเลยเป็นต้น

4. พฤติกรรมแบบไม่มีระเบียบแบบแผน (disorganizedbehavior) คือพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปอย่างมากจากธรรมเนียมปฏิบัติของคนทั่วไปในสังคม เช่น ไม่ใส่เสื้อผ้า การเล่นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น

5.พฤติกรรมเคลื่อนไหวแปลกไปจากปกติ (catatonic behavior) เช่น การเคลื่อนไหวมากเกินไปน้อยเกินไป หรือนิ่งแข็งอยู่กับที่

อาการด้านลบ (negativesymptoms) ได้แก่

1. อารมณ์ทื่อ (bluntedaffect) และเฉยเมย
2. ความคิดอ่านและการพูดลดลง
3. ขาดความสนใจในการเข้าสังคมและกิจกรรมที่เคยสนใจ
4. ไม่ดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัว

อาการด้านการรู้คิด (cognitivesymptoms)

1. ความสามารถในการจัดการการตัดสินใจการวางแผน (executivefunction) ลดลง
2. ความสามารถในการคงความใส่ใจ (attention) ลดลง
3. ความจำเพื่อใช้งาน (working memory) บกพร่อง คือ ความสามารถในการจดจำข้อมูลเฉพาะหน้าลดลง

จิตรลดา

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสมัยนี้ผู้คนทั้งหลายมักมีความเครียดสะสม ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นดังกล่าว อาจจะนำพามาสู่การเกิดเหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้ได้อีก คำว่ารู้หน้าไม่รู้ใจ เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรท่องไว้ให้ดี เพราะไม่ว่ากับใครพวกคุณก็ควรที่จะระวังเด็ก ๆ ไว้เสมอ

วิธีดูแลเด็ก ๆ จากอันตราย

  • ให้ลูกของคุณเรียนรู้หมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ เช่น 191
  • อธิบายกับเด็ก ๆ ว่าพวกเขาไม่ควรยอมรับอาหารหรือของขวัญจากคนที่พวกเขาไม่รู้จัก
  • สอนให้เด็ก ๆ ระมัดระวังเมื่อใช้ห้องน้ำสาธารณะ
  • สอนให้ลูกรู้จักปฏิเสธ หากมีคนมาแตะเนื้อต้องตัวพวกเขา หรือถูกคุกคาม
  • คอยสอนพวกเขาว่าที่ใดเป็นจุดที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา
  • สอนลูก ๆ ของคุณให้หลีกเลี่ยงสถานที่เปลี่ยว เช่น ตรอกซอกซอยและอาคารว่าง
  • อย่าพูดคุยกับคนแปลกหน้า
  • สอนลูกของคุณว่าถ้าพวกเขารู้สึกถึงอันตรายมันก็โอเคที่จะตะโกน“ ช่วยด้วย!” และหาผู้ใหญ่ที่ปลอดภัย
  • บางสถานการณ์หากพวกเขาอาจจะต้องเงียบไว้หากต้องหลบซ่อนเพื่อความปลอดภัย
  • ใช้ความระมัดระวังในการเตือนพฤติกรรมที่อาจบ่งบอกถึงการล่วงละเมิดทางเพศ

 

เครดิตรูปภาพจาก zcooby

ขอบคุณข้อมูลจาก Safety

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เทคนิคดูแลเด็กขี้ร้อน วิธีคลายร้อน สำหรับลูกรัก ฉบับแม่มือโปร

ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาล อย่างไร ป้อนอาหารเด็กเล็ก ต้องระวัง! อาหารอันตราย

อาหารไขมันต่ำอันตราย เหมือนกัน อาหารโลว์แฟต โลว์แคล อันตรายต่อลูกในท้อง

บทความโดย

Jitawat Jansuwan