แม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม ลูกเสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังคลอด คุณอาจจะรู้สึกไม่สบายตัว ประกอบกับ ความวุ่นวายตั้งแต่อาการหลังคลอด การดูแลลูกน้อย การดูแลตัวเอง คุณแม่อาจจะป่วยก็ได้ คำถามที่ว่า แม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะคะ ปรึกษาคุณหมอดีที่สุดค่ะ เพราะ ยาที่คุณแม่ทาน อาจจะมีผลต่อ น้ำนมที่ส่งผ่านไปยังลูก หรือแม้แต่การติดเชื้อจากความใกล้ชิดระหว่างแม่ลูก ก็เป็นได้ ลองมาอ่านคำตอบในเบื้องต้นกันก่อนนะคะ

 

แม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม ? ลูกเสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า ?

เมื่อรู้สึกไม่สบายตัว ในช่วงของการให้นมลูก เมื่อแม่ไม่สบายย่อมกังวลว่า เวลาเอาลูกเข้าเต้าดูดนมแม่แล้ว ลูกจะติดโรคจากแม่ ป่วยตามกันไปทั้งแม่ และ ลูกหรือเปล่า แล้วอย่างนี้แม่ควรหยุดให้นมลูกหรือไม่ แม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม ?

คำตอบ เชื้อโรคไม่ออกทางน้ำนม จึงไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมลูก และ ไม่ควรหยุดด้วย หากหยุดอาจทำให้ลูกมีอาการมากกว่าการที่ยังได้ดูดนมแม่เสียอีก เพราะลูกอาจได้รับเชื้อจากแม่  ตั้งแต่แม่ยังไม่ทันรู้ว่าตัวเองป่วย ซึ่งในนมแม่นั้นประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงภูมิคุ้มกันต่าง ๆ

สังเกตได้ว่า บางครั้งเป็นหวัดกันทั้งบ้าน ก็มีแต่เจ้าตัวเล็กนี่แหละ ที่ไม่เป็นอะไร เพราะหากลูกยังดูดนมแม่อยู่ เขาได้รับภูมิคุ้มกันเข้าไปด้วย หรือ หากเจ็บป่วย ก็แสดงอาการไม่รุนแรง หายได้เร็ว ซึ่งการให้นมลูกนั้นต้องระวังการแพร่เชื้อ ดังนี้

  • แม่ต้องใส่ผ้าปิดปากจมูก
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนจับลูก
  • งดหอม งดจุ๊บลูกจนกว่าแม่จะหายป่วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 สิ่งที่ต้องระวังหากยังให้นมลูก แม่ที่ให้นมลูก ต้องระวังอะไรบ้าง ? มาดูพร้อม ๆ กัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

แม่เป็นงูสวัดให้นมลูกได้ไหม ?

หนึ่งในโรคที่สร้างความกังวลให้กับคุณแม่ เพราะกลัวว่าอาจส่งต่อเชื้อโรคให้สู่ลูก นั่นคือ “งูสวัด” สำหรับแม่ที่เป็นงูสวัดตำแหน่งที่ลูกไม่สัมผัสกับตุ่มโรค แม่สามารถเอาลูกเข้าเต้าให้นมแม่ได้ตามปกติ แต่ อย่าให้น้ำลายคุณแม่โดนลูก

 

แม่ป่วยหนักให้นมลูกได้ไหม ?

หากมีอาการหนัก แม่เป็นไข้หวัดใหญ่ หรือ ภาวะกรวยไตอักเสบ จนมีไข้สูง และ เกิดหนาวสั่นเพราะเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด แม่ก็ยังให้นมได้ตามปกติ เพราะน้ำนมที่ร่างกายคุณแม่ผลิตไม่ได้ส่งต่อเชื้อโรคไปสู่ลูก ไม่ต้องปั๊มนมทิ้งให้เสียของ แต่ หากร่างกายแม่อ่อนแอ รู้สึกอ่อนเพลีย ก็ให้นมสต๊อกไปก่อนก็ได้ จนกว่าคุณแม่จะรู้สึกดีขึ้น แล้วสามารถอุ้มลูกเข้าเต้าได้เอง

