5 วิธีจำกัดสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก ช่วยลูกพ้นจากสื่อที่เกินคำว่าเหมาะสม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สื่อออนไลน์นอกจากความรู้ ความสนุก ยังมีอันตรายกับเด็ก ๆ จากการดูสื่อที่ไม่เหมาะสมด้วย วิธีจำกัดสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก จึงเป็นสิ่งพื้นฐานที่พ่อแม่ยุคใหม่จำเป็นจะต้องเรียนรู้อย่างเรื่องไม่ได้ เราจึงจะพามาดูความสำคัญของการจำกัดสื่อ และวิธีจำกัดสื่อของเด็ก ๆ กัน

 

ทำไมต้องจำกัดสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก ?

เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้สื่อออนไลน์เกิดขึ้นมามากมาย ซึ่งแต่ละสื่อก็มีเนื้อหาหลักที่แตกต่างกัน แต่สำหรับบางสื่อที่สร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวมหลาย ๆ อย่างไว้ด้วยกัน ทั้งความรู้ และความสนุก ทั้งเรื่องที่เหมาะสม และเรื่องที่ไม่เหมาะสม ด้วยจำนวนของผู้ที่ใช้สื่อเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เป็นไปได้ยากที่ทางผู้พัฒนาสื่อออนไลน์นั้น ๆ จะควบคุมให้สื่อมีความเหมาะสม หรือมีเนื้อหาที่ถูกต้องเสมอไป

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ผู้ที่เป็นคนรับข่าวสาร เนื้อหาต่าง ๆ อย่างเด็ก ๆ จะต้องมีภูมิคุ้มกัน และรู้จักที่จะคัดเลือกสื่อที่มีความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เด็กเล็กถูกสื่อชักนำเข้าหาสิ่งที่ผิด โดยเฉพาะการ Live สด หรือการดูวิดีโอสั้น ๆ ในสื่อที่เด็กสมัยนี้ชอบดูกันทั้ง Facebook และ TikTok ยิ่งถ้าผู้ปกครองคนไหนยื่นโทรศัพท์ให้ลูกโดยไม่จำกัดสื่อ ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะได้รับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

 

ถ้าไม่จำกัดสื่อให้ลูกจะเป็นอย่างไร ?

การไม่จำกัดสื่อให้กับลูกน้อยนั้น สามารถส่งผลกระทบต่อลูกรักได้มากกว่าที่คิด แม้จะควบคุมสื่อแล้ว การให้ลูกอยู่หน้าจอนานเกินไป เรียนทุกอย่างผ่านหน้าจอ ก็ยังทำให้เกิดผลเสียได้หลายต่อหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น

 

  • เสี่ยงเลียนแบบพฤติกรรมไม่เหมาะสม : การเลียนแบบจดจำพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็กเล็ก นอกจากจะมาจากคนใกล้ตัวแล้ว ลูก ๆ ยังสามารถจดจำมาจากสื่อที่ตนเองดูบ่อยได้ด้วย สื่อที่มีความเสี่ยงจึงเป็นสื่อที่มีความรุนแรง หรือสื่อที่ไม่เหมาะสม แต่ไม่มีผู้ปกครองคอยแนะนำ หรือจำกัดไม่ให้เด็กเข้าถึง เป็นต้น
  • มีผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม : การอยู่ที่หน้าจอนาน ๆ ทำให้ลูกมีความเสี่ยงต่อร่างกายในทางอ้อมได้หลายอย่าง เช่น ลดโอกาสในการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง มีโอกาสที่ตัวจะไม่ค่อยสูง ไปจนถึงผลกระทบโดยตรงต่อระบบการมองเห็น เป็นต้น
  • ขาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ : เด็กที่มีพัฒนาการที่ดี มักจะเกิดจากการมีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว มากกว่าการใช้สื่อออนไลน์เพียงอย่างเดียว เช่น การได้อ่านหนังสือ, การทำกิจกรรมเสริมพัฒนาการต่าง ๆ กับครอบครัว ไปจนถึงการได้ออกไปวิ่งเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อไหร่ที่เด็กควรจะได้เล่นมือถือ ?

สำหรับขอบเขตอายุของเด็กที่สามารถเล่นมือถือ หรืออยู่หน้าจอได้นั้น ไม่ควรน้อยกว่าอายุ 3 ปี หรือจนกว่าเด็กจะสามารถเรียนรู้วิธีการใช้มือถือได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และถึงแม้จะถึงในช่วงที่อายุกำหนดแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเล่นได้เท่าไหร่ก็ได้ แม้จะดูสื่อที่มีประโยชน์ ก็ไม่ควรให้เด็กเล่นมากกว่า 1 ชั่วโมง / วัน และหากสามารถทำได้ ผู้ปกครองควรเล่นกับเด็กด้วย เพื่อสามารถให้คำแนะนำได้ถูกต้อง มากกว่าปล่อยให้เด็กคิดหรือตัดสินใจเองแบบผิด ๆ ไม่เว้นแม้แต่การดูการ์ตูน หรือภาพยนตร์บางประเภท

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็ก 1 ขวบเด็กเกินไปไหมที่จะเล่นไอแพด อายุเท่าไหร่ถึงจะเล่นได้ ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 วิธีจำกัดสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก ต้องลองใช้ดู

ผู้ปกครองคนไหน ๆ ก็ต้องรู้อยู่แล้วว่ามีผลเสียแค่ไหน หากปล่อยให้เด็กติดจอ หรือเมื่อลูกรักไปดูสื่อที่อันตราย วิธีแก้นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งในแบบที่อยู่กับลูก หรือในแบบที่ควบคุมสื่อแม้ไม่ได้นั่งอยู่ด้วย ได้แก่

