OPD คือ อะไร opdย่อมาจาก IPD ย่อมาจาก อะไร ทำไมโรงพยาบาล หรือ ประกันชอบใช้ตัวย่อนี้ สำคัญต่อเราอย่างไร วันนี้ theAsianparent นำข้อมูลและความแตกต่างของ IPD มาฝาก ไปดูกันเลย
OPD คืออะไร
opd คือ OPD (Out-Patient-Department) คือผู้ป่วยนอก เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกับผู้ป่วยที่เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัว ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดหัว ท้องเสีย หกล้ม อาการแพ้ ผื่นคัน ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาเมื่อเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้เลย หากใครที่รู้ตัวว่าไม่ค่อยป่วยมักจะเลือกซื้อประกันประเภทนี้ เนื่องจากไม่ต้องสำรองจ่าย ค่าปรึกษาแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่ายา
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นอย่างไร รุนแรงแค่ไหน ประกันครอบคลุมหรือไม่
IPD คืออะไร
IPD ย่อมาจาก (In-Patient-Department) คือ ผู้ป่วยใน เป็นศัพท์ที่ใช้เรียนผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล ติดต่อกันนาน 6 ชั่วโมง และได้มีการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมทำประกันสุขภาพประเภทนี้ เนื่องจากครอบคลุมทุกค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าผ่าตัด ค่าตรวจ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และส่วนใหญ่ผู้ที่ทำประกันประเภทนี้มักจะเป็นเด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโอกาสเจ็บป่วยได้มากกว่า
เจ้าหน้าที่ตำแหน่ง OPD คืออะไร
opd คือ เจ้าหน้าที่ตำแหน่งนี้คือคนที่รับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยปกติที่ไม่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือฉุกเฉิน เป็นการรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัว
แผนกนี้ทำอะไรบ้าง ?
- กระบวนการคัดกรอง คัดแยก ทำหน้าที่ประเมินสภาวะของผู้ป่วยเบื้องต้น เพื่อคัดแยก และส่งตัวเข้ารับการรักษา
- หากผู้ป่วยมีอาการฉุกเฉิน จะส่งไปยังหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อรับการตรวจทันที
- หากผู้ป่วยมีอาการเร่งด่วน จะส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาภายใน 15 – 30 นาที
- ผู้ป่วยที่มีอาการไม่เร่งด่วน จะใช้เวลาในการตรวจรักษาประมาณ 30 – 60 นาที
- ผู้ป่วยมีนัดเจาะเลือด หรือนัดพิเศษ เมื่อติดต่อทะเบียนแล้ว สามารถเข้ารับการตรวจได้เลย
- กระบวนการเวชระเบียน เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกข้อมูล และตรวจสอบสิทธิ์เบื้องต้นตามบัตรประชาชน หรือสิทธิ์ต่าง ๆ
- กระบวนการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก กลุ่มงานผู้ป่วยนอกจะทำหน้าที่บริการตรวจรักษา ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ส่งตรวจ หรือ ส่งตรวจพิเศษ รับยากลับบ้าน นัดตรวจติดตามผลการรักษา โดยมีกระบวนการปฎิบัติการ ดังนี้ :
- ประเมินอาการ สภาวะผู้ป่วยก่อนพบแพทย์ วัดชีพจร ชั่งน้ำหนักส่วนสูง
- ซักประวัติ บันทึกอาการเบื้องต้น
- ติดตามผลการตรวจ จัดคิวห้องตรวจตามลำดับก่อนหลัง สังเกตอาการ
- แพทย์ตรวจวินิจฉัยและสั่งการรักษา ส่งผู้ป่วยตรวจต่างแผนก ให้คำแนะนำ จัดเตรียมประวัติและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือส่งตรวจรังสีวินิจฉัยตามคำสั่งแพทย์
- ตรวจสอบใบคำร้อง ตรวจสอบการใช้สิทธิ์ นำส่งผู้ป่วย
- นัดตรวจครั้งต่อไป ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ชำระเงิน รับยากลับบ้าน
บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 10 ประกันสุขภาพลูกน้อย 2564 ประกันสุขภาพเด็ก แบบไหนดี?
ER คืออะไร
ER (Emergency room) คือห้องฉุกเฉิน เป็นห้องที่รับตรวจโรคที่มีอาการฉุกเฉิน ต้องการความช่วยเหลือด่วน โดยปกติห้องฉุกเฉินจะอยู่หน้าโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารักษาได้ทันที เช่น ตกเลือด หมดสติ หรือได้รับบาดเจ็บรุนแรง แพทย์จะทำการรักษาตามความรุนแรง โดยจะประเมินคร่าว ๆ ว่าแบบไหนรุนแรงกว่า สำหรับกรณีเลือดไหลผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดแผล ซึ่งหากเป็นอุบัติเหตุรุนแรงก็จะต้องรักษาทันที เพื่อไม่ให้เกิดภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก และในกรณีที่เข้ารักษาในห้องฉุกเฉิน ไม่ต้องรอยื่นบัตรรอคิว ก็สามารถเข้าตรวจรักษาได้ทันที แต่ต้องเป็นกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
ER_ACC คืออะไร
เป็นค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่ปรากฏอยู่ในบัตรประกัน เป็นการจ่ายค่ารักษาภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ การเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงการเข้ารักษาต่อเนื่องของคนไข้นอก ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับอุบัติเหตุ
ER_ACC WEC/IVR คืออะไร
โรงพยาบาลและคลินิก สามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์ผ่านทางโทรศัพท์ (IVR) และ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านทางระบบเว็บไซต์ได้ (WEC)
บทความที่คุณอาจจะสนใจ :
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นอย่างไร ได้อะไรบ้าง?
อยากทำประกันสุขภาพให้ลูก เลือกทำประกันสุขภาพเด็กแบบไหนดี ประกันแบบไหนคุ้มที่สุด
มะเร็งมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง คุ้มครองอะไรได้บ้าง
ที่มา : muangthaiinsurance,2