บังคับใส่แมส ขณะอยู่ในรถ 2 คนขึ้นไป และวิธีการจองฉีดวัคซีนโควิด 19

บังคับใส่แมส ขณะอยู่ในรถ 2 คนขึ้นไป และวิธีการจองฉีดวัคซีนโควิด 19

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2564 ทางกรุงเทพมหาคร ได้มีการประกาศ ออกกฎ บังคับใส่แมส ขณะอยู่ในรถ 2 คนขึ้นไป ในเขตพื้นที่กรุงเทพ ซึ่งเป็นการออกกฎ และมีผลบังคับใช้โดยทันที และหากผู้ใดฝ่าฝืน ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ต่อกรรม ต่อวาระ และต่อคน (เฉพาะผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยเท่านั้น)

ได้มีการประกาศ บังคับใส่แมส ขณะอยู่ในรถ 2 คนขึ้นไป สำหรับผู้ที่ขับรถยนต์ส่วนตัว ในเขตพื้นที่กรุงเทพ เนื่องจากสถานการณ์โรค Covid-19 ระลอกใหม่มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้ทาง กทม. ได้พิจารณา และประกาศกฎดังกล่าวขึ้นมา รวมถึงการที่ทุกคนจำเป็นจะต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง เมื่อมีการออกนอกเคหสถาน หรือสถานที่พำนัก

 

จับจริงแม้เป็นครอบครัวเดียวกัน

จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ ทำให้พื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ได้ประกาศบังคับให้ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ส่วนตัว จำเป็นจะต้องใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าอยู่ตลอดเวลา หากมีผู้โดยสารอยู่ในรถเกิน 2 คนขึ้นไป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 โดยมีโทษปรับสูงสุดอยู่ที่ 20,000 บาท ต่อคน ต่อวาระ ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ.2558

 

ซึ่ง ณ ปัจจุบัน พื้นที่กรุงเทพฯ ถูกจัดอยู่ในพื้นที่เสี่ยงสีแดง เนื่องจากมียอดการติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และมีการกระจายออกไปเป็นวงกว้าง จนยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักพันติดต่อกันถึงหนึ่งสัปดาห์ จึงเป็นเหตุทำให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตัดสินใจประกาศบังคับให้มีการใส่หน้ากากอนามัย ขณะอยู่ในรถยนต์ส่วนตัวในกรณีที่มีผู้ร่วมทางตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และมีผลบังคับใช้โดยทันที

ซึ่งมีหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นว่า หากเป็นครอบครัวเดียวกัน จำเป็นจะต้องใส่หน้ากากอนามัยด้วยหรือไม่ โดยทางกระทรวงสาธารณะสุขได้มีการกำหนดว่า แม้จะเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ก็จำเป็นจะต้องใส่หน้ากากขณะโดยสารอยู่ในรถยนต์ส่วนตัว เนื่องจาก พื้นที่ภายในรถเป็นพื้นที่ปิด และอากาศไม่ถ่ายเท และโดยมากมักจะอยู่ในรถเป็นเวลานาน โดยเฉพาะหากจะต้องเดินทางไกล ทำให้มีความเสี่ยง หากมีผู้ใดผู้หนึ่งมีเชื้อ แต่ยังไม่รู้ตัว ก็จะสามารถนำไปติดให้ผู้อื่นที่อยู่ในรถได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ป้องกันโควิด เมื่อออกจากบ้าน ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโควิด 

 

กฎข้อบังคับการสวมหน้ากาก

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

  1. ให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า อย่างถูกต้องหรือถูกวิธีทุกครั้งตลอดเวลาที่ออกนอกเคหะสถาน หรือสถานที่พำนัก
  2. ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 เป็นความผิดตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สวมใส่แมสตลอดเวลา แม้จะอยู่ในรถยนต์ส่วนตัว

 

ข้อยกเว้นในการสวมหน้ากาก

  1. กรณีที่ขับรถยนต์เพียงคนเดียว ไม่มีผู้อื่นนั่งร่วมทางด้วย สามารถไม่สวมหน้ากากอนามัยได้ แต่ถ้าจะต้องออกนอกตัวรถ ยังจำเป็นจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย อยู่ตลอดเวลาเช่นเดิม
  2. สำหรับเด็กเล็กอนุญาตให้ไม่สวมหน้ากากได้

 

อัยการเตือนการใส่หน้ากากใต้คาง หรือไม่ปิดจมูกมีความผิดเช่นกัน

นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค 9 ได้โพสต์เฟสบุ๊ค (Facebook) ถึงการดึงหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้ามาไว้บริเวณคาง-ใต้คาง หรือการใส่หน้ากากแต่ไม่ปิดบริเวณจมูก ถือว่าผิดกฏหมายเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยทางอัยการได้ประกาศให้ปฏิบัติตามกัน ในทุกจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยเมื่อมีการออกนอกตัวเคหะสถานจำเป็นจะต้องสวมใส่หน้ากากอยู่ตลอดเวลา ส่วนจังหวัดใดที่ยังไม่มีการประกาศ ก็ควรใส่หน้ากากตลอดเวลาเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยของตัวเรานั่นเอง

 

ศบค. ยกระดับพื้นที่ควบคุม เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม ให้มีการควบคุมสูงสุดด้วยกัน 6 จังหวัด

โดยในวันนี้ (29 เมษายน 2564) ได้มีการประกาศเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้ม เพื่อใช้มาตรการควบคุมสูงสุดด้วยกัน 6 จังหวัด ดังนี้

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. นนทบุรี
  3. ชลบุรี
  4. เชียงใหม่
  5. ปทุมธานี
  6. สมุทรปราการ

โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ช่วงโควิดคุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้ห่างไกลจากภัยร้าย

 

รายละเอียดการควบคุมพื้นที่สีแดงเข้มมีดังนี้

  1. ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า เมื่อออกนอกเคหะสถานตลอดเวลา
  2. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มเกิน 20 คน
  3. ห้ามนั่งรับประทานอาหารภายในบริเวณร้าน แต่สามารถซื้อกลับบ้านได้ จนถึงเวลา 21:00 น.
  4. สำหรับร้านสะดวกซื้อ สามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ 04:00 – 23:00 น.
  5. งดเปิดสถานบันเทิงทุกประเภท
  6. ห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้า สามารถเปิดบริการได้ถึง 21:00 น.
  7. งดจัดการเรียนการสอนที่มีการรวมคน สามารถจัดผ่านทางออนไลน์ได้
  8. งดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่จำเป็น
  9. ขอให้มีการพิจารณาการ Work From Home อย่างน้อย 14 วัน

 

พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนทุกกลุ่มภายในปี 2564

นอกจากนี้ทางรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารสุข (สธ.) นายสาธิต ปิตุเตชะ ได้กล่าวถึงการร่วมมือของภาครัฐฯ และเอกชน ได้ร่วมมือเพื่อทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน โดยได้มีการแถลงข่าวการลงทะเบียนฉีดวัคซีน โควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่ม ผ่านทางไลน์ “หมอพร้อม” โดยจะเริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป

ทางภาครัฐ ร่วมกับภาคเอกชน วางแผนการเพื่อฉีดวัคซีนให้กับประชาชนให้ครบภายในปี 2564

และจะเริ่มทำการฉีดภายในเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2564  เนื่องจากจะมีวัคซีนล็อตใหญ่จากแอสตร้าเซนเนก้า จะมาถึงประเทศไทยจำนวน 6 ล้านโดส และอีก 10 ล้านโดสจะมาในเดือนกรกฎาคม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เริ่มลงทะเบียนรับวัคซีนได้ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครสามารถลงทะเบียนได้บ้าง

ทางภาครัฐ และเอกชนได้มีความร่วมมือกัน เพื่อให้มีการกระจายวัคซีนให้ทั่วถึงประชาชนโดยเร็วที่สุด โดยมุ่งเน้นกลุ่มเสี่ยงก่อนเป็นกลุ่มแรกคือ

  1. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น

โดยคาดว่าจะมีประชาชนลงทะเบียนสำหรับกลุ่มนี้อยู่ที่ 16 ล้านคน โดยจะสามารถลงทะเบียนผ่านทางแอปพลิเคชั่น Line “หมอพร้อม” ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ผลวิจัยเผย การล็อคดาวน์ COVID-19 อาจทำแม่เสี่ยงแท้งบุตรได้

 

ใครบ้างที่จะได้รับการฉีดวัคซีนก่อน

โดยไตรมาสแรกนี้ ได้มีการวางแผนการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ความเสี่ยงสูงเป็นหลัก โดยแบ่งเกณฑ์ดังนี้

  • เดือนพฤษภาคม

จะเริ่มฉีดระยะแรกให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข จำนวน 1.2 ล้านคน รวมถึงบุคลากรด่านหน้าจำนวน 1.8 ล้านคน

  • เดือนมิถุนายนน – กรกฎาคม

กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่จัดให้มีการลงทะเบียนออนไลน์ โดยกำหนดให้ผู้ที่จะได้รับการฉีดจะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และคนที่มีอาการป่วยเรื้อรัง หรือมีความเสี่ยง 7 กลุ่มโรค ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้

  • เดือนสิงหาคม

จะเป็นการฉีดวัคซีนในกลุ่มประชาชนทั่วไป ที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 59 ปี

 

วิธีการลงทะเบียนฉีดวัคซีน หมอพร้อม Line Application

1. เพิ่มเพื่อน ทางไลน์ โดยการกดเพิ่มเพื่อน กดค้นหาคำว่า “หมอพร้อม” หรือสแกน QR Code ด้านล่าง

กระทรวงสาธารณสุข

2. เลือกที่บัญชีทางการ แล้วทำการลงทะเบียน

3. กรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้

4. กรณีลงทะเบียนแทนบุคคลอื่น สามารถกดเลือกเพื่อเพิ่มบุคคลอื่น และระบุความสัมพันธ์ แล้วจึงกรอกข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่คุณต้องการลงทะเบียนให้

5. กดเมนูลงทะเบียนการวัคซีน เพื่อขอรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 จากนั้นคุณจะได้รับข้อความแจ้งกลับ เพื่อยืนยันการลงทะเบียนสำเร็จ

6. กดเลือกเมนูการจองฉีดวัคซีนโควิด 19 หลังจากนั้น เลือกเมนูจอง และกดรับสิทธิ์ หลังจากนั้น ระบบจะขึ้นข้อมูลเพื่อทำแบบสอบถาม เพื่อคัดกรองว่าคุณได้อยู่ในกลุ่มที่ทางรัฐฯ ได้ให้สิทธิ์การจองในขณะนั้นหรือไม่ หลังจากนั้น เลือกสถานที่ วัน และเวลาที่ต้องการฉีดวัคซีน แล้วกดยืนยัน จากนั้นจะมีข้อความส่งมาให้คุณเพื่อยืนยันการนัดหมายการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19

7. กรณีต้องการเปลี่ยนวัน เวลา ที่จองการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ให้กดเลือกที่เมนูการจองฉีดวัคซีน โควิด 19 เข็มที่ 1 แล้วระบุวัน เวลาใหม่อีกครั้ง หลังจากนั้น กดปุ่นยืนยัน แล้วระบบ จะส่งข้อความยืนยันการนัดหมายใหม่

8. จะมีข้อความแจ้งเตือน ก่อนจะถึงวันนัดหมายการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 หนึ่งวัน

9. หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จะได้รับข้อความยืนยัน และใบแจ้งอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง

10. จะมีการติดตามผลจากแบบประเมิน หลังจากทำการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ภายใน 24 ชม. และจะมีการติดตามอาการช่วง 2-7 วันแรก และครั้งที่สอง ช่วง 8-30 วันหลัง

11. และระบบจะทำการส่งข้อความแจ้งเตือน ก่อนจะถึงกำหนดรับการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2

12. หลังจากทำการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แล้ว คุณจะได้รับข้อความยืนยัน พร้อมใบแจ้งอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายในระยะ 24 ชม. หลังการฉีด

13. เมื่อได้รับการฉีดครบถ้วนทั้งสองเข็มแล้ว คุณจะได้รับใบรับรองการฉีดวัคซีน ผ่านทางแอปพลิเคชั่น โดยสามารถสแกนผ่านทาง QR Code เพื่อตรวจสอบความถูกต้องผ่านทางเว็ปไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข

 

ที่มา : news.thaipbs.or.th , covid-19.kapook.com

 

 

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana