เผยทริค! ปั๊มนมยังไงให้ถูกวิธี น้ำนมแม่สามารถเก็บได้นานแค่ไหน?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำนมแม่ ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับลูกน้อยเป็นอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของพัฒนาการทางด้านร่างกาย หรือการพัฒนาสมองของลูกน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกน้อย อาจจะยังไม่มั่นใจในเรื่องของการปั๊มน้ำนม ว่าจะ ปั๊มนมยังไงให้ถูกวิธี สามารถปั๊มนมด้วยวิธีไหนได้บ้าง หรือปั๊มน้ำนมอย่างไรถึงจะได้ปริมาณน้ำนมที่เพียงพอต่อลูกน้อย ดังนั้น บทความสำหรับวันนี้เราจึงจะมา เผยเทคนิค! การปั๊มนมให้ถูกวิธีสำหรับคุณแม่มือใหม่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วมาตามไปดูพร้อมกันเลย

 

เผย! เคล็ด (ไม่) ลับ ปั๊มนมยังไงให้ถูกวิธี ให้ได้น้ำนมที่เพียงพอต่อลูกน้อย

 

 

หากปั๊มนมด้วยมือ

สำหรับการปั๊มนมด้วยมือ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือจะต้องล้างมือให้สะอาด จากนั้นก็ทำมือเป็นรูปตัว C วางไว้บนเต้านม โดยให้นิ้วหัวแม่มือวางอยู่ด้านบนหัวนม และให้ห่างจากฐานหัวนม 3 – 4 เซนติเมตร แล้วก็วางนิ้วชี้อยู่ด้านล่างหัวนม โดยให้ห่างจากฐานหัวนม 3 – 4 เซนติเมตร เช่นเดียวกัน จากนั้นก็ค่อย ๆ ออกแรงบีบน้ำนมออกมาแล้วก็ทำการบีบน้ำนมให้ทั่วทั้งเต้านมสองข้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หากปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊ม

สำหรับการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม คุณแม่อาจจะต้องทำการเลือกก่อนว่าต้องการใช้เครื่องปั๊มนมแบบไหน เพราะเครื่องปั๊มนมนั้นจะมีทั้งหมด 2 ประเภท ก็คือ เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า หรือเครื่องปั๊มแบบอัตโนมัตินั้นเองค่ะ ซึ่งเครื่องปั๊มนมประเภทนี้จะใช้งานง่าย ไม่เปลืองแรง ปั๊มนมได้รวดเร็ว และได้ปริมาณน้ำนมเยอะ ส่วนเครื่องปั๊มนมอีกประเภทหนึ่งก็จะเป็นเครื่องปั๊มนมแบบธรรมดา (Manual) เหมาะสำหรับการปั๊มนมเป็นครั้งคราว เฉพาะเวลาที่ไม่สะดวก หรือในระหว่างการทำงาน ซึ่งเครื่องปั๊มนมประเภทนี้จะมีราคาที่ถูกกว่าเครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า

สำหรับการเริ่มปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม แนะนำให้ล้างทำความสะอาดเครื่องปั๊มนมก่อน รวมถึงจะต้องล้างมือให้สะอาดด้วยเช่นกัน จากนั้นก็นำกรวยมาวางกรวยบนเต้าสำหรับปั๊มนม ซึ่งจะต้องวางกรวยปั๊มให้อยู่กึ่งกลางหัวนม แล้วก็เริ่มทำการปั๊มนม เมื่อรู้สึกว่าน้ำนมเริ่มไหลอย่างคงที่ คุณแม่สามารถค่อย ๆ ปรับความเร็วในการปั๊มนมเพิ่มขึ้นได้  นอกจากนี้ คุณแม่ไม่ควรออกแรงกดบริเวณหัวนมมากเกินไปนะคะ เพราะอาจจะทำให้เกิดรอยหรืออาการบาดเจ็บบริเวณของเต้านมได้ค่ะ

 

ควรปั๊มนมกี่นาทีถึงจะได้ปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ?

สำหรับในส่วนของเรื่องเวลาในการปั๊มนม ระยะเวลาในการปั๊มนมควรอยู่ประมาณ 10 - 15 นาทีต่อข้าง แต่ถ้าหากทำการปั๊มนมหากปั๊มจนครบเวลาที่กำหนดแล้ว คุณแม่สามารถปั๊มต่อได้อีกประมาณ 2-5 นาที ถ้าหากว่ายังมีน้ำนมไหลออกมาอยู่ แต่ระยะเวลาก็ไม่ควรมากไปกว่านี้เพราะถ้าหากปั๊มนมนานจนเกินไปก็อาจจะทำให้เจ็บเต้านมได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สามารถเก็บน้ำนมไว้ได้นานแค่ไหน?

เมื่อคุณทำการปั๊มนมเสร็จแล้ว การเก็บรักษาน้ำนมก็ถือเป็นสิ่งที่จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน ซึ่งการเก็บรักษาน้ำนมแม่ก็มีระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • สำหรับการเก็บรักษาน้ำนมด้วยอุณหภูมิห้อง สามารถเก็บได้นาน 3-4 ชั่วโมง
  • อุณหภูมิห้อง (16-26 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 4-8 ชั่วโมง
  • แต่ถ้าหากเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา สามารถเก็บได้นาน 8 วัน
  • แต่ถ้าหากแช่เก็บไว้ในช่องแช่แข็ง สามารถเก็บได้ 2 สัปดาห์
  • แต่ถ้าหากเก็บไว้ในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นาน 3-6 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำนมแม่ที่ปั๊มมาแล้วเก็บได้กี่ ชม เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ให้นมต้องรู้

วิธีละลายน้ำนมแม่

การนำเอาน้ำนมแม่ที่เก็บไว้ในตู้เย็น หรือช่องแช่แข็ง ออกมาทำการละลายเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม และนำไปให้ลูกน้อยกิน ซึ่งจะมีวิธีการทำที่ง่ายมาก ๆ เลยค่ะ เพียงแค่นำนมแม่ที่แช่แข็งในตู้เย็นไว้ออกมาพักไว้ จากนั้นคุณแม่ก็ทำการต้มน้ำให้พออุ่น พอต้มน้ำเป็นที่เรียบร้อยก็นำน้ำอุ่นไปเทลงในชามขนาดใหญ่ หรือภาชนะที่มีขนาดเหมาะสมพอที่จะใส่ถุงนม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากนั้น ก็นำถุงนมใส่ลงไปในชามที่เทน้ำอุ่นไว้ ประมาณ 1-2 นาที หรือจนกว่านมจะอุ่น เมื่อได้น้ำนมที่มีอุณหภูมิตามที่ต้องการแล้ว จากนั้นนำมาค่อย ๆ รินน้ำนมใส่ในขวดนม แล้วทำการเอียงขวดนมไปมา เพื่อให้ไขมันรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำนม แล้วจากนั้นค่อยนำไปป้อนลูกน้อยค่ะ

 

การเก็บสต๊อกน้ำนมแม่

หลังจากคุณแม่ปั๊มน้ำนมเสร็จ หากน้ำนมเหลือและต้องการเก็บสต๊อกคุณแม่จะต้องเลือกใช้ภาชนะที่ปราศจากเชื้อ เช่น ขวดนมที่นึ่งแล้ว หรือเลือกใช้ถุงเก็บน้ำนม จากนั้นการเก็บสต๊อกน้ำนมอย่างถูกต้อง คุณแม่จะต้องเก็บปริมาณน้ำนมให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละมื้อ ดังนั้น คุณแม่จะต้องกะปริมาณให้ดี ๆ หลังปั๊มใส่ภาชนะเสร็จสิ้นแล้ว คุณแม่ก็จะต้องเขียนป้ายระบุ วันที่ และเวลา ที่เก็บน้ำนม จากนั้นก็นำน้ำนมไปแช่ในตู้เย็นทันที เพื่อที่จะได้ช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารในนมไว้ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

ข้อควรระวังในการละลายน้ำนุ่ม

  • ไม่ควรนำน้ำนมที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งอีก
  • ไม่ควรนำน้ำนม ไปเข้าอุ่นในไมโครเวฟ หรือใช้น้ำร้อนจัด  ควรแช่ในน้ำอุ่นเท่านั้น เพราะถ้าหากนำเข้าไมโครเวฟ หรือใช้น้ำร้อนจัดก็จะทำให้คุณค่าของสารอาหารในน้ำนมลดลง

 

ลูกแพ้น้ำนมแม่ได้ไหม?

อาการแพ้น้ำนมแม่ สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กที่อยู่ในช่วงของการกินนมแม่ ซึ่งเด็กก็จะมีอาการแพ้ที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นฐานสุขภาพร่างกายของเด็กแต่ละคน เช่น มีอาการผื่นขึ้นบริเวณปาก ท้องเสีย  ปวดท้อง เป็นต้น ซึ่งอาการแพ้นมแม่ก็อาจจะเกิดจากอาหารที่คุณแม่กินเข้าไป เพราะไม่ว่าคุณแม่จะกินอาหารอะไรเข้าไป ดังนั้น คุณแม่อาจจะต้องระมัดระวังในเรื่องการกินอาหารเป็นพิเศษ ถ้าหากคุณแม่รู้ว่าลูกแพ้อาหารชนิดไหนที่คุณแม่กินเข้าไป ก็ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารชนิดนั้น เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพลูกน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เผยทริค! วิธีการรับมือเมื่อลูกมี อาการแพ้นมแม่ และวิธีสังเกตอาการของลูก

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลที่เรานำมาฝากกันวันนี้ สำหรับการ ปั๊มนมยังไงให้ถูกวิธี และวิธีเก็บรักษาน้ำนมแม่ รวมถึงวิธีละลายน้ำนมแม่ ขั้นตอนเหล่านี้ล้วนเป็นขั้นตอนที่คุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกน้อยจะต้องพิถีพิถันใส่ใจเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องขั้นตอนการปั๊มน้ำนมที่ถูกต้อง เรื่องของอุณหภูมิน้ำนม และเรื่องของความสะอาดในการเก็บสต๊อกน้ำนมและปั๊มน้ำนมแม่  เพราะน้ำนมแม่ ก็ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ลูกน้อยจึงจะต้องได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ทุกคนนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เผยเคล็ดลับ! เทคนิคเพิ่มน้ำนม และจัดตารางการปั๊มนมสำหรับ Working Mom!

สูตรเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอด ตามตำราจีน คนจีนกินอะไรบำรุงน้ำนมให้ไหลพุ่งปรี๊ด!

เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์

ที่มา : 1, 2, 3, 4

บทความโดย

Suttida Butdeewong