ยา พาราเซตามอล ชนิดน้ำมีกี่แบบ? ยา พาราเซตามอล ชนิดน้ำ ในท้องตลาด มีขนาดต่างๆ จากความเข้มข้นมากไปน้อย วิธีการคำนวณยา ยาพาราเซตามอลวิธีใช้ ดังนี้ค่ะ
1. ชนิดบรรจุให้ดูดด้วยหลอดหยด (ดรอป) จะมีความเข้มข้น 60 มิลลิกรัม ต่อยา 0.6 ซีซี
2. ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี
3. ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี
(ปริมาณยา 5 ซีซี เท่ากับ 1 ช้อนชาค่ะ)
ขนาดของยาพาราเซตามอลที่เหมาะสมสำหรับเด็กเป็นเท่าไร? ยาพาราเซตามอลวิธีใช้
ขนาดของยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กจะคิดตามน้ำหนักตัวค่ะ คือตั้งแต่ 10-15 มิลลิกรัมของยา ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ทานได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่แนะนำว่าไม่ควรทานเกินวันละ 5 ครั้งค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น น้องเอ หนัก 10 กิโลกรัม ก็ควรทานยาครั้งละ 100-150 มิลลิกรัม ค่ะ เราคำนวณปริมาณยาที่ควรทานแต่ละครั้งโดยเทียบบัญญัติไตรยางค์ได้ดังนี้นะคะ
– ถ้าเลือกใช้ยาชนิดดรอป ก็ควรทานครั้งละ 1-1.5 ซีซี
– ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละ 2-3 ซีซี
– ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละ 4.2-6.25 ซีซี
วิธีใช้ยาพาราเซตามอลในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็กอย่างง่ายๆคิดอย่างไร? วิธีการคำนวณยา
ไม่ต้องกังวลนะคะว่าเราจะต้องคำนวณยุ่งยากกันทุกครั้งที่จะให้ลูกกินพาราเซตามอลน้ำ หมอขอแนะนำสูตรง่ายๆในการคิด ดังนี้ค่ะ
– ถ้าเลือกใช้ยาชนิดดรอป ก็ทานครั้งละเท่ากับ น้ำหนักของเด็ก หารด้วย 10 เป็น ซีซี
– ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละเท่ากับ น้ำหนักเด็กหารด้วย 4 เป็น ซีซี
– ถ้าใช้ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ทานครั้งละ เท่ากับ น้ำหนักเด็ก หารด้วย 2 เป็น ซีซี
เช่น ตามตัวอย่าง น้องเอ หนัก 10 กิโลกรัม ก็ควรทานยาดังนี้ ได้เลยค่ะ
– ชนิดดรอป ก็ทานครั้งละเท่ากับ 10 หารด้วย 10 ได้ 1 ซีซี
– ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละเท่ากับ 10 หารด้วย 4 ได้ 2.5 ซีซี หรือครึ่งช้อนชา
– ชนิดทานด้วยช้อน แบบความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี ก็ควรทานครั้งละเท่ากับ 10 หารด้วย 2 ได้ 5 ซีซี หรือหนึ่งช้อนชา
ในเด็กเล็กมากๆเช่นวัยทารก เราจะนิยมใช้แบบดรอป เพราะมีความเข้มข้นของยามากที่สุด จึงใช้ยาปริมาณไม่มากในการป้อนหนึ่งครั้ง
นอกจากนี้ สลากยาข้างขวด มักมีปริมาณยาที่ควรทานตามอายุเด็ก ซึ่งเค้ามักจะคำนวณตามน้ำหนักตัวมาตรฐานของเด็กแต่ละวัยมาเรียบร้อยแล้ว จึงอาจสามารถทานตามนั้นได้ ถ้าลูกมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ
ข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอล
เราไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอลติดต่อกันหลายวัน และไม่จำเป็นต้องทานทุกครั้งที่มีไข้ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงต่อตับได้ หากเด็กมีไข้ต่ำๆ ไม่เกิน 38.5 องศาเซลเซียส หมอขอแนะนำให้เช็ดตัวลดไข้ก่อนเพราะไข้อาจลดได้โดยไม่ต้องใช้ยาค่ะ และหากมีไข้ติดต่อกันเกิน 3 วัน ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาตามสาเหตุนะคะ
บทความที่น่าสนใจ : ลูกนอนหายใจทางปาก ทารกชอบนอนอ้าปาก หายใจทางปากอันตรายไหม ลูกป่วยหรือเปล่า
การเก็บรักษายา
การที่เราทุกคนป่วยหรือไม่สบาย หนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เราหายและกลับมามีร่างกายที่แข็งแรงเป็นปกติ นั่นคือการทานยา เพราะยาถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาโรคให้เราได้ดีมาก มากด้วยสรรพคุณต่าง ๆ ที่เราไม่อาจมองข้ามมันไปได้ แน่นอนว่าการที่เรานำยาชนิดต่าง ๆ มารักษานั้น ถ้าเราไม่รู้จักวิธีการเก็บรักษา หรือทำความเข้าใจก่อนนำมาใช้ สิ่งเหล่านี้ก็สามารถส่งผลอันตรายหรือเป็นโทษต่อร่างกายเราได้เช่นกัน
บทความที่น่าสนใจ : ระวัง! พ่อแม่ใช้ยาผิด ลูกตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิต ห้ามทำพลาดเด็ดขาด
วิธีการเก็บรักษายา
สิ่งของจำเป็นภายในบ้านที่หลายบ้านควรมี นั่นคือ “ยาสามัญประจำบ้าน” เพราะเป็นสิ่งสำคัญและช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ให้กับคนในครอบครัวเราได้เป็นอย่างดี ส่วนวิธีการเก็บรักษาจะเป็นยังไงกันบ้างนั้น มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลยดีกว่า
1. จัดยาประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน
การที่เราจัดยาประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันสิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้เราหาได้ง่าย ที่สำคัญยังช่วยป้องกันการนำยามารักษาผิดประเภทอีกด้วย เพราะคนในครอบครัวเราบางคนอาจจะมองเห็นฉลากยาไม่ชัดเจน หรือตรงฉลากอาจตัวเล็ก ทำให้อ่านได้ยาก ดังนั้นการที่เรานำยาประเภทเดียวกันมาไว้ด้วยกันก็อาจจะทำให้คนในบ้านหายาได้ง่ายขึ้น
2. ปิดฝาให้สนิททุกครั้ง และเก็บให้พ้นจากมือเด็ก
อีกหนึ่งข้อที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะการใช้ยาในแต่ละครั้งเราควรปิดฝาให้สนิท แน่นอนว่าถ้าเราเปิดฝาทิ้งไว้ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว อากาศหรือสิ่งต่าง ๆ ก็จะเข้าไปทำให้ยาที่เราใช้อยู่บ่อย ๆ เกิดการเสื่อมภาพและอาจส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอีกด้วย ที่สำคัญเราควรเก็บให้พ้นมือเด็ก โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีเด็กเล็กวัยกำลังอยากเรียนรู้ เราก็อาจจะต้องเก็บไว้ในที่ที่สูงขึ้นมาหน่อย เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อลูกของเรานั่นเอง
3. ตรวจสอบวันหมดอายุของยา
ก่อนที่เราจะใช้ยาทุกครั้งจะต้องมีการตรวจและเช็ควันหมดอายุให้ดีก่อน เพราะเมื่อไหร่ที่เรากินยาหมดอายุเข้าไปสิ่งนี้ก็อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายให้กับคนในบ้านของเราตามไปด้วย ดังนั้นเราก็อาจจต้องหมั่นตรวจหรือเช็คยาสามัญประจำบ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อที่คนในบ้านเราจะได้ปลอดภัย และถ้ายาตัวไหนหมดอายุหรือไม่สามารถกินต่อได้ เราก็สามารถนำไปทิ้งได้เลย
4. อุณหภูมิในการเก็บรักษา
การที่เราจะเก็บรักษายาชนิดต่าง ๆ ให้อยู่ได้นานนั้น เรื่องของอุณภูมิก็มีส่วน เพราะยาบางตัวถ้าเราเก็บในอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ยาของเราเสื่อมสภาพและมีประสิทธิภาพที่ลดลงได้ ดังนั้นเราควรเก็บในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ควรที่จะเก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียสนั่นเอง เพื่อเราจะได้ใช้นานตามวันและเวลากำหนด หรือยาจะได้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคให้กับเราและคนในครอบครัวได้
5. ควรแยกยาที่ใช้ภายนอกกับภายในออกจากกัน
เป็นอีกหนึ่งข้อที่สำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะใครที่ชอบวางยาชนิดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน ควรต้องรีบแยกประเภทกันโดยด่วน สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นยาเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นยาคนละประเภทเราก็ควรแยกออกจากกันอยู่ดี เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของคนในบ้าน เราก็อาจจะแบ่งเป็นโซนสำหรับยาสามัญประจำบ้าน โดยแบ่งแต่ละชั้นว่ายาตัวไหนสำหรับใช้อะไร หรือช่วยรักษาในเรื่องใดนั่นเอง
6. เก็บให้พ้นแสงแดด
การเก็บรักษาที่ดีไม่ควรเก็บในที่ที่มีแสงแดด หรือแดดส่องถึงเพราะสิ่งนี้อาจทำให้ยาของเราเสื่อมสภาพเอาได้ง่าย ๆ ที่สำคัญไม่ควรที่จะเก็บไว้บริเวณห้องครัว หรือห้องน้ำ ควรเก็บไว้ในที่ที่เหมาะสมและมีอุณหภูมิพอเหมาะแก่การรักษา และถ้าใครที่ทำเช่นนี้อยู่เป็นประจำ เราก็จะเก็บยาไว้ได้นานอีกด้วย
7. เมื่อเก็บยาไว้ในอุณหภูมิที่เย็น
ยาประเภทที่เราต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิเย็น ๆ เราก็อาจจะต้องมีการแบ่งประเภทให้ชัดเจน ไม่ควรที่จะเก็บไว้ด้วยกันกับช่องอาหาร หรือช่องแช่ผัก เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายและไม่ทำให้อาหารหรือของในตู้เย็นเกิดความเสียหายด้วยนั่นเอง
การเก็บรักษายาชนิดน้ำ
ยาประเภทน้ำก็ถือเป็นยาอีกหนึ่งประเภทที่เราควรใส่ใจ ในการดูแลและเก็บรักษา โดยมีขั้นตอนวิธีการเก็บรักษาดังนี้
1. ควรเก็บในอุณหภูมิที่มากกว่า 25 องศาเซลเซียส
ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวจึงอาจจะเป็นเรื่องยากที่เราจะเก็บยาไว้มุมใดมุมหนึ่งของบ้าน ดังนั้นเราก็อาจจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อปกป้องกันการเสื่อมสภาพของยา
2. เก็บให้พ้นมือเด็ก
มาต่อกันอีกข้อการเก็บรักษาในแต่ละครั้งเราจะต้องเก็บรักษาให้พ้นมือลูก เพื่อที่จะได้ไม่เป็นอันตราย โดยเฉพาะใครที่กำลังมีลูกอยู่ในช่วงวัยกำลังอยากเรียนรู้ เรายิ่งต้องระวังเพราะด้วยความที่เป็นเด็กเขาก็อาจจะอยากลองอะไรที่แปลกใหม่ หรืออยากลองในสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะฉะนั้นเราควรต้องเก็บให้ดีและเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. สังเกตลักษณะของยา
ก่อนนำยามาใช้ทุกครั้งเราควรจะต้องสังเกตลักษณะต่างๆ รวมถึงกลิ่นและรสชาติของยาชนิดนั้น ๆ ด้วยว่ามีกลิ่น สี หรือรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า และถ้าเมื่อไหร่ที่ยามีรสชาติที่เปลี่ยนไปหรือเวลาเขย่ายาตัวนั้นเกิดการขุ่นและมีตะกอน ให้นำทิ้งโดยทันที
ใครที่ลูกกำลังป่วย หรือไม่สบายก่อนที่คุณแม่จะนำยามาให้ลูกกินนั้นเราก็ควรจะต้องดูดี ๆ อ่านฉลากและดูวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง เพื่อที่ลูกของเราจะได้ไม่เป็นอันตราย และนอกจากการรักษาแล้วเรื่องของการเก็บรักษาก็เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่หลายคนควรใส่ใจเช่นกัน เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่รู้จักวิธีการเก็บรักษา หรือนำยาที่หมดอายุแล้วมาให้ลูกกินสิ่งนี้ก็อาจส่งผลอันตรายต่อลูกของเราได้ไม่น้อยเลยล่ะ
บทความที่น่าสนใจ : ลูกน้ำหนักน้อยและตัวผอม ควรให้ ลูกทานยาถ่ายพยาธิ หรือไม่?
ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร
ท้องผูก ขับถ่ายยาก ปรับสุขภาพด้วย ซินไบโอติก
ที่มา : siphhospital, mamaexpert, posttoday