ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาไม่นาน หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาซักพักหนึ่งแล้ว จะต้องมีความกังวลใจเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอน เพราะฉะนั้นคุณแม่คงกำลังหาวิธีจัดการกับสิ่งนี้ และตัวเลือกการควบคุมน้ำหนักนั้น ก็คงหนีไม่พ้นการกินให้น้อยลง หรือการงดอาหารด้วยวิธีการ IF แต่คุณแม่ท้องก็คงจะเกิดความสงสัยว่า สามารถ ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้หรือไม่? วันนี้เราจะพาคุณแม่มา รู้จักกับการทำ IF และมาไขข้อสงสัยว่า สามารถทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ได้ไหม และมีวิธีใดบ้าง หากต้องการให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้น เพิ่มขึ้นอย่างคงที่แต่ดีต่อสุขภาพ!

 

ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

การอดอาหารเป็นช่วง ๆ เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เช่นเดียวกับเทรนด์สุขภาพอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด หรือปลอดภัยที่สุดสำหรับหลาย ๆ คน และนั่นรวมถึงคุณแม่ท้องและให้นมบุตร “การอดอาหารเป็นช่วง ๆ เป็นกลยุทธ์การอดอาหารโดยจำกัดการบริโภคแคลอรีของคุณให้อยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน” สูตินรีแพทย์กล่าวว่า “โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อดอาหาร” มีหลายสาเหตุที่การอดอาหารอย่างไม่สม่ำเสมอแบบ IF อาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่ท้องและทารกในครรภ์

 

IF คืออะไร

Intermittent Fasting (IF) หรือการอดอาหารเป็นช่วง ๆ เป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งการลดน้ำหนักแบบ IF เป็นการกำหนดช่วงเวลาในการอดอาหาร และรับประทานอาหาร โดยไม่ได้เน้นที่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคอาหาร แต่การกำหนดเวลาในการรับประทานอาหาร จะทำให้ลดปริมาณการกินอาหาร และลดพลังงานจากอาหารที่ได้รับ ในช่วงเวลาที่ต้องอดอาหาร  ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินลดลง ส่งผลให้การเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดไปเป็นไขมันลดลง การกักเก็บไขมันใต้ผิวหนังลดลงส่งผลให้น้ำหนักลดลง และช่วงที่ระดับอินซูลินลดลง ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน และนอร์อิพิเนฟรินเพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวจะช่วยให้ร่างกายนั้นเผาผลาญไขมัน และเพิ่มการเผาผลาญพลังงานให้สูงขึ้น โดยที่ไม่ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลงเหมือนการอดอาหารอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง เจาะลึก วิธีลดน้ำหนักแบบ IF สำหรับผู้เริ่มต้นลดน้ำหนัก แบบ Intermittent Fasting

 

 

4 เหตุผลที่ ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ปลอดภัย!

1. เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร

เนื่องจากการอดอาหารเป็นช่วง ๆ เกี่ยวข้องกับการจำกัดเวลาที่คุณแม่ ต้องรับประทานอาหารในช่วงเวลาหนึ่ง (โดยปกติจะเป็นช่วงเวลาเล็ก ๆ ) จึงเป็นเรื่องยากจริง ๆ ที่จะได้รับสารอาหารทั้งหมดที่คุณแม่ต้องการในหนึ่งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ท้อง ที่มีความต้องการทางโภชนาการสูงเพื่อช่วยบำรุงสุขภาพของตัวเองและสุขภาพของทารกน้อยในครรภ์ การตั้งครรภ์เป็นเวลาที่ต้องมุ่งเน้นไปที่การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และการบริโภคสารอาหารที่เพียงพอ ต่อความต้องการของคุณแม่และลูกน้อยที่กำลังเติบโต ไม่ใช่การลดน้ำหนัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การทำ IF อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารหรือวิตามิน ที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเพิ่มแคลอรี่ ประมาณ 300 แคลอรี่ต่อวัน ในอาหารของคุณแม่เพื่อเพียงพอกับความต้องการของทารกในครรภ์ การอดอาหารเป็นช่วง ๆ อาจทำให้คุณแม่ได้รับแคลอรีไม่ครบตามที่ต้องการในแต่ละวัน

 

2. เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

การศึกษาในปี 2019 แสดงให้เห็นว่า การอดอาหารในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงอย่างยิ่งสำหรับแม่ท้อง ในการศึกษา ผู้หญิงที่อดอาหารในไตรมาสที่ 2 มีความเสี่ยงสูงขึ้น 35% ในการคลอดก่อนกำหนด แม้ว่าการศึกษาจะไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการอดอาหารที่เป็นช่วง ๆ โดยเฉพาะ (การศึกษาในแม่ท้องที่อดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน และไม่รับประทานอาหารในช่วงเวลากลางวัน) การอดอาหารเป็นช่วง ๆ อาจมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ IF บางรูปแบบอาจรุนแรงน้อยกว่าเล็กน้อย แต่ในการศึกษานั้นระบุอย่างชัดเจนว่าการอดอาหารมีความเชื่อมโยงกับการคลอดก่อนกำหนด

บทความที่เกี่ยวข้อง การคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงอันตรายแค่ไหน แม่ท้องต้องรู้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับน้ำตาลในเลือดสูง และเป็นความเสี่ยงร้ายแรงสำหรับแม่ท้องจำนวนมาก แต่น้ำตาลในเลือดต่ำก็เป็นอีกสาเหตุที่น่ากังวลใจในแม่ท้อง การอดอาหารเป็นระยะ ๆ อาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงเนื่องจากการอดอาหารเป็นระยะเวลานาน การจำกัดอาหารหรือการอดอาหารเป็นเวลานานในระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกหน้ามืดหรือเป็นลมได้ และยังเกี่ยวข้องกับการดิ้นของทารกในครรภ์ที่ลดลงด้วย

 

4. ปริมาณและคุณภาพน้ำนมลดลง

เรามักเรียกกันว่าไตรมาสที่ 4 ช่วงเวลาหลังคลอด ยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการสารอาหารที่ดี หากคุณเลือกที่จะให้นมลูก คุณแม่จะมีความต้องการทางโภชนาการเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมปริมาณน้ำนมของคุณแม่ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าการเผาผลาญของร่างกาย และความต้องการทางโภชนาการของคุณแม่นั้นอาจเปลี่ยนไปหลังคลอดและขณะให้นมบุตร การอดอาหารนานเกินไป การจำกัดแคลอรีมากเกินไป หรือการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมของคุณแม่อย่างมาก และอาจส่งผลต่อส่วนประกอบของน้ำนมแม่ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ทำอย่างไรให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ แต่ดีต่อสุขภาพ!

แทนที่คุณแม่จะอดอาหารหรือเข้มงวดในระหว่างตั้งครรภ์ ให้เน้นการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ คุณแม่ท้องควรตั้งเป้าหมายที่จะบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น 300 แคลอรีในแต่ละวัน และเป็นเพียงส่วนเพิ่มเติมเล็กน้อย และควรมีการจำกัดการบริโภคกาแฟหรือคาเฟอีนที่ 200 มก. ต่อวัน งดแอลกอฮอล์ และอย่าลืมทานวิตามินเสริม อาหารที่คุณแม่ควรรับประทาน

  • นมพร่องมันเนย
  • อาหารที่ไม่ขัดสี
  • ผักและผลไม้ออร์แกนิก
  • โปรตีนไม่ติดมัน

การออกกำลังกายเป็นอีกส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์ที่สุขภาพดี คุณแม่อาจรู้สึกว่าร่างกายขยับได้ยาก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก แต่การขยับร่างกายช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ทั้งยังช่วยให้คลอดได้ง่าย และลดความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอด หากคุณแม่ยังใหม่ต่อการออกกำลังกาย ให้มุ่งเน้นที่การทำกิจกรรมระดับปานกลางประมาณ 30 นาทีในแต่ละวัน เช่น เดิน ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยานโดยอยู่กับที่

 

คุณแม่ต้องรู้ไว้ว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติ และน้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ ลดลงหลังจากคลอดทารก คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เสมอ หากคุณแม่มีคำถามเกี่ยวกับด้านโภชนาการ โดยเฉพาะในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือต้องมุ่งเน้นไปที่การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และรักษาสมดุลของอาหาร ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่มีช่วงเวลาการตั้งครรภ์ที่มีความสุขและสุขภาพดีค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อยู่บ้านก็ผอมได้ ! ทำงานบ้าน ลดน้ำหนัก เผาผลาญแคลอรีไม่ต้องง้อฟิตเนส

อาหารคนท้อง แต่ละไตรมาส คนท้อง ควรกินกี่มื้อ กับข้าวแม่ท้อง กินบำรุงทารก

10 ท่าออกกำลังกายคนท้อง ทุกไตรมาส พร้อมวิธีลดน้ำหนักหลังคลอด

ที่มา : cnet

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kanjana Thammachai