10 สิ่งควรทำก่อน "ทำโทษลูก" อย่างมีเหตุผล สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน

คุณกำลังประสบปัญหากับการ “ทำโทษลูก” หรือเปล่า? การอบรมสั่งสอนลูกเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับพ่อแม่หลายคน ไม่ว่าพ่อแม่คนไหนก็มักประสบปัญหาในช่วงแรกทั้งนั้น หากคุณเป็นหนึ่งในนั้น เรามีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยคุณได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ทำโทษลูก” คำที่อาจสร้างความลำบากใจ บางคนอาจดุลูก บางคนอาจตีลูก หรือถึงขั้นลงไม้ลงมืออย่างรุนแรงแน่นอนว่านั่นไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง การทำโทษลูกต้องเริ่มจากตัวของเราที่จะทำความเข้าใจในความผิดของเด็ก เหตุผลที่เด็กทำ ไปจนถึงการทำโทษที่สมเหตุสมผล สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการที่จะทำโทษเด็กในแต่ละครั้ง

 

วิธีทำโทษลูกเริ่มได้ง่ายแบบมีขั้นตอน

การทำโทษลูกฟังดูง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วควรมีขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อให้การทำโทษนั้นออกมาได้ประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย โดยเราจะมาแนะนำ 10 ข้อต้องรู้ก่อนทำโทษลูก ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทำตามกันทีละข้อ

 

  1. ใจเย็น ๆ เริ่มที่ตัวเรา

เมื่อเด็กทำผิดร้ายแรงไม่แปลกที่คุณพ่อคุณแม่จะเกิดอารมณ์โกรธต่อเด็ก แต่การจะแสดงออกสิ่งใดออกไปจะส่งผลรุนแรงต่อเด็กได้ เขาจะยิ่งจดจำการกระทำของเราจนอาจกลายเป็นปมในใจของเขา หรือเมื่อเขาโตขึ้นอาจนำไปทำต่อกับผู้อื่น ดังนั้นเมื่อเด็กทำผิดสิ่งแรกคือ “ต้องใจเย็น ๆ ” อย่าเพิ่งดุด่า หรือลงมือใด ๆ และค่อย ๆ ทำตามวิธีต่อ ๆ ไปที่เรากำลังจะกล่าวถึงนี้

 

  1. หาความเป็นจริง

จริงอยู่ที่ภาพตรงหน้าคือการกระทำของลูกเมื่อเรามองเห็นด้วยตาเปล่า แน่นอนว่าปกติแล้วก็ต้องถูกลงโทษไปตามระเบียบ แต่หากว่าเขาไม่ได้เป็นคนทำผิด หรือเขามีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ การลงโทษเด็กไปในทันทีจึงอาจฟังดูเป็นเรื่องที่แย่พอสมควร ถ้าหากเราไม่ใจเย็น ๆ แล้วค่อย ๆ ถามถึงสาเหตุที่เขาทำ หรือจริง ๆ แล้วลูกทำ หรือเพื่อนทำจะกลายเป็นว่าตัวของเราเองนั่นแหละที่ตัดสินใจผิดพลาด เด็กอาจรู้สึกไม่ดีกับเราและมองว่าเราไม่ยอมฟังเขาเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. ยุติธรรมอย่างพอดี

การก้าวผ่านเส้นบาง ๆ ที่เรียกว่าความยุติธรรม อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่บางรายวิธีทำโทษลูก มีความสำคัญอย่างมากหากลูกทำผิดจริง เพราะหากปล่อยละเลยเขาแล้วคิดต่อไปเองว่าเขาเป็นแค่เด็กจะยิ่งทำให้เด็กเกิดการจดจำว่าสิ่งที่เขาทำมันไม่ผิด หรืออาจคิดต่อไปว่าถึงผิดก็ไม่ถูกลงโทษ ก็คงไม่จำเป็นต้องกลัวการทำความผิด หากเด็กซึมซับความคิดแบบนี้ยิ่งเขามีอายุที่มากขึ้นจะยิ่งแก้ไขได้ยากกว่าตอนเด็กมาก ยิ่งหากปล่อยให้เคยตัวจนถึงวัยรุ่นจะยิ่งต่อต้านได้มากขึ้นนั่นเอง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ใช้เหตุผลในการลงโทษให้เหมาะสม

