ตกน้ำ ตกเรือต้องทำยังไง วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติภัยทางน้ำ เช่น ตกน้ำ จมน้ำ หรือแม้กระทั่ง ตกเรือ แต่อุบัติเหตุเหล่านี้ บ่อยครั้งก็เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก เพราะบ่อยครั้งที่เราเองอาจจะต้องทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือ หรือการเดินทางด้วยเรือ ดังนั้นหากเราเองรู้จักการตัวรอดจากในสถานการณ์นี้ ก็ว่าถือเป็นทักษะด้านความปลอดภัยเบื้องต้นควรรู้ไว้ และจะช่วยให้เกิดความเสียหายน้อยลง อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือตัวเองหรือคนอื่นจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้อีกด้วย วันนี้ทาง theAsianparent ได้นำวิธีเอาตัวรอดจากการ ตกน้ำ จมน้ำ มาฝากกัน

 

ภาพจาก shutterstock.com

 

วิธีการเอาตัวรอดเมื่อตกเรือ ตกน้ำ

หากพูดถึงอุบัติเหตุทางน้ำ การตกน้ำ การจมน้ำ คนมักจะกลัวจมทะเลมากกว่า เพราะทะเลกว้าง ฝั่งอยู่ไกล ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แม่น้ำนั้นอันตรายกว่ามาก เพราะน้ำแรง น้ำขุ่น และน้ำจืดยังทำให้จมง่ายกว่าน้ำทะเล เพราะเกลือในน้ำทะเลจะทำให้น้ำมีความหนาแน่นมากกว่า ซึ่งสำหรับวิธีการเอาตัวรอดเมื่อตกเรือ ตกน้ำ มีวิธีต่าง ๆ ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ตั้งสติ

อย่างแรกที่ต้องมีเมื่อเกิดอุบัติเหตุคือ สติ คุณควรพยายามลืมตามองรอบ ๆ หากมีอะไรที่ลอยได้ ก็ให้พยายามเอื้อมไปเกาะไว้ก่อน พยายามมองหาแสงสว่างที่ผิวน้ำ หรือในกรณีที่คุณอยู่บนเรือที่กำลังจะล่ม ให้คุณรีบออกจากเรือให้เร็วที่สุด และว่ายน้ำให้ออกห่างจากเรือให้ได้มากที่สุด เพราะกระแสน้ำอาจดูดคุณเข้าไปใต้ท้องเรือจนจมน้ำเสียชีวิตได้ หรือเรืออาจพลิกคว่ำมาทับตัวคุณได้

 

2. อย่าว่ายทวนน้ำเด็ดขาด

การพยายามว่ายน้ำในทะเล หรือแม่น้ำที่กว้างและลึก จะทำให้เราหมดแรงได้ง่าย ที่สำคัญไม่ควรว่ายน้ำสวนทิศทางน้ำเด็ดขาด คุณควรว่ายตามแนวคลื่นเพื่อพยายามเข้าใกล้ฝั่ง หรือตลิ่งให้มากที่สุด และควรหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางประเภทเศษขยะ พืชน้ำ ผักตบชวา เนื่องจากขยะเหล่านั้น อาจเข้ามาพันตัวจนว่ายน้ำยากกว่าเดิม อีกทั้งไม่ควรเข้าใกล้สะพาน เพราะมักเป็นจุดที่มีกระแสน้ำวน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ให้ลูกเรียนว่ายน้ำ ที่ไหนดี รวมโรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็ก ราคาไม่แพง

 

3. พยายามลอยตัว

ในกรณีที่สวมเสื้อชูชีพ หรือเสื้อที่ทำให้ลอยตัว จะช่วยให้ร่างกายของเราลอยเหนือผิวน้ำได้ง่ายกว่าปกติ เสื้อชูชีพจะช่วยให้เราพยุงตัวอยู่ในน้ำได้นานประมาณ 3 – 6 ชั่วโมง หากเป็นเสื้อชูชีพคุณภาพดีอาจช่วยให้ลอยตัวอยู่ได้นานอีกหลายชั่วโมง หากเป็นไปได้ควรจะสวมเสื้อชูชีพที่มีสีสด ๆ เพราะจะทำให้คนสังเกตเห็นได้ง่าย และที่สำคัญควรล็อกทุกจุดให้ครบ อย่าเพียงแค่สวมไว้เฉย ๆ และสำหรับกรณีที่ไม่ได้สวมเสื้อชูชีพ ไม่ว่าจะว่ายน้ำเป็นหรือไม่ก็ตาม ก็มีวิธีลอยตัวอยู่หลายแบบให้ได้ทำกัน ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ลอยตัวด้วยท่าลูกหมาตกน้ำ โดยใช้แขนและขากวักน้ำเข้าหาตัวเองโดยสลับขาซ้ายขวา ให้ปากและจมูกโผล่พ้นน้ำเพื่อหายใจเอาอากาศเข้าปอด และย่อเหยียดเข่าซ้ายขวาสลับกับทิศทางของแขนและมือ เหมือนท่าที่หมาใช้ว่ายน้ำ
  • ลอยตัวแบบนอนหงาย โดยพยายามลอยตัวในน้ำโดยนอนนิ่ง ๆ อยู่กับที่ ให้ศีรษะอยู่พ้นน้ำ ขาแขนเหยียดตรงเหมือนนอนอยู่บนที่นอน เงยหน้ายกคางเพื่อใช้ปากหายใจ
  • ลอยตัวด้วยท่าปลาดาว โดยพยายามบังคับตัวเองให้กางแขนกางขาเป็นรูปปลาดาว และให้ใบหน้าหงายขนานไปกับผิวน้ำ และพยายามอยู่นิ่ง ๆ จะทำให้ตัวจะลอยขึ้นผิวน้ำได้

โดยในระหว่างที่ลอยตัวอยู่ หากเป็นไปได้ ให้ถอดรองเท้า เข็มขัด หรือสิ่งของติดตัวที่จะเป็นเครื่องถ่วงออกให้หมด

 

ภาพจาก shutterstock.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ

และในกรณีกลับกันหากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ พบคนตกน้ำ หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันทางน้ำ คุณสามารถให้การช่วยเหลือได้ดังนี้

  • โยนอุปกรณ์ที่ไม่มีเชือกผูก เช่น ขวดน้ำพลาสติก ถังแกลลอน โดยโยนอุปกรณ์ให้ตกตรงหน้าผู้ประสบภัย สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ควรใส่น้ำเล็กน้อย เพื่อให้อุปกรณ์มีน้ำหนัก และสามารถโยนได้แม่นยำมากขึ้น
  • โยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก เช่น ถังแกลลอนผูกเชือก ถุงเชือก โยนอุปกรณ์ให้ข้ามศีรษะผู้ประสบภัยเพื่อให้เชือกตกลงไปกระทบตัวผู้ประสบภัย โดยเชือกที่ใช้จะต้องมีความอ่อนตัว และไม่บิดเป็นเกลียว
  • ยื่นอุปกรณ์ให้กับผู้ประสบภัย เช่น ไม้ ย่อตัวลงต่ำ เพื่อไม่ให้ถูกผู้ประสบภัยดึงตกน้ำ โดยยื่นอุปกรณ์ไปด้านข้างของผู้ประสบภัย แล้วจึงค่อย ๆ นำอุปกรณ์เข้าไปหาตัวผู้ประสบภัยจากด้านข้าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อุปกรณ์โดนหน้าผู้ประสบภัย
  • ในระหว่างที่ให้การช่วยเหลือ ต้องไม่ลืมตะโกนขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างด้วย
  • ไม่ควรโดดลงไปช่วย เพราะตัวผู้ประสบภัยอาจจะกำลังตกใจและพยายามเกาะตัวคุณ ซึ่งอาจทำให้จมทั้งคู่ได้
  • รีบโทรขอความช่วยเหลือที่เบอร์ 1196 เพื่อแจ้งอุบัติเหตุทางน้ำ หรือ หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบอร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลกรุงเทพ ปี 2564 ภาคกลาง ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องมี!!

 

ภาพจาก shutterstock.com

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ

หากคุณมีความจำเป็น หรือหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยใช้เรือไม่ได้ คุณควรปฏิบัติดังนี้

  • สวมเสื้อชูชีพขณะนั่งเรือ เมื่อใส่ชูชีพ หากพลัดตกน้ำก็มีโอกาสรอด และปลอดภัยสูง เพียงแค่มีสติ และอย่าตกใจ เพราะเสื้อชูชีพจะช่วยให้พยุงตัวอยู่ในน้ำได้นานประมาณ 3 – 6 ชั่วโมง และหากเป็นไปได้ควรจะสวมเสื้อชูชีพที่มีสีสดใส เพราะจะทำให้คนสังเกตเห็นได้ง่าย
  • กระจายการนั่งบนเรือให้สมดุล ผู้โดยสารควรกระจายน้ำหนักในการนั่งเรืออย่างสมดุล ไม่ไปยืนที่บริเวณกราบเรือ – ท้ายเรือ เพราะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการพลัดตกเรือ
  • พยายามเลือกที่นั่งที่ไปยังที่เปิดโล่งได้ง่ายที่สุด เช่น บริเวณข้างเรือที่โล่ง ๆ อย่าอยู่ในที่อับ หรือมีสิ่งกีดขวางทำให้ออกจากเรือไม่ได้
  • หาของที่ลอยน้ำได้มาไว้ใกล้ตัว เช่น ขวดน้ำ เพื่อช่วยให้สามารถพยุงตัวในน้ำได้ง่ายขึ้น หากเกิดอุบัติเหตุ

 

ภาพจาก shutterstock.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สิ่งที่เรานำฝากกันในวันนี้เป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพราะถึงแม้ว่าจะไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องไกลตัว และบ่อยครั้งก็เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก ซึ่งการที่เรารู้วิธีเอาตัวรอดเบื้องต้น ก็จะทำให้มีโอกาสรอดได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือไว้ จึงเป็นหนึ่งในการป้องกันอุบัติเหตุที่ดีที่สุด

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :

ให้ลูกขับเจ็ตสกีได้ไหม อันตรายหรือเปล่า แล้วควรเริ่มตอนไหน ?

เด็กจมน้ำ วิธีป้องกันเด็กไม่ให้จมน้ำ และขั้นตอนการช่วยเหลือ

ประสบการณ์ลูกจมน้ำ วิธีปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำ แบบไหนที่ห้ามทำเด็ดขาด

 

ที่มา :

ไทยรัฐ, sanook, มติชน

บทความโดย

watcharin