ขายอวัยวะ ขายตับขายไต ขายได้มั้ย ขายอะไรได้บ้าง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขายตับ ขายไต ขายอวัยวะ เป็นคำพูดที่หลาย ๆ คนมักพูด เมื่ออยู่ในประโยค หรือสถานการณ์ ที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ๆ แล้วมันขายได้จริงรึเปล่า ? แล้วขายอะไรได้บ้าง ? ขายแล้วได้เท่าไหร่ ? ฟังดูน่าสนใจไม่ใช่น้อย วันนี้เราจะพาไปดูการขายอวัยวะกัน ว่ามีจริงหรือไม่

 

ต้องบอกก่อนว่า การขายอวัยวะ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ต่างจากการบริจาคอวัยวะ อย่างสิ้นเชิง แน่นอนว่า ทุกอวัยวะของเรา มีค่า ทั้งในด้านการใช้งาน หรือแม้แต่จะขาย ก็มีค่า วันนี้เราจะพาไปเปิดราคา อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายกัน

 

ขายอวัยวะ ขายได้จริงหรือไม่ ?

 

ราคาอวัยวะในตลาดมืด

  1. ปอด ราคาประมาณ 9,248,000 บาท
  2. ไต ราคาประมาณ 4,715,000 บาท
  3. ตับ ราคาประมาณ 4,658,000 บาท
  4. กระจกตา ราคาประมาณ 673,000 บาท
  5. โครงกระดูก ราคาประมาณ 224,000 บาท
  6. กระดูกชิ้น และเอ็น ราคาประมาณ 163,000 บาท
  7. เลือด 1 ลิตร ราคาประมาณ 21,420 บาท
  8. ผิวหนัง ราคาต่อตารางนิ้ว ประมาณ 270 บาท

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่อย่างที่บอกไปว่า การขายอวัยวะ เป็นเรื่อง “ผิดกฎหมาย” ไม่สามารถทำได้ทั่วไป โดยปกติแล้ว การขายอวัยวะ มักทำกันในตลาดมืด ซื้อ - ขายกัน อย่างผิดกฎหมาย และต้องบอกว่าการขายอวัยวะ เป็นเรื่องที่น่ากลัว และอันตรายมาก เพราะ ไม่ได้ทำการผ่าตัดโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และไม่มีอะไร การันตีได้เลยว่า จะเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือ ความอันตรายถึงชีวิต หรือไม่

 

ต่อไป เราจะพาไปดูว่า หากร่างกายของเรา ขาดอวัยวะไป จะสามารถดำเนินชีวิตได้หรือไม่ และจะมีความเปลี่ยนแปลง ไปมากน้อยแค่ไหน

 

ขายอวัยวะ ได้จริงหรือไม่ ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

มีไตข้างเดียวสามารถอยู่ได้มั้ย ?

คำตอบคือ สามารถอยู่ได้ 

หากเรามีสุขภาพที่แข็งแรง การเสียไตไป 1 ข้าง ไม่มีผลกระทบอะไรกับชีวิต เราจะยังคงสามารถทำงาน ได้ตามปกติ การมีไตข้างเดียว จะยังคงสามารถรับภาระ ในการกำจัดของเสีย และน้ำส่วนเกิน หรือแม้แต่ทำหน้าที่อื่น ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากพออยู่แล้ว และการเหลือไตข้างเดียว ก็ไม่ได้มีผลกับโรคไต ที่อาจตามมาในภายหลังได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีข้อมูล จากวารสารในต่างประเทศ ทำการศึกษาไว้ว่า พบผู้ที่ทำการบริจาคไต มีอายุยืนยาว ไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วไป ที่มีไตสองข้าง แต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าจะมีไตข้างเดียว หรือสองข้าง หากเราดูแลตัวเองได้ดีพอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพียงเท่านี้ ก็สามาถมีอายุยืนยาวได้

 

มีปอดข้างเดียวสามารถอยู่ได้มั้ย ?

คำตอบ คือ สามารถอยู่ได้

แพทย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ ได้กล่าวเอาไว้ว่า ปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญของคนเรา ในการดำรงชีวิต และเราจำเป็นต้องมีปอดที่เพียงพอ สำหรับการนำออกซิเจน ไม่ให้ต่ำจนเกินไป แต่ที่จริงแล้ว ปอดของคนเรา มีมากเกินไป จึงสามารถทำการตัดออกได้บางส่วน ถ้าปอดของเรา สามารถทำงานได้ดี เต็มประสิทธิภาพอยู่ การตัดออกไปหนึ่งข้าง ก็ยังคงสามารถดำรงชีวิต อยู่ได้โดยไม่เป็นอะไร

 

“ปกติ คนที่ร่างกายแข็งแรง ออกกำลังกายเต็มที่ เหนื่อยเต็มที่ ก็ยังเหลือปอดส่วนที่ยังไม่ทำงานอีก 10% แต่ตัวที่กำหนด ให้เราทำงานเต็มที่ อยู่ที่หัวใจมากกว่า คนเราจะเหนื่อย ที่หัวใจกำลังทำงานถึงขีดสุด ดังนั้นถ้าตัดปอดออกไป แล้วที่เหลือทำงานแค่ 50% คนเราก็จะยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ตามปกติ ออกซิเจนไม่ต่ำ แต่อาจทำงานหนัก หรือออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ไหว ถ้าปอดที่หลงเหลืออยู่ สามารถทำงานได้ อย่างเพียงพอ ปอดข้างเดียวก็สามารถอยู่ได้” ร.ศ.นพ. ฉันชาย ได้ทำการ กล่าวเอาไว้

 

ขายอวัยวะ ขายตับ ขายไต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เสียเลือดเป็นลิตรจะเป็นไรมั้ย ?

คำตอบ คือ เป็น และ อันตราย

ปริมาณเลือด ในร่างกายของคนเรา อยู่ที่ประมาณ 5000 cc. (5 ลิตร) ถ้าเราเสียเลือดไปประมาณ 10% ของร่างกาย หรือ เท่ากับ 500 cc. เราจะอยู่ในระยะ เกือบช็อค และถ้าเราเสียเลือดไป 20% ของร่างกาย หรือ 1,000 cc. เราจะช็อคนั่นเอง

 

คงไม่ต้องพูดถึง เรื่องการ ขายอวัยวะ อื่น ๆ ที่ไม่ได้ถูกพูดถึง เพราะหากคิดจะขาย ก็เท่ากับแลกชีวิตกันเลยแหละ และจะยังคงย้ำชัดว่า การขายอวัยวะ “เป็นเรื่องผิดกฎหมาย” ไม่สามารถกระทำได้นั่นเอง ทั้งนี้ ทางเรารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาให้ เพื่อเป็นความรู้รอบตัว และศึกษาเพื่อความบันเทิง เท่านั้น

ที่มาข้อมูล : mgronline , matichon
บทความที่น่าสนใจ :

การบริจาคอวัยวะ การให้ที่ยิ่งใหญ่ ต่อลมหายใจได้มากถึง 8 ชีวิต

บริจาคร่างกาย ขั้นตอนสู่การเป็น "อาจารย์ใหญ่" ผู้ให้ กับกุศลอันยิ่งใหญ่

บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันยังไง มีวิธีการ ขั้นตอนยังไงบ้าง ?

บทความโดย

Waristha Chaithongdee