เมื่อทำตาม 4 วิธีทำโทษลูกที่เรากล่าวไปแล้ว และได้ผลสรุปออกมาว่าลูกมีความผิดจริง ๆ ขั้นตอนต่อมาคือการลงโทษให้เป็นเหตุเป็นผลจากความผิดที่ลูกมี อย่าใช้ความหนักเบามีกำหนด การทำโทษ เช่น ลูกทำความผิดไม่มากแต่กลับลงโทษรุนแรงและไม่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดของเขาเลย ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย เช่น

 

  • เด็กไม่ยอมเก็บของเล่นปล่อยให้อยู่บนพื้นตั้งแต่เช้า ไม่ควรลงโทษลูกด้วยการไม่ให้เล่นของเล่น 1 วันแต่ควรลงโทษให้เก็บของเล่นเข้าที่
  • เด็กล้างจานของตัวเองไม่สะอาด เพราะห่วงดูรายการทีวีที่เขาชอบ ไม่ควรลงโทษด้วยการให้ล้างจานทั้งหมดในบ้าน หรืองดรายการทีวี แต่ให้เขาล้างจานของตัวเองใหม่ให้สะอาด
  • ลูกกินขนมแล้วไม่ยอมทิ้งถุงขนม วางทิ้งไว้บนโต๊ะ เพราะจะไปเล่นกับเพื่อน ไม่ควรลงโทษด้วยการห้ามเขาไปเล่นกับเพื่อน 1 อาทิตย์ แต่ให้เขาเก็บขยะของตัวเองให้หมดก่อนจะออกไปเล่น

 

นอกจากจะทำโทษจากต้นเหตุที่ลูกทำผิดแล้ว ยังสามารถทำโทษเขาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในสังคม ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • Time out : การให้นั่งนิ่ง ๆ อยู่ที่มุมห้องตามระยะเวลาที่เหมาะสม วิธีนี้เหมาะกับเด็กเล็กอายุ 4-5 ปี
  • ต่อรองด้วยกิจกรรม : ให้นำกิจกรรมที่ลูกชอบมาต่อรองว่าหากเขาไม่ยอมปรับปรุงตัวอาจมีการยกเลิกการไปเที่ยว หรือยกเลิกของเล่นที่กำลังจะซื้อให้ วิธีนี้เหมาะกับเด็กโต 6 ปี ขึ้นไป

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : รวมวิธีลงโทษลูกได้ผลดีแบบไม่ต้องลงมือตี!!!

 

วิดีโอจาก : PRAEW

 

  1. คำนึงในมุมมองของเด็กด้วย

การทำโทษเด็กให้ได้ผลต้องมองในความคิดของเด็กด้วยว่า หากเราเป็นเด็กมีแรงจูงใจในการทำผิดแบบนี้เหมือนกันหรือไม่ แล้วแรงจูงใจนั้นอยู่ในมุมที่เข้าใจได้หรือไม่ หากมองในมุมมองของเด็กจะยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจในการกระทำของเขาได้ และค่อยทำโทษเขาด้วยวิธีการจากข้อที่ 4 ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำโทษทั้งในมุมมองของเด็กและมุมมองของคุณพ่อคุณแม่

 

  1. ห้ามโต้เถียงกับเด็กมากเกินไป

การเถียงกับลูกไปมาจะยิ่งทำให้เขาไม่ยอมแพ้ด้วยความเป็นเด็ก หรืออาจทำให้เกิดผลในเชิงลบมากขึ้นกว่าเดิมก็ได้เช่นกัน ในบางครั้งเขาอาจอยู่ในอารมณ์ที่รุนแรง คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ ให้เขาพูดจบฟังว่าลูกจะพูดอะไรก่อน หากไม่มีเหตุผลที่เพียงพอกับเรื่องที่เขาทำ ก็ต้องยืนยันที่จะทำโทษ พร้อมกับอธิบายให้เขาทราบเสมอว่าทำไมต้องถูกทำโทษ และควรทำอย่างไรถึงจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

