สำหรับทุกคน หนังสือเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น นอกจากจะให้ความรู้แล้วยังให้คุณได้มองโลกในมุมมองที่หลากหลายขึ้นด้วย แถมยังทำให้สมองทำงาน ฝึกการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เพราะ ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ แล้วเราจะทำอย่างไรให้ลูกอยากหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านล่ะ เพราะเด็กบางคน ไม่ชอบอ่านหนังสือ เด็กอ่านหนังสือ แป๊บ ๆ ก็ว่อกเเว่กไปทำอย่างอื่นแทน เรามาดูกันว่าคุณแม่ควรทำ และไม่ควรทำสิ่งไหน
สิ่งที่ควรทำ เด็กอ่านหนังสือ
1. อ่านให้ลูกเห็นเป็นประจำ พ่อแม่ควรทำเป็นตัวอย่าง เมื่อเด็กเห็นว่าพ่อแม่ทำอะไรเขาก็จะทำตาม
2. เล่านิทานให้ลูกฟัง ถึงแม้ว่าลูกคุณจะยังเล็กเป็นเด็กทารกยังฟังไม่รู้เรื่อง จริง ๆ แล้ว พ่อแม่สามารถอ่านนิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้องเลย
3. เล่านิทานให้ลูกฟัง ถึงแม้ว่าลูกคุณจะโตแล้วอ่านหนังสือได้เองแล้ว การอ่านให้ลูกฟังเป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูก และทำให้ลูกเห็นว่าเราเป็นครอบครัวที่รักการอ่าน
3. อ่านเรื่องเดิมหลายรอบ ไม่ว่าคุณจะอ่านเรื่องเดิมให้ลูