การฝึกให้ลูกน้อยเลิกขวดนม เป็นก้าวสำคัญอย่างหนึ่งในพัฒนาการของเด็ก แต่หลายครั้งกลับเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใจให้คุณแม่ เพราะไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี จะหักดิบเลยได้มั้ย ลูกจะงอแงหรือเปล่า ถ้าทำไม่สำเร็จจะเป็นยังไง การติดขวดนมส่งผลต่อพัฒนาการด้านการกินและสุขอนามัยในช่องปากลูกจริงหรือ แล้วถ้า ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม ทำไงดี ตามมาดูวิธีแก้ปัญหาลูกน้อยติดขวดนมกันค่ะ
สารบัญ
ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม เป็นปัญหายังไง?
พฤติกรรมการกินที่ดี จะส่งผลต่อสุขภาพ และการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพของลูกน้อย ซึ่งเมื่อลูกมีอายุ 1 ขวบขึ้นไป ควรได้กินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ อันเป็นแหล่งของสารอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน รวมถึงสารอาหารรองอย่างวิตามินและแร่ธาตุ โดยมี “นม” เป็นอาหารที่เสริมจากมื้อหลัก โดยเฉพาะนมแม่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ภูมิคุ้มกัน และสมองของลูกน้อย ขณะเดียวกัน
หากลูกวัย 1 ปีไม่ได้กินนมแม่แล้ว “นมวัว” ก็เป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียมที่ลูกดื่มง่าย แต่ควรเปลี่ยนวิธีการกิน โดยไม่ควรกินจากขวด เนื่องจากการดูดนมจากขวดโดยที่ ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้ ดังนี้
- ปัญหาสุขภาพในช่องปาก เช่น ฟันผุ ในกรณีลูกติดการดูดนมจากขวดเป็นเวลายาวนาน มักเกิดฟันผุได้ทุกซี่ในปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันซี่หน้าทั้งบนและล่าง รวมถึงมีภาวะกลิ่นปากรุนแรงร่วมด้วย ซึ่งมักพบร่วมกับการแปรงฟันที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือลูกไม่ชอบแปรงฟัน และลูกไม่ยอมเลิกขวดนม ควบคู่กัน
- เสี่ยงต่อปัญหาเรื่องฟัน การดูดขวดนมเป็นเวลานานไม่เพียงทำให้ฟันผุเท่านั้น แต่ยังสร้างปัญหาเกี่ยวกับ “ฟันไม่สบกัน” ได้ด้วย
- การกินมีปัญหา ลูกน้อยอาจไม่สนใจอาหารอื่นๆ เนื่องจากติดรสชาติของนมในขวด
- มีปัญหาการนอน การดูดขวดนมก่อนนอนอาจทำให้ลูกน้อยติดนิสัยและหลับยาก
- ผลกระทบด้านพัฒนาการทางปาก การที่ ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม ดูดนมจากขวดจนติด อาจส่งผลต่อการพัฒนาการของกล้ามเนื้อในช่องปากและลิ้นได้ และอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อที่หูชั้นกลางได้ง่ายขึ้น
ควรให้ลูกเลิกขวดนมเมื่อไร
ตามคำแนะนำของ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย นั้นบอกไว้ว่า เด็กควรเลิกดูดนมจากขวดตั้งแต่อายุ 1 ปี แต่ไม่ควรเกินอายุ 1 ปีครึ่ง เนื่องจากเด็กที่ดูดนมจากขวดจะกินนมในปริมาณมากกว่ากินจากแก้ว จึงไม่ค่อยกินอาหารอื่นๆ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก มีผลทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และขาดวิตามินซี
ทั้งนี้ อย่างช้าที่สุด ลูกควรเลิกขวดนม ไม่ควรเกิน 2 ขวบ เพราะหากเกิน 2 ขวบแล้ว นอกจากปัญหาสุขภาพที่บอกไว้แล้ว ยังอาจมีปัญหาด้านพัฒนาการอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย รวมถึงยิ่งโตขึ้นมาก รู้เรื่องมากขึ้น ประกอบกับความเป็นตัวของตัวเองสูงของช่วงวัย 2 ขวบ จะยิ่งทำให้การเลิกขวดนมยากมากขึ้นไปอีกค่ะ
อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติและพัฒนาการแล้ว ลูกน้อยจะเลิกขวดนมได้ทันทีที่สามารถดูดน้ำหรือนมจากขวด หรือจากกล่องได้แล้ว ซึ่งจะอยู่ที่อายุราว 8-9 เดือน คุณแม่สามารถเปลี่ยนจากการดื่มนมจากขวดเป็นแก้วหัดดื่ม หรือภาชนะอื่นได้เลย
แนวทางจัดการ ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม |
|
เด็กเล็ก | เด็กโต (ที่ไม่ยอมเลิกขวด) |
|
|
เทคนิคและวิธีแก้ปัญหา ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม
โดยทั่วไปคุณแม่ส่วนใหญ่จะมีวิธีจัดการให้ลูกเลิกขวดนมได้ประมาณ 2 วิธีหลักๆ ค่ะ นั่นก็คือ เลิกแบบละมุนละม่อม ค่อยเป็นค่อยไป (ตามตารางแนวทางจัดการ ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม ด้านบน) แต่ก็มีคุณแม่บางบ้านที่ใช้วิธีหักดิบไปเลย ซึ่งสามารถทำได้ทั้ง 2 แบบ แล้วแต่แนวทางการเลี้ยงดูของแต่ละบ้านค่ะ อย่างไรก็ตาม เรามีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ช่วยให้ลูกเลิกขวดนมมาฝาก ดังนี้ค่ะ
-
เริ่มดูดน้ำจากแก้วให้เร็ว
คือการให้ลูกน้อยลองดูดน้ำผ่านแก้วตั้งแต่เริ่มฝึกกินอาหาร คือช่วงวัยประมาณ 5-6 เดือน โดยเริ่มจากแก้วฝึกดูด เมื่อลูกเก่งขึ้นจึงฝึกให้ดูดเองโดยให้กินน้ำจากแก้วเท่านั้น ไม่ใส่ขวดนม หรือคุณแม่จะให้ฝึกกินในแก้วแบบเปิดด้วยก็ได้ ซึ่งเมื่อเริ่มชินกับการดูดน้ำจากแก้ว ลูกน้อยจะสามารถเลิกขวดนมได้ง่ายขึ้น และบางครั้งลูกอาจปฏิเสธขวดเองโดยที่คุณแม่ไม่ต้องบังคับใดๆ เลยค่ะ
-
ค่อยๆ ลดจำนวนครั้งของการใช้ขวดนม
หากลูกน้อยยังกินนมกินน้ำจากขวดบ้าง แก้วบ้าง อาจลองใช้เทคนิคนี้เพิ่มเติม โดยแนะนำให้ค่อยๆ ลดการใช้ขวดนมค่ะ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกกินนม 3 มื้อ ให้สลับภาชนะและอุปกรณ์การกินนมในแต่ละมื้อ ซึ่งคุณแม่อาจใช้เทคนิคลดการใช้ขวดนม ดังนี้
เทคนิคลดการใช้ขวดนม |
|
สัปดาห์ที่ 1 |
|
สัปดาห์ที่ 2 |
|
สัปดาห์ที่ 3 |
|
สำหรับกรณีที่ลูกกินนมจากขวดในมื้อดึก คุณแม่ต้องทำใจและเข้าใจนะคะว่าเป็นมื้อที่เลิกขวดได้ยากที่สุด เนื่องจากเด็กบางคนติดการดูดขวดนมแล้วหลับไป ดังนั้น การเลิกขวดนมมื้อดึกในช่วงแรกลูกน้อยอาจร้องไห้งอแงให้คุณแม่ได้งัดความอดทนขั้นสุดออกมาใช้ คู่กับวิธีการกล่อมอื่นๆ เช่น การอุ้มปลอบ ร้องเพลงกล่อม เล่านิทาน โดยอาจใช้เวลา 2-5 วัน เชื่อว่าลูกค่อยๆ ชินและปรับตัวได้ค่ะ
-
เลิกขวดนมแบบหักดิบ
เป็นวิธีการที่ทำได้นะคะ ซึ่งเราไม่ค่อยแนะนำค่ะ แต่หากจำเป็นต้องทำกรณีที่ไม่สามารถเลิกขวดได้จริงๆ ภายในช่วงวัยที่เหมาะสม คุณแม่ก็อาจใช้วิธีหักดิบ โดยการเก็บขวดนมไม่ให้ลูกเห็น แล้วเปลี่ยนเป็นแก้วทันที แล้วบอกลูกว่า ขวดนมพังแล้ว ซึ่งแน่นอนค่ะน้ำหูน้ำตาและความรู้สึกว่าโลกจะถล่มน่าจะถาโถมมาสักพัก อาจต้องใช้ความพยายามในการอธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการสูญเสียบางสิ่งบางอย่างอันเป็นเรื่องธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้เสมอ และนับว่าเป็นช่วงทดสอบความอดทนของคุณพ่อคุณแม่เช่นกัน แต่มักใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ลูกน้อยจะสามารถปรับตัวได้ค่ะ
-
เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม
โดยควรเริ่มฝึกให้ลูกเลิกขวดนมในช่วงที่ลูกอารมณ์ดี เนื่องจากขวดนมอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกมีความสุข การหยุดสิ่งนั้น ควรทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่ช่วงที่ลูกหงุดหงิด หรือเจ็บป่วย
-
ทำให้การกินจากแก้วอร่อยกว่า
หลังวัย 1 ขวบ ลูกน้อยจะกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้นแล้ว ดังนั้น คุณแม่อาจลองเสิร์ฟเครื่องดื่มอร่อย ๆ ผ่านแก้ว เช่น น้ำผลไม้ปั่น จะทำให้ลูกรู้สึกเริ่มชื่นชอบแก้วมากกว่าขวดนม แล้วอย่าลืมเลือกแก้วน่ารักๆ ที่ลวดลายสีสันถูกใจลูกน้อย ใช้งานง่าย ดูดง่าย ลูกจะเลิกขวดนมได้ง่ายขึ้นค่ะ
การที่ ลูกไม่ยอมเลิกขวดนม สามารถเลิกดูดนมจากขวดได้ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวของการเติบโตทางพัฒนาการนะคะ ดังนั้น การให้รางวัลลูกเมื่อทำสิ่งนี้ได้สำเร็จ คำชมและอ้อมกอดอันอบอุ่น จะช่วยสร้างพลังแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาตัวเองของลูกน้อยในเรื่องอื่นๆ ได้ต่อไปนะคะ
ที่มา : www.thaipbskids.com , www.patrangsit.com , www.drnoithefamily.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
10 เคล็ดลับ ฝึกลูกเลิกแพมเพิส โบกมือลาเพิสลูก ฝึกยังไงให้ได้ผล ?
ให้เกียรติลูกบนโลกออนไลน์ ขออนุญาตก่อนโพสต์ สร้างพื้นที่ปลอดภัย และส่งเสริมพัฒนาการ
เคล็ดลับ วิธีการเลือกยาสีฟันสำหรับเด็ก ควรเลือกอย่างไร?