ในช่วงฤดูหนาว โรคไข้หวัดใหญ่มักเป็นตัวการของอันตรายของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และเริ่มมีการระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก เพราะติดต่อกันได้ง่าย ซึ่งอาการของโรคก็อาจแตกต่างกันตั้งแต่อ่อนเพลีย มีน้ำมูกเล็กน้อย จนถึงขั้นเสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้ วันนี้ theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่มาดูกันว่า โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันลูกน้อยอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ
โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากอะไร
โรคไข้หวัดใหญ่ หรือ อาการ ไข้หวัดใหญ่ ใน เด็ก เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดเอ บีและซี โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอนั้นพบได้ในคนและสัตว์ ชนิดบีพบเฉพาะในคน ส่วนชนิดซี มีเกิดการระบาดเฉพาะในวงจำกัดและมีความรุนแรงน้อย
อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็ก เด็ก ๆ จะได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคจะมาจากน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย เมื่อมีการไอ จามทำให้เชื้อ แพร่กระจายในอากาศ แล้วสูดเข้าไปในทางเดินหายใจ หรือไปจับสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เช่น ของเล่น ของใช้ต่าง ๆ แล้วมาแคะจมูก เอามือเข้าปาก ทำให้เชื้อโรคเข้าไปสู่ร่างกายได้
อาการของไข้หวัดใหญ่
อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็ก อาการของไข้หวัดใหญ่จะเกิดได้เมื่อได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายประมาณ 2-3 วัน มักเริ่มจากมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดตามตัว อ่อนเพลีย และต่อมาจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ และอาจมีอาการของระบบร่างกายอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง ร่วมด้วยได้ โดยถ้าเป็นไม่รุนแรงอาจมีอาการแค่ 3-4 วัน แล้วหายได้เอง แต่บางคนอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ได้ค่ะ
อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็ก และผู้ใหญ่แตกต่างกันอย่างไร
อาการของไข้หวัดใหญ่ในเด็กเล็กและผู้ใหญ่ที่แตกต่างกันคือในเด็กเล็กหรือเด็กทารกจะพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาแดงได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่ และในเด็กทารกอาจมีอาการภาวะแทรกซ้อนเช่นปอดอักเสบติดเชื้อที่รุนแรง หรืออาการคล้ายติดเชื้อในกระแสเลือด จนถึงขั้นช็อก และเสียชีวิตได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไข้หวัดใหญ่ สังเกตอาการไข้หวัดใหญ่ พร้อมวิธีป้องกัน ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรค
ทราบได้อย่างไรว่าอาการของลูกคือไข้หวัดใหญ่
อาการ ไข้หวัดใหญ่ ใน เด็ก ถ้าลูกมีอาการคล้ายหวัดแต่มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ไอมากจนหายใจเหนื่อย และอาการเป็นมากขึ้นหรือไม่ดีขึ้นเกิน 5 วัน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจร่างกายและคุณหมออาจพิจารณาส่งตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยวิธีตรวจที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากป้ายหรือดูดสารคัดหลั่งในจมูก หรือคอ ซึ่งจะทราบผลได้ในเวลาประมาณ 30 นาทีว่าเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ และเป็นสายพันธุ์เอ หรือ บี
หากลูกเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ควรให้การดูแลอย่างไร
อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็ก เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าลูกเป็นไข้หวัดใหญ่ คุณหมออาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่หากลูกน้อยอายุไม่ถึง 2 ขวบ เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่และมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต หรือลูกมีโรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น โรคปอด โรคหืด โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือทานยาแอสไพรินติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่ถ้าลูกเป็นเด็กโตที่สุขภาพแข็งแรง ก็ไม่จำเป็นต้องทานยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่เพราะมักมีอาการไม่รุนแรงและมักไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยคุณพ่อคุณแม่อาจดูแลลูกตามอาการโดยให้ทานยาลดไข้ ยาแก้ไอ ล้างจมูก ดูดน้ำมูก ให้นอนพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ รักษาร่างกายให้อบอุ่น และสังเกตอาการที่ต้องไปพบคุณหมอเช่น ซึมลง ทานไม่ได้ ไข้สูง อ่อนเพลียมาก ไอมากจนหอบเหนื่อย เป็นต้นค่ะ
ปกป้องลูกน้อยจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้อย่างไร
ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยแนะนำให้ฉีดเมื่อลูกอายุ 6 เดือนถึง 4 ขวบหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหืด โรคหัวใจ โรคระบบประสาท โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้สูง
อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็ก นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาด ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก ไม่คลุกคลีกับเพื่อนที่ป่วย และหากลูกเป็นไข้หวัดใหญ่ก็ควรจะพักผ่อนอยู่ที่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่เพื่อน ๆ ที่โรงเรียนด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และโควิดในเด็ก ที่พ่อแม่ควรแยกให้ออก
กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดใหญ่
กลุ่มคนที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่มีอันตรายได้ง่าย ซึ่งสมควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
- เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
- ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เช่น
- โรคหอบหืด
- โรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก พิการทางสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปัญญาอ่อน โรคของกล้ามเนื้อและไขสันหลัง ฯลฯ
- โรคปอดเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด
- โรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- โรคเลือด
- โรคเบาหวานและโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนอื่น ๆ
- โรคไต
- โรคตับ
- โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง และได้รับยาสเตอรอยด์หรือยาแอสไพรินต่อเนื่องนาน ๆ จากโรคที่กำลังรักษาอยู่
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่ติดต่อจากการสัมผัส หรืออยู่ท่ามกลางเชื้อไวรัส เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตอาการลูกบ่อย ๆ ไม่ควรให้ลูกเข้าไปคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วย และควรให้ลูกหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันโรคร้ายดังกล่าว และเพื่อความปลอดภัยของลูก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ดีอย่างไร ใครบ้างที่ควรฉีด และต้องฉีดบ่อยแค่ไหน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับแม่ตั้งครรภ์ วัคซีนสำคัญกับเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรฉีด
เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง
ที่มา : Bumrungrad, Mamastory.net