 

  1. อย่าสร้างความอับอาย

ไม่ว่าจะวัยไหนก็ไม่ควรถูกประจานการกระทำผิดในที่สาธารณะ เพราะทุกคนก็เคยทำผิดมาก่อน และไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำผิดตลอดไป เด็กเองก็เช่นกัน วิธีทำโทษลูกที่ถูกต้องจะต้องระมัดระวังการแสดงออกในที่สาธารณะ เช่น การดุเสียง การตี หรือการกระทำอื่น ๆ ที่สร้างความอับอายให้กับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไปเขาเข้าใจในการกระทำต่าง ๆ ได้มากขึ้นก็จะยิ่งสนใจสิ่งรอบตัว และยิ่งมีผลมากขึ้นกับวัยรุ่น เขาจะยิ่งจดจำไม่พอใจ และเก็บปัญหาไว้คนเดียวซึ่งจะเป็นผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. อธิบายถึงรายละเอียด

เมื่อลงโทษลูกแล้วก็ต้องบอกเขาด้วยว่าเมื่อเขาทำผิดควรแก้ปัญหาอย่างไร แล้วทำไมถึงผิด อย่าเอาแต่ทำโทษแต่ไม่บอกอะไรกับเด็ก หากทำแบบนั้นจะเป็นการลงโทษที่สูญเปล่า เพราะเด็กเล็กก็คงไม่เข้าใจอยู่ดีหากไม่ได้รับฟังคำอธิบายจากคุณพ่อคุณแม่

 

  1. พูดชมเขาหากเขาไม่ผิด

เมื่อทำตามวิธี ทำโทษลูก ที่เรากล่าวไปแล้ว 7 ข้อ อย่าลืมที่จะกล่าวชื่นชมในช่วงเวลาที่เขาไม่ผิด หากเขาทำสิ่งดีมีความเข้าใจ และไม่สร้างปัญหาใด ๆ ลูกควรได้รับรางวัลด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันความคิดที่ว่า “ทำผิดโดนลงโทษ แต่พอทำดีกลับไม่มีแม้แต่คำชม” นอกจากนี้การที่เขาได้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ จะยิ่งทำให้เขาเข้าใจว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

 

  1. ความรักเป็นสิ่งสำคัญ

เด็กอาจทำผิดไปบ้างในบางเวลา ไม่เคยมีใครที่ไม่ทำความผิดเลยในทุกช่วงเวลาของชีวิต แต่สำหรับเด็กที่ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เขาอาจคิดไปเองว่าเมื่อเขาแล้วถูกทำโทษคงเป็นเพราะเราไม่รักเขาอีกแล้วเลยทำแบบนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยพูดคุยกับเด็กแสดงความรักให้เขาเห็นเพื่อไม่ให้เขาคิดไปเองว่าคนอื่น ๆ ไม่รักเขาแล้ว

 

สิ่งที่จะขาดไม่ได้จากการทำโทษลูกคือความเข้าใจที่ต้องมีมากพอ และอย่ามองข้ามเมื่อเด็กต้องการอธิบาย เพราะการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ กับเด็กอาจส่งผลต่อตัวตนของเขาไปตลอดชีวิต

 

บทความที่น่าสนใจ

ตีลูกดีไหม จะผิดไหมถ้ายังทำโทษลูกด้วยการตี!!!

ลูกโยน-ขว้างสิ่งของ เมื่อความ "โกรธ" ไม่ใช่เรื่องตลก แต่รับมือได้ใน 4 ขั้นตอน

“ขโมยของ หยิบเล็กหยิบน้อย” เมื่อเด็กกลายเป็นจอมโจร Robin Hood ควรแก้อย่างไร

 

ที่มาข้อมูล : amarinbabyandkids

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team