คนท้อง ท้องลด อันตราย มากกว่าที่คิด
คนท้อง ท้องลด อันตราย มากกว่าที่คิด อันตราย มากกว่าที่คิด ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์ คุณแมจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นในช่วงท้อง รวมไปถึงทารกในครรภ์ที่เจริญเติบโตขึ้น ยิ่งช่วงเวลาใกล้คลอดสัญญาณต่าง ๆ ก็เริ่มบ่งบอกว่า ลูกน้อยใกล้จะลืมตาดูโลกแล้วนะ ยิ่งอายุครรภ์มาก ๆ หรือท้องแก่ มักจะได้ยินคำว่า “ท้องลด” แล้วนะ ใกล้คลอดแล้วแน่ ๆ เลย มาดูกันว่า จริงเท็จอย่างไรกับคำว่า ท้องลด ใกล้คลอด
อาการท้องลด คือ อาการใกล้คลอด จริงหรือ ??
1. เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มดลูกจะขยายขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์ หรือ 5 เดือน ยอดมดลูกจะคลำได้ที่ระดับสะดือ พอตั้งท้องได้ประมาณ 32 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะอยู่ที่ระดับกึ่งกลางสะดือกับกระดูกลิ้นปี่ จนเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 36 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน ยอดมดลูกก็ถึงลิ้นปี่
2. ในช่วงที่ใกล้คลอด ภายหลังตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ไปแล้ว ทารกในครรภ์เจริญเติบโตเต็มที่พร้อมจะออกมาดูโลก และที่สำคัญเจ้าหนูอยู่ในท่าพร้อมคลอด คือ ท่าศีรษะจะเป็นท่าคลอดปกติ ทารกน้อยจะเริ่มเคลื่อนศีรษะตัวเองต่ำลงไปในอุ้งเชิงกราน หรือกรณีที่จะเอาก้นลง ส่วนก้นของลูกก็จะเคลื่อนสู่อุ้งเชิงกราน ทำให้มดลูกส่วนล่างขยายตัวเรียกว่าหัวลงต่ำ
บทความแนะนำ ท่าทารกในการคลอด
3. ในช่วงที่ทารกเคลื่อนลงมาบริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับท่าคลอด จะสังเกตเห็นได้จากท้องของคุณแม่ลดต่ำลง หรือที่เรียว่า “ท้องลด” นั่นเอง ในช่วงนี้จะทำให้คุณแม่รู้สึกโล่ง ไม่อึดอัด และหายใจสะดวกขึ้น
4. การที่ศีรษะของลูกที่อยู่ต่ำในบริเวณอุ้งเชิงกราน จะยิ่งเบียดกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ให้มีพื้นที่น้อยลง ทำให้เก็บปัสสาวะได้น้อยลงอีก คุณแม่จึงต้องเข้าห้องน้ำบ่อยยิ่งขึ้นและจะเจ็บหน่วงในช่องเชิงกรานมากขึ้น เพราะศีรษะของทารกน้อยในครรภ์จะลงไปกดอวัยวะในช่องเชิงกรานทำให้ปวดที่หัวหน่าว และมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น
บทความแนะนำ แม่ท้องรับมือ!!!เจ็บหัวหน่าวร้าวอวัยวะเพศ(จิ๊มิ)
คุณแม่มือใหม่ที่ตั้งท้องแรก ถ้าสังเกตจะพบว่า ภายหลังตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ไปแล้ว ท้องอาจมีขนาดลดลง เพราะทารกในท้องที่เคยอยู่ในมดลูกระดับเหนือช่องเชิงกราน เริ่มเคลื่อนต่ำลงไปในช่องเชิงกราน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการคลอดที่จะตามมาในไม่ช้านี้ แต่สำหรับคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว จะสังเกตเห็นท้องลดช้ากว่าในท้องแรก ๆ คุณแม่บางคนจวบจนใกล้คลอดแล้วท้องยังไม่ลดเลยก็มี มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้สึกว่าท้องลดเลยจนกระทั่งถึงระยะเจ็บคลอดก็เป็นได้ค่ะ