ถ้ากังวลว่ายาที่กินจะมีผลต่อลูก แนะนำให้ไปพบแพทย์ก่อน แพทย์จะแนะนำยาที่ปลอดภัยต่อลูกน้อย และแนะนำได้ว่า ระหว่างนี้แม่ให้นมลูกได้ หรือ ควรจะพักไปก่อน แต่ ถ้าหากคุณหมอคอนเฟิร์มแล้วว่ายาที่คุณแม่รับประทานไม่เป็นผลกับลูก คุณแม่อาจใช้วิธีใช้เครื่องปั๊มนมมาช่วยในช่วงนี้ก็ได้นะคะ เรามี เทคนิคการปั๊มนม มาฝากค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เทคนิคการปั๊มนม ปั๊มนมอย่างไรให้ได้น้ำนม

1. หลังคลอด เริ่มต้นปั๊มนมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

  • โดยปั๊มให้ได้ 8 – 10 ครั้ง ทุก 24 ชั่วโมง ยิ่งในหนึ่งวัน นั้น หากคุณแม่ปั๊มได้บ่อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มากขึ้นเท่านั้น
  • ในการปั๊มแต่ละครั้ง ให้ปั๊มนมเป็นเวลาอย่างน้อย 10 – 15 นาทีต่อข้าง จนกว่าน้ำนมจะมาจริง ๆ ในวันที่ 3 หรือ 4 หลังคลอด
  • เมื่อปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นแล้ว พยามปั๊มให้บ่อย และ นานขึ้น หรือปั๊มต่ออีก 2 นาที หลังจากน้ำนมถูกปั๊มหมดแล้ว (การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า จะช่วยให้น้ำนมผลิตได้เร็วขึ้น)

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ตั้งเป้าที่จำนวนครั้ง ไม่ใช่ระยะห่างของการปั๊มแต่ละครั้ง

  • ถ้ามัวแต่คิดว่าต้องปั๊มทุกกี่ชั่วโมง เช่นทุก 2 หรือ 3 ชั่วโมง หากการปั๊มนมนั้นช้าไปบ้าง นั่นจะทำให้จำนวนครั้งในการปั๊มนมต่อวัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ลดลงไปโดยไม่รู้ตัว
  • เมื่อคุณแม่วางแผนว่าจะปั๊มนม ให้คิดว่า “ ฉันจะปั๊มให้ได้ 10 ครั้ง หรือมากกว่าได้อย่างไร ”
  • หากไม่สามารถปั๊มนมตามเวลาได้ ให้ปั๊มนมทุกชั่วโมงแทนในช่วงเวลาที่ทำได้ เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่กำหนด (8 – 10 ครั้งต่อวัน)
  • ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย หรือ 25-35 ออนซ์ต่อวัน ให้ปั๊มตอนกลางคืน อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และอย่าให้ช่วงห่างระหว่างการปั๊มแต่ละครั้งนาน

 

3. เมื่อได้ปริมาณที่ต้องการ สามารถลดจำนวนการปั๊มนมได้

  • สามารถปั๊มได้ตามเป้าหมายหรือ 25-35 ออนซ์ต่อวัน คุณแม่ก็อาจจะลดจำนวนครั้งที่ปั๊มลงได้แต่ยังคงรักษาระดับปริมาณน้ำนมนี้ไว้ได้
  • ลดจำนวนครั้งในการปั๊มเป็น 5-7 ครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนครั้งที่คุณแม่ส่วนใหญ่ สามารถรักษาระดับปริมาณการผลิตน้ำนมไว้ได้คงที่
  • อาจจะไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปั๊มตอนกลางคืน บางคนอาจจะปั๊มก่อนเข้านอน และ ปั๊มอีกครั้งทันทีที่ตื่นตอนเช้าก็ได้
  • สำหรับคุณแม่บางท่าน เมื่อปริมาณน้ำนมถึงจุดที่กำหนดแล้ว สามารถปั๊มเพียง 10-15 นาทีต่อครั้งก็พอ
  • สังเกตปริมาณน้ำนม อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และ จดบันทึกปริมาณน้ำนมที่ได้ในแต่ละวัน

 

การให้นมลูกตอนที่ป่วยอยู่เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง การปั๊มนมไว้สำรองสำหรับให้ลูกน้อย เป็นวิธีที่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี และถ้าหากเป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ให้นมลูกครั้งแรก คุณแม่มือใหม่ควรทำอย่างไร เข้าเต้าแบบไหนดี?

อุ้มลูกท่านี้ สบ๊าย สบาย แม่ไม่เมื่อยเลย รู้ไหม ท่าให้นมท่าไหนสบายทั้งแม่และลูก

เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย ไม่งอแง

ที่มาข้อมูล : sikarin breastfeedingthai

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya