แผลฝีเย็บ หลังคลอด รู้สึกเจ็บจี๊ด คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังจากที่คลอดเจ้าตัวเล็กออกมาได้อย่างปลอดภัย คุณแม่หลายคนคงจะโล่งใจกันไปเป็นกอง แต่แม้ว่าจะผ่านช่วงเวลาของการอุ้มท้องมาแล้ว ก็ยังคงต้องเตรียมตัวเลี้ยงลูกและให้นมลูกอยู่ รวมทั้งต้องคอยเฝ้าสังเกตอาการของตัวเองและคอยดูแลแผลคลอดอีกด้วย คุณแม่หลายคน เป็นกังวลใจเกี่ยวกับ แผลฝีเย็บ แผลหลังคลอด หลังจากการคลอดของตัวเอง ไม่รู้ว่าควรดูแลยังไงให้หายเร็ว ๆ วันนี้เราจะมาแชร์เคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลแผลให้คุณแม่ได้อ่านกันค่ะ

 

แผลฝีเย็บ แผลเย็บหลังคลอด คืออะไร

แผลเย็บหลังคลอด แผลฝีเย็บ คือ เป็นแผลที่เกิดจากการคลอดโดยธรรมชาติ แผลที่ว่านี้ จะอยู่ระหว่างทวารหนักและช่องคลอดของคุณแม่ ในขณะที่คลอด คุณหมอจะทำการผ่าตัดบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยขยายช่องคลอด ให้ทารกคลอดออกมาง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเปิดฝีเย็บ ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการคลอดของคุณแม่ได้มาก รวมทั้งช่วยลดความเจ็บปวดในการคลอด และป้องกันการฉีกขาดของบริเวณช่องคลอด

 

แผลฝีเย็บ แผลหลังคลอด ดูแลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง

หลังจากการคลอด คุณแม่จำเป็นต้องดูแลแผลฝีเย็บให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ แผลฝีเย็บปริ แผลฝีเย็บบวม จนเกิดโรคอันตรายต่าง ๆ ตามมาภายหลัง ซึ่งวิธีการดูแลแผลนั้น อาจทำได้ดังต่อไปนี้

 

1. ลดอาการเจ็บจี๊ด ลดอาการปวดด้วยการประคบเย็น

เชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ ท่านที่คลอดเองตามธรรมชาติ ค่อนข้างกังวลเรื่องแผลฝีเย็บ กลัวว่าแผลจะไม่หายสนิท กลัวว่าบริเวณแผลจะไม่กลับมาเป็นอย่างเดิม ในช่วงแรกแผลจะบวมและอักเสบ ซึ่งคุณแม่อาจจะให้คุณพ่อช่วยประคบแผลก็ได้ โดยใช้ผ้าขนหนูห่อเจลเย็น แล้วนำมาประคบลงตรงแผลเบา ๆ วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการบวมได้ ส่วนเรื่องอาการปวดคุณแม่สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ค่ะ ไม่เป็นอันตรายต่อการให้นมบุตรอย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการเจ็บฝีเย็บ การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด ให้แผลแห้งไว หายไว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. จัดหาหมอนรองนั่งเพื่อลดอาการเจ็บ

หากกลัวว่าจะเจ็บแผลตอนที่นั่ง ให้ลองหาหมอนรูปโดนัทวงใหญ่ ๆ หรือห่วงยางเล็ก ๆ มาใช้ได้ เพราะจะช่วยให้นั่งได้สบาย สอดคล้องกับรูปแผล นั่งแล้วไม่จมเกินไปจนทำให้เจ็บแผล แต่ก็ควรนั่งให้บริเวณช่องคลอดอยู่ตรงกลางรูพอดี เพื่อไม่ให้แผลโดนกดทับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. หมั่นทำความสะอาดแผลฝีเย็บ

การทำความสะอาดแผล ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ คุณแม่ควรทำความสะอาดฝีเย็บอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการอักเสบ โดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ค่อย ๆ เช็ดทำความสะอาดแผลจากด้านหน้าไปด้านหลังเบา ๆ และให้ใช้ผ้าสะอาดซับแผลให้แห้ง ไม่ควรใช้สำลีแห้ง เพราะอาจจะทำให้ขนสำลีติดแผลได้ค่ะ

 

4. เตรียมผ้าอนามัยไว้เปลี่ยนบ่อย ๆ

เนื่องจากหลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลาไหลออกมาจากช่องคลอด จึงควรเตรียมผ้าอนามัยไว้เปลี่ยนบ่อย ๆ ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ หรือเกิดเชื้อโรคบริเวณอวัยวะเพศ

 

5. ห้ามใช้สายชำระทำความสะอาดแผล

หากเราใช้สายชำระล้างทำความสะอาดแผล อาจทำให้แผลฝีเย็บปริหรืออักเสบได้ เพราะปกติสายชำระมีแรงดันน้ำแรงอยู่แล้ว ดังนั้น หากฉีดไปที่แผล อาจทำให้รู้สึกเจ็บแผลได้ในทันที นอกจากนี้ ในตอนที่อุจจาระ ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าให้น้ำจากสายชำระโดนแผลโดยตรง และเมื่อเช็ดทำความสะอาด ก็ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด วิธีดูแลแผล และการกระชับฝีเย็บ

 

 

6. พยายามเคลื่อนไหวให้ช้าลง

หากแผลยังไม่หายดี ควรเคลื่อนไหวตัวช้า ๆ เพื่อป้องกันการแตกปริของแผลฝีเย็บ คุณแม่ไม่ควรนั่งขัดสมาธิที่พื้น เพราะอาจทำให้แผลแยกออกจากกัน แต่หากจำเป็นต้องนั่งที่พื้นจริง ๆ ก็ให้ใช้หมอนรูปโดนัทหรือห่วงยางรองนั่งทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ก้นแตะพื้น ทั้งนี้ เมื่อต้องเดิน นั่ง หรือลุกขึ้นยืน ก็ให้ค่อย ๆ เคลื่อนไหวร่างกายเช่นเดียวกัน

 

7. งดมีเซ็กซ์กับสามี

แม้คุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะอยากมีเซ็กซ์กับสามี แต่ช่วงนี้ก็ขอให้งดไปก่อน เพราะแผลยังไม่หายดี การมีเซ็กซ์อาจทำให้แผลอักเสบได้ ควรรอให้แผลหายดีก่อนสักประมาณ 4-6 สัปดาห์หรือเดือนกว่า ๆ จะดีกว่านะคะ

 

8. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายคนเราเสมอ ไม่ว่าจะในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ช่วงตั้งครรภ์ หรือหลังจากที่คลอด เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ แถมยังช่วยรักษาแผลในร่างกายได้อีกด้วย ซึ่งหากคุณแม่อยากให้แผลฝีเย็บหายไว ๆ ก็ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะอาหารเหล่านี้ ให้ทั้งพลังงาน และช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับแผลและเชื้อโรคได้ดี

 

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์ แผลฝีเย็บแบบไหนอันตราย

ในระหว่างการพักรักษาตัวและดูแลแผล หากคุณแม่ดูแลแผลดีแล้ว แต่ก็ยังปวดแผลมาก ๆ ปวดจนทนไม่ไหว หรือว่าเจ็บแผล ก็อาจเป็นไปได้ว่าแผลมีการติดเชื้อ (ปกติอาการปวดจะหายไปหลังจากที่คลอด 1 สัปดาห์) ควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อไม่ให้เชื้อลุกลามมากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทั้งนี้ มีคุณแม่หลายคน ที่ไม่กล้าขับถ่ายเพราะตัวเองเป็นแผล จนทำให้ตัวเองท้องผูกเป็นหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ในระหว่างนี้ จึงควรทานอาหารที่มีเส้นใยเยอะ ๆ เช่น ผักสด ธัญพืช และผลไม้ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้รู้สึกอยากขับถ่าย แต่ก็ห้ามทานยาระบาย เพราะอาจส่งผลต่อทารกที่ดูดนมแม่ จนทำให้ทารกท้องเสียได้ อย่างไรก็ตาม หากอาการท้องผูกไม่หายไปสักที ให้คุณแม่เข้าพบคุณหมอได้ เพื่อปรึกษาและหาวิธีแก้ไขปัญหาค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เซ็กซ์หลังคลอด มีเพศสัมพันธ์หลังคลอดแล้วรู้สึกเจ็บ ผิดปกติหรือไม่

 

 

สามารถป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บก่อนคลอดได้หรือไม่ ?

ช่วงตั้งท้อง ว่าที่คุณแม่ทั้งหลาย ควรเตรียมกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้พร้อมสำหรับการคลอด เพื่อช่วยไม่ให้มีแผลฝีเย็บที่กว้างและใหญ่จนเกินไป และไม่ให้แผลฉีกขาดระหว่างการคลอด ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกายเพื่อบริหารอุ้งเชิงกรานตามแบบของคีเกิล โดยการขมิบช่องคลอดนั่นเอง ซึ่งทำได้ดังนี้

  • หามัดกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง กล้ามเนื้อส่วนที่เราต้องบริหาร คือ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ในขณะกำลังนั่งปัสสาวะ ให้พยายามขมิบหูรูดเพื่อหยุดปัสสาวะไว้ หากสามารถหยุดปัสสาวะกลางคันได้ ก็แสดงว่าเราเจอกล้ามเนื้อที่ถูกต้องแล้ว
  • บริหารกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม ให้คุณแม่ขมิบเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานค้างไว้ประมาณ 5 วินาที และปล่อยอีกประมาณ 5 วินาที ทำสลับกันไป 4-5 รอบ เมื่อเริ่มชินแล้ว ให้เปลี่ยนมาขมิบเกร็งกล้ามเนื้อคราวละ 10 วินาที และปล่อย 10 วินาทีก็ได้
  • โฟกัสที่กล้ามเนื้อ ระหว่างขมิบเกร็ง ให้เราเพ่งสมาธิไปที่กล้ามเนื้อส่วนดังกล่าวด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าเราบริหารกล้ามเนื้อถูกจุด โดยพยายามหลีกเลี่ยงการเกร็งหน้าท้อง การหนีบเกร็งขา หรือการกลั้นหายใจ 

 

ในช่วงหลังคลอด อาจเป็นเรื่องยากสักหน่อย ที่จะเคลื่อนไหวตัวหรือทำอะไร เพราะร่างกายคุณแม่ยังไม่แข็งแรง แถมแผลก็ยังไม่หายดี เราขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปให้ได้นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แผลผ่าคลอดปริ เรื่องที่แม่ผ่าคลอดคนไหนก็ไม่อยากเจอ

แผลเป็นนูนหลังผ่าคลอด รักษาอย่างไร? วิธีดูแลแผลผ่าคลอดให้หายเร็ว

ผ่าคลอดแนวยาว ผ่าคลอดแนวขวาง ข้อดีข้อเสีย และวิธีดูแลแผลผ่าคลอด

ที่มา : rakluke, amarinbabyandkids, medthai, amarinbabyandkids

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan