วิธีสอนให้ลูกน้อยเลิกขว้างสิ่งของ

ลูกคุณชอบขว้างสิ่งของตลอดเวลาหรือไม่? ทำไมลูกถึงทำเช่นนั้น? เราจะหยุดเขายังไงดี? ลองดูวิธีที่จะช่วยคุณสอนลูกไม่ให้ขว้างสิ่งของในบทความนี้สิ...

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสอนให้ลูกน้อยเลิกขว้างสิ่งของ

พ่อแม่ต่างก็ตื่นเต้นกับอะไรที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกกันทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าจะเป็น ฟันซี่แรก คำแรกที่ลูกพูดได้ ก้าวแรกที่ลูกก้าว และเหตุการณ์สำคัญ ๆ ครั้งแรกในชีวิตลูก ดังนั้น คุณอาจคิดว่าครั้งแรกที่ลูกค้นพบแรงโน้มถ่วงและการเคลื่อนที่เป็นครั้งแรก คุณก็คงตื่นเต้นด้วยเช่นกัน ใช่มั้ยล่ะ? เมื่อเราใช้คำเหล่านั้นพูดถึงลูกคุณ มันทำให้รู้สึกเหมือนเรากำลังพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อย่างไอน์สไตน์เลยทีเดียว ดังนั้น คุณก็ย่อมตื่นเต้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยเป็นธรรมดา

แต่เมื่อความตื่นเต้นนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณรู้สึกว่ามันควรจะเป็น แต่กลับเป็นว่าคุณต้องลูบหัวของคุณเพราะสิ่งของถูกโยนมาที่หัวของคุณหรือพุ่งมาที่ตาคุณและไปตกที่ประตู ก็นั่นไง การเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วง ก็คือการขว้างสิ่งของออกไปและดูมันตกลงบนพื้นนั่นเอง แล้วคุณไม่คิดหรือว่าลูกน้อยของคุณจะชอบทำอย่างนั้น?

ทำไมเด็กเล็กถึงชอบขว้างสิ่งของ?

เด็กอายุราว 6-8 เดือนจะเริ่มมีความสามารถปล่อยสิ่งของลงบนพื้น หรือแม้กระทั่งโยนสิ่งของด้วย ในสายตาของลูก สิ่งของอย่างจุกนมปลอม ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ หรือแม้กระทั่งขวดนมหรืออาหาร ก็สามารถเป็นสิ่งของที่เขาจะทดลองขว้างแบบโปรเจคไตล์ได้ แล้วทำไมลูกทำเช่นนั้นล่ะ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เราตอบคำถามว่า “ทำไม” ลูกถึงทำเช่นนั้นได้ง่าย ๆ นั่นคือ ก็เพราะร่างกายลูกทำเช่นนั้นได้แล้วนั่นเอง ในช่วงเริ่มต้น เด็กเล็กที่ขว้าง จุกนมปลอม ของเล่น รองเท้า อาหาร หรือของอื่น ๆ ที่สามารถหยิบจับได้ นั่นเป็นเพราะเขากำลังทดลองทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกายเขาอยู่ แล้วลูกน้อยรู้ได้อย่างไรว่าเขามีทักษะในการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว? ลูกไม่รู้หรอก มันแค่เกิดขึ้นกับร่างกายน้อย ๆ ของเขาและเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กนั่นเอง

พวกเขาชอบดูสิ่งของที่อยู่ในมือถูกขว้างออกไปและตกลงบนพื้น เด้งขึ้นมา กระเด็นกระดอน หรือลงจอดด้วยเสียงดังตุ้บ นั่นเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและสนุกสนานมากสำหรับลูก

แต่ต่อมาไม่นานลูกน้อยก็จะรู้ว่าการกระทำของเขาได้จุดประกายปฏิกิริยาตอบสนองของคุณ คุณจะก้มลงไปเก็บของเล่น คุณอาจหัวเราะเมื่อลูกโยนถูกเป้าหมาย หรือกระทั่งทำให้คุณอดที่จะโยนของหรืออาหารนั้นกลับไปที่ลูกไม่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าการขว้างสิ่งของนั้นเป็นการเรียกร้องความสนใจ นั่นจึงทำให้ลูกน้อยชอบขว้างสิ่งของ และเราก็ก้มหรือหลบหลีกเพื่อไม่ให้สิ่งของโดนหัวของเรา ลูกมีสาเหตุในการขว้างสิ่งของมากขึ้นเมื่อเขาโตขึ้นจนถึงวัยหัดเดิน

การขว้างหรือโยนสิ่งของเพื่อเรียกร้องความสนใจนั้นยังเป็นเหตุผลหลักอยู่ แต่การขว้างเพื่อแสดงอาการก้าวร้าวหรือเพื่อปลดปล่อยความโกรธและความไม่พอใจจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเขาอายุได้ 18 เดือน และนี่เป็นช่วงเวลาที่คุณจะต้องช่วยลูกจัดการกับปัญหาของลูก

อ่านวิธีจัดการลูกชอบขว้างของ หน้าถัดไป >>>


ขว้างมาหาแม่สิ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความจริงที่ว่าลูกน้อยของคุณขว้างปาสิ่งของนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่สิ่งที่เป็นประเด็นก็คือ เขาขว้าง “อะไร” และเนื่องจากคุณเป็นพ่อหรือแม่ และคุณรู้ว่าอะไรที่ลูกขว้างได้และอะไรที่เขาไม่ควรขว้าง มันขึ้นอยู่กับคุณว่าจะบอกเขาว่าอย่างไรและบอกเขาว่าอะไรที่ขว้างได้ อะไรที่ขว้างไม่ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือคุณควรส่งเสริมให้ลูกขว้างลูกบอล ถุงถั่ว หรือฟองน้ำจะดีกว่า เล่นโยนลูกบอลกับเขาด้วย เพราะการเล่นโยนลูกบอลกลับไปกลับมาเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการพัฒนาสายตาสัมพันธ์กับมือไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ มันยังเป็นเวลาที่ดีที่คุณและลูกได้ใช้ทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกันด้วย หรือจะจัดให้มีตาข่ายบาสเก็ตบอลเล็ก ๆ ก็จะช่วยให้ลูกเพลิดเพลินกับการโยนสิ่งของด้วย

เล่นเกมส์โยนถุงถั่ว (คุณอาจใช้ถังขยะหรือกล่องเป็นเป้า) หรือให้ลูกโยนฟองน้ำที่มีน้ำอยู่ไปที่กระดานที่สวนหลังบ้าน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานสำหรับเด็กในวัยนี้ การให้ลูกได้ขว้างสิ่งของที่เหมาะกับการขว้างไปยังที่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถอธิบายลูกให้เข้าใจได้ว่าทำไมลูกถึงไม่ควรขว้างรองเท้า อาหาร หรือของเล่น ยกตัวอย่างเช่น ลูกน้อยขว้างหนังสือออกไปนอกห้องเมื่อคุณบอกว่าคุณอ่านนิทานพอแล้วสำหรับวันนี้และลูกควรนอนกลางวันได้แล้ว แทนที่คุณจะอารมณ์เสียหรือทำเมินกับพฤติกรรมของลูก คุณควรใจเย็นและจูงมือลูกน้อยเดินไปที่หนังสือและบอกให้ลูกหยิบหนังสือขึ้นมา จากนั้น นั่งลง มองนัยตาของลูกและบอกกับลูกว่า ” หนังสือมีไว้อ่านนะลูก ไม่ได้มีไว้ให้ขว้างปา สิ่งที่เราขว้างหรือโยนได้คือลูกบอล” (หรือสิ่งอื่นที่ขว้างได้) จากนั้น ก็ให้ลูกเอาหนังสือไปเก็บในที่ที่หนังสือควรอยู่ คุณอาจต้องใช้วิธีนี้สอนลูกอีกครั้ง เพราะลูกคงไม่เรียนรู้ได้เร็วหลังจากที่บอกเพียงครั้งสองครั้งหรอก

คุณสามารถลดสิ่งล่อใจในการขว้างสิ่งของได้โดยการ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ใช้ถ้วยหรือจานที่ติดอยู่กับโต๊ะหรือถาดของเก้าอี้ตัวสูง วิธีนี้จะช่วยลดการหกเลอะเทอะได้ด้วย
  • คุณอาจหลีกเลี่ยงการต่อสู้กันโดยใช้อาหารเป็นอาวุธ โดยการตักอาหารใส่จานให้ลูกในปริมาณที่น้อย และให้เพิ่มในภายหลัง
  • ป้องกันไม่ให้ลูกโยนของออกจากรถเข็นเด็ก จากในรถ หรือรถเข็นช็อปปิ้งโดยการมัดถุงช็อปปิ้งให้เรียบร้อย
  • ของบางอย่างเช่น จุกนมปลอม ให้หนีบไว้กับเสื้อของเขา การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่ป้องกันไม่ให้ลูกขว้างจุกนมปลอมเล่น แต่ยังช่วยปกป้องเขาจากเชื้อโรคได้อีกด้วย

สอนลูกให้รู้ว่าอะไรขว้างได้ขว้างไม่ได้

โอ๊ย! เจ็บนะ – คุณต้องพูดแบบนี้บ้าง

การขว้างปาสิ่งของอาจเป็นพฤติกรรมที่มากเกินไป เพราะลูกน้อยอาจขว้างสิ่งของใส่เพื่อนเล่นหรือคุณได้หากเขาโกรธ คุณไม่ควรให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ในขณะที่คุณสอนลูกว่าการขว้างรถของเล่นหรือตุ๊กตาใส่คนอื่นเป็นสิ่งไม่ควรทำ คุณควรบอกเหตุผลให้ลูกรู้ด้วยว่าทำไมคุณถึงไม่อนุญาตให้ลูกทำเช่นนั้นเมื่อเขาโกรธ

ปฏิกิริยาที่รวดเร็วและเหมาะสม

สิ่งแรกที่คุณควรทำคือรับรู้ว่าพฤติกรรมที่ลูกทำนั้นผิดและไม่เป็นที่ยอมรับ เตือนให้เขาทราบว่าลูกสามารถขว้างได้แค่ลูกบอลหรือสิ่งอื่นที่แม่อนุญาตให้ขว้างเล่นเท่านั้น คุณควรสอนลูกเช่นนี้ด้วยคำพูดที่สุภาพและไม่ตะโกนใส่ลูก และคุณควรสอนให้เขาเข้าใจด้วยว่าสิ่งที่เขาทำได้ทำให้คนอื่นเจ็บและทำให้บ้านรกเลอะเทอะ ทำให้สิ่งของเสียหาย และเป็นพฤติกรรมที่ไม่สุภาพด้วย

บทความใกล้เคียง: ลูกชอบเอาของใส่ปาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team