เรื่องน่ารู้ : สัญญาณบ่งบอกว่าใกล้คลอด
1. เจ็บท้องเตือนไตรมาสสุดท้าย จะมีความรู้สึกว่าท้องแข็งเกร็งเป็นระยะ แต่อาการดังกล่าวไม่ถึงกับเจ็บปวดรุนแรง เพียงแต่จะรู้สึกแน่นๆ และอึดอัดอัด แต่ไม่เจ็บมากและเจ็บไม่นาน ครั้งละประมาณ 25 วินาที มักจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ หากได้นั่งหรือนอนในท่าสบายๆ อาการนี้ก็จะทุเลาลงและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
2. เจ็บท้องเตือนก่อนคลอด อาการจะแตกต่างจากเจ็บท้องเตือนในช่วงระยะเวลาท้องในไตรมาสสุดท้ายที่มักจะเป็นๆ หายๆ การเจ็บท้องเตือนก่อนคลอดจะเกิดขึ้นก่อนประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด ถือเป็นการอุ่นเครื่องก่อนจะเจ็บจริง อาการนี้มักจะเจ็บถี่ขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณในการเตรียมพร้อมของร่างกาย คุณแม่ต้องเริ่มคอยสังเกตอาการที่เกิดขึ้นในระยะนี้
3. มีมูกเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด มูกเลือดที่ว่านี้เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเพื่อปิดปากมดลูกไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นปราการด่านแรกที่ปกป้องเจ้าตัวน้อยในครรภ์ เมื่อถึงช่วงเวลาใกล้คลอดเจ้ามูกเลือดนี้จะหลุดออกมาก่อน และอาจมีเลือดผสมออกมา เนื่องจากเกิดการแตกของเส้นเลือดเล็กๆ บริเวณปากมดลูก อาการแบบนี้เรียกว่าปากมดลูกเปิดแล้ว รีบคว้ากระเป๋าไปพบคุณหมอได้เลยค่ะ
4. น้ำเดิน หรือที่เรียกกันว่าถุงน้ำคร่ำแตก น้ำที่ออกมาจะเป็นลักษณะใสๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ อาการถุงน้ำคร่ำแตกแสดงถึงมดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลงเพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน หากคุณแม่เกิดอาการแบบนี้แล้ว ควรรีบไปโรงพยาบาลด่วน เพราะเป็นสัญญาณสำคัญของการคลอดที่กำลังจะมาถึง
5. การเจ็บท้องจริง คุณแม่จะรู้สึกเจ็บเป็นระยะต่อเนื่องและถี่ขึ้น อาการเจ็บท้องจริงจะคล้ายกับตอนที่เจ็บท้องมีประจำเดือน แต่จะเริ่มปวดถี่แรงขึ้นเป็นจังหวะ การปวดระยะแรกจะนานประมาณ 1-2 นาที และจะเกิดในทุกๆ 10-15 นาที หลังจากนั้นจะเริ่มปวดกระชั้นเข้ามาทุก 5 นาที อาการแบบนี้คุณแม่เตรียมหิ้วกระเป๋าไปพบคุณหมอได้แล้วคะ เพราะนี่คือการส่งสัญญาณในการลืมตาดูโลกของเจ้าตัวน้อยนั่นเอง
ได้ทราบกันแล้วนะคะ ว่า “ท้องลด” คืออาการใกล้คลิดนั่นเอง ทีนี้คุณแม่ลองสังเกตอาการข้างเคียงอื่น ๆ ประกอบด้วยนะคะ เพื่อการเตรียมตัวล่วงหน้า เพราะอีกไม่นานลูกน้อยจะลืมตาดูโลกสมกับที่รอคอยมา 9 เดือน ขอให้คุณแม่และทารกน้อยมีสุขภาพแข็งแรงนะคะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ
คลิป จำลองการคลอดลูกวิธีธรรมชาติ ที่คุณแม่ใกล้คลอดต้องดู !
6 สาเหตุความเจ็บปวดระหว่างคลอด