รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่ ว่าด้วยเรื่อง “น้ำนม”

รวมคำถามคาใจของคุณแม่มือใหม่เกี่ยวกับน้ำนมแม่ อุ่นนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ พร้อมเคล็ดลับการเก็บนมแม่ที่จะทำให้สารอาหารในนมแม่ยังมีอยู่อย่างครบถ้วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณแม่มือใหม่ คงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการจัดเก็บและวิธีนำนมที่สต็อกไว้มาใช้ เพื่อคลายความสงสัยและความกังวล เราจะไปหาคำตอบของคำถามเกี่ยวกับเรื่องนม ๆ ของคุณแม่มือใหม่กันค่ะ

นมแม่แช่แข็ง สารอาหารยังดีเหมือนเดิมไหม?

เรื่องนี้เป็นคำถามฮิตที่คุณแม่ทุกคนสงสัยและอาจจะเคยถามคุณหมอมาบ้าง ซึ่งก็ได้มีการศึกษาวิจัยแล้วพบว่า นมแม่ที่เก็บไว้ในตู้เย็น จะมีคุณสมบัติไม่ดีเท่ากับนมแม่สดใหม่จากเต้า แต่ก็ยังมีประโยชน์มากกว่านมอื่น ๆ เพราะยังมีเซลล์เม็ดเลือดขาว สารภูมิคุ้มกัน เอ็นไซม์ ฮอร์โมน สารต้านมะเร็ง ซึ่งยังทำงานได้เป็นอย่างดี 

อย่างที่ทราบกันดีว่า นมแม่ โดยเฉพาะระยะที่เป็น “น้ำนมเหลือง” นั้นมีสารอาหารสมบูรณ์ที่สุด และมีสารอาหารสำคัญอย่าง แลคโตเฟอร์ริน และ MFGM โดยแลคโตเฟอร์รินมีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และกำจัดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสก่อโรคให้กับลูก ส่วน MFGM มีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมการสร้างเซลล์สมอง และช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ที่เหนือกว่า

หากคุณแม่นำ น้ำนมเหลือง ไปแช่แข็ง ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะสารอาหารในน้ำนมแม่ยังคงมีอยู่ในน้ำนมแม่แช่แข็งและเพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย

นมแม่ปั๊มเสร็จจัดเก็บอย่างไร?

หลังจากคุณแม่ปั๊มนมแล้ว สามารถวางนมทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25 ° C) ได้ในระยะเวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมงค่ะ หากอยากจะเก็บน้ำนม คุณแม่ควรชิมทุกครั้ง ถ้ามีรสเปรี้ยวให้ทิ้งไปอย่าเสียดาย ลูกท้องเสียมาจะไม่คุ้มค่ะ เมื่อเก็บนมลงในถุงเก็บน้ำนมแล้ว ก็อย่าลืมเขียนวันที่ระบุไว้ จะได้เลือกนำมาให้ลูกดื่มถูกค่ะ

นมแม่เก็บได้นานสุดกี่เดือน?

นมแม่จะเก็บได้นานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บค่ะ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เก็บน้ำนมที่ตู้แช่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 1 ปี 
  • เก็บที่ช่องแช่แข็งของตู้เย็น 2 ประตู เก็บได้นาน 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับการเปิด – ปิดบ่อยหรือไม่ และมีการเก็บร่วมกับอาหารอื่นหรือไม่
  • เก็บที่ช่องแช่แข็งของตู้เย็นประตูเดียว เก็บได้นาน 1 – 3 เดือน ขึ้นกับการเปิด – ปิดบ่อยหรือไม่ และมีการเก็บร่วมกับอาหารอื่นหรือไม่
  • เก็บที่ช่องน้ำเย็นตั้งแต่แรกปั๊ม แต่ไม่ใช่ที่ฝาประตู เก็บได้นาน 7 วัน
  • เก็บที่ห้องแอร์ตั้งแต่แรกปั๊ม เก็บได้นาน 12 ชม. 
  • ถ้าเอานมแช่เย็นออกจากตู้เย็นมาวางที่ห้องแอร์หรือกระเป๋าเก็บความเย็น เก็บได้นาน  8 ชม. แต่ถ้าลูกดื่มแล้ว จะเก็บได้นาน 4 ชม.
  • ถ้าย้ายนมแช่แข็งออกมาจากช่องฟรีซลงมาที่ช่องน้ำเย็น อยู่ได้อีก 24 ชม.

แต่ก่อนจะให้ลูกดื่มนมที่ละลายมา ควรชิมทุกครั้ง ถ้าไม่เปรี้ยว แต่มีเหม็นหืนเล็กน้อย สามารถให้ลูกกินได้ค่ะ

อุ่นนมอย่างไรให้ปลอดภัยและได้สารอาหารครบ

ที่ นมแม่ เปรียบเสมือนวัคซีนจากอกแม่สู่ลูกน้อย ก็เพราะมีสารอาหารสำคัญตามที่บอกไปข้างต้น หากคุณแม่อุ่นนมแม่ในอุณหภูมิสูงเกินไปจะส่งผลให้สารอาหารนานาที่เป็นประโยชน์กับลูกในนมแม่หายไป มาดูกันว่า วิธีอุ่นนมแม่ควรทำอย่างไรให้สารอาหารยังคงอยู่

  • วิธีอุ่นนมแม่  วิธีอุ่นนมแม่ที่แช่ตู้เย็น
    • นำถุงเก็บน้ำนมแม่ออกจากตู้เย็นแล้วพักไว้
    • นำน้ำร้อนที่ต้มด้วยกา หรือว่าอุ่นจากไมโครเวฟ เทใส่ถ้วย หรือชาม
    • วางถุงเก็บน้ำนมแม่ในถ้วยน้ำอุ่น
    • ทิ้งนมแม่ไว้ในถ้วยน้ำอุ่น ประมาณ 1-2 นาที
    • นำมือค่อย ๆ ดันน้ำนมแม่ออกจากถุงใส่ขวดนม
    • หมุนขวดนมให้นมผสมกัน ห้ามเขย่าเด็ดขาด

จากนั้น หยดน้ำนมลงที่มือเพื่อทดสอบอุณหภูมิ อย่าให้น้ำนมมีอุณหภูมิที่ร้อนเกินไป เพราะอาจจะลวกลูกน้อยได้ค่ะ

  • วิธีอุ่นนมแม่จากช่องแช่แข็ง
    • ให้นำนมแม่ออกจากช่องแช่แข็ง
    • จากนั้นนำไปแช่ในช่องแช่เย็นในตู้เย็นปกติ
    • แล้วทำเหมือนวิธีอุ่นนมแม่ที่แช่ในตู้เย็น ตามข้างบน
    • หากคุณแม่ต้องการอุ่นนมให้ลูกกินเลย แนะนำให้นำนมมาแช่ในน้ำร้อน ประมาณ 10-15 นาที หรือนานกว่านั้น
    • จากนั้นก็เทนมใส่ขวด แล้วค่อย ๆ คนให้เข้ากัน

สามารถอุ่นนมแม่ในไมโครเวฟได้ไหม?

เรียกว่าเป็นเรื่องที่คุณแม่ยุคใหม่สงสัยหนักมาก คำตอบก็คือ ไม่แนะนำให้นำนมแม่อุ่นในไมโครเวฟค่ะ เนื่องจากความร้อนในไมโครเวฟไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดการไหม้บางจุดได้ อีกทั้งยังทำลาย แลคโตเฟอร์ริน MFGM แบคทีเรียดี วิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ ในน้ำนมแม่ด้วยค่ะ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จำเป็นต้องใช้ที่อุ่นขวดนมหรือไม่?

สำหรับที่อุ่นขวดนม เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการอุ่นนมโดยเฉพาะ มีการใช้ความร้อนที่สม่ำเสมอไม่เหมือนกับไมโครเวฟ ประหยัดเวลา แต่คุณแม่ต้องระวังไม่ให้อุณหภูมิขณะอุ่นสูงเกินไป เพราะจะทำลายสารอาหารในนมแม่ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณแม่เก็บนมไว้มากกว่า 1 ปี น้ำนมแม่จะเริ่มเป็นกรดมากขึ้น ทำให้สารอาหารบางอย่าลดลงหรือหายไป ดังนั้นเมื่อน้ำนมที่เก็บไว้นานเกิน 1 ปี คุณแม่ก็ไม่ควรให้ลูกดื่มนะคะ 

ทำอย่างไรกับนมแม่ที่เก็บไว้นานเกินไป?

คุณแม่ทีมีน้ำนมที่เก็บไว้นานเกินไป สามารถนำไปรักษาสิว บำรุง และทำความสะอาดผิวหน้าได้ค่ะ เพียงใช้สำลีชุบน้ำนมแม่แต้มให้ทั่วใบหน้า หรือใช้มาสก์ชีตแช่ในน้ำนมแม่ แล้วนำไปมาสก์หน้า ก็ช่วยให้ผิวหน้านุ่มนวล หรือใช้เช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางที่เปลือกตาก็ได้ค่ะ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพื่อให้ลูกยังคงได้รับสารอาหารจากนมแม่อย่างครบถ้วน คุณแม่ควรให้ลูกกินนมที่ไม่นานเกิน 1 ปี นะคะ อย่าลืมว่า นมแม่ คือ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย การดูแลให้ลูกได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอ ถือเป็นการมอบวัคซีนที่ดีที่สุดจากอกแม่สู่ลูกน้อยนะคะ

 

ที่มา: healthline.comfacebook.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

7 ประโยชน์ที่ยกให้ “นมแม่” ชนะเลิศ

มัดรวมประโยชน์ของ “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารยืนหนึ่ง เรื่องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก

5 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกรักด้วยวิธีธรรมชาติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

threenuch