 

1. จำกัดสื่อด้วยการตั้งค่า

เป็นวิธีที่ควรจะต้องทำก่อนที่จะใช้วิธีต่อ ๆ ไป เพราะช่วยได้แม้ผู้ปกครองไม่ได้นั่งอยู่กับลูก การจำกัดสื่อด้วยการตั้งค่ามือถือให้กับลูกมีอยู่หลายวิธี โดยเราจะแนะนำวิธีที่เป็นศูนย์รวมในที่เดียว นั่นคือ การใช้ แอปพลิเคชัน “Google Family Link” ที่สามารถจำกัดสื่อที่ลูกจะเข้าถึงได้ไม่ว่าจะเป็นจากการค้นหาเว็บไซต์, การดู YouTube หรือจะเป็นการดาวน์โหลดเกมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น นอกจากจะสามารถจำกัดเนื้อหาได้แล้ว ยังสามารถตั้งเวลาในการเล่นมือถือต่อวันให้กับเด็ก ๆ ได้อีกด้วย หากผู้ปกครองคนไหนกำลังมองหาการควบคุมสื่อของเด็ก ๆ ให้ปลอดภัยในตัวเดียว คงต้องลองใช้ดู

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : เสกสรร ปั้น Youtube

 

2. ผู้ปกครองควรอยู่ด้วย

ปัจจุบันอาจมีผู้ปกครองหลายท่านที่มองว่าการใช้มือถือ เป็นวิธีที่จะทำให้ลูกไม่วิ่ง ไม่ซน ความคิดนี้ถูกต้อง แต่ผิดวิธีการ เพราะถึงแม้มือถือจะทำให้ลูกนิ่ง แต่มือถือมีสื่อต่าง ๆ ที่อันตรายต่อเด็ก ๆ หากมีโอกาสผู้ปกครองควรใช้เวลาเล่นกับลูก ๆ ดูสื่อไปพร้อมกับลูก คอยแนะนำ และคอยอธิบายสิ่งที่ลูกเห็น เป็นการช่วยคัดกรอง และปรับความเข้าใจให้เด็กได้ดี นอกจากนี้ยังถือเป็นการใช้เวลาร่วมกับลูกอีกด้วย

 

3. สร้างสรรค์กิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

“คงไม่มีอะไรน่าสนใจ และน่าสนุกไปกว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือ” ผู้ปกครองจะต้องระวังอย่าให้ลูกมีความคิดแบบนี้ ไม่อย่างนั้นต่อให้จะควบคุมการใช้สื่อไปก็อาจไร้ความหมาย เพราะเด็ก ๆ จะร้องขอเล่นอีก จนผู้ปกครองอาจใจอ่อน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ การพาลูก ๆ ไปลองทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสค้นหา และรู้จักตนเองมากขึ้น ทั้งการดูการ์ตูน, ร้องเพลง, เต้น, วาดรูป หรือการพาออกไปข้างนอก นอกจากนี้ยังมีการทำกิจกรรมภายในบ้าน เป็นกิจกรรมหรือแข่งเกมเล็ก ๆ ภายในครอบครัว ก็สามารถสร้างความสนุก และทำให้เด็ก ๆ ได้ความรู้ไปด้วยในตัว

 

4. เป็นแบบอย่างให้กับลูก

การที่จะไปควบคุมเจ้าตัวน้อยให้อยู่กับมือถือน้อยลง หรือไปจำกัดเขานั้น ส่วนหนึ่งผู้ปกครองจะต้องทำให้ลูกเห็นด้วยตัวเองด้วย ไม่อย่างนั้นลูกอาจแย้งว่า “แล้วทำไมคุณพ่อกับคุณแม่เล่นได้ ?” ผู้ปกครองควรทำให้ลูกเห็นว่ามือถือเป็นเพียงทางเลือกที่จะใช้ในเวลาว่าง แต่ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต ตอนอยู่กับลูกจึงควรกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง และชวนลูกทำกิจกรรมเหล่านั้นไปด้วยเลย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ทำได้มีรางวัล

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การที่ให้ลูกทำอะไรสักอย่าง บางครั้งการมีรางวัลเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ ชอบ เพราะดีกว่าทำไปเฉย ๆ ผู้ปกครองอาจรู้ว่าการอยู่กับมือถือนานไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่การอธิบายให้เด็กฟังในเรื่องที่เป็นวิชาการ เด็กอาจไม่เข้าใจ จึงน่าจะดีกว่าหากใช้รางวัลมาชักจูงเด็กบ้างบางครั้ง เช่น ลูกเป็นคนชอบเล่นมือถือมาก และงอแงตลอดเมื่อไม่ได้เล่น ก็ทำข้อตกลงว่า ถ้าอาทิตย์นี้สามารถเล่นในช่วงเวลาที่กำหนด ไม่งอแงได้ครบทุกวัน จะซื้อของเล่นที่อยากได้ให้ เป็นต้น

 

การควบคุมสื่อให้กับลูกที่ยังเล็กสำคัญมาก โดยเฉพาะผู้ปกครองที่ไม่สามารถอยู่กับลูกได้ตลอด เพื่อให้ลูกปลอดภัย จากสื่อออนไลน์ที่ไม่ได้มีเพียงความสนุกอย่างที่เด็ก ๆ คิด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 เหตุผลสำหรับพ่อแม่ในการตัดสินใจว่า ลูกควรมีมือถือ หรือยัง ?

ต้องระวัง ! พ่อแม่ติดมือถือ พฤติกรรมใกล้ตัวที่มีผลต่อพัฒนาการของลูก

เกมมือถือ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง? ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดเกม

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

Sutthilak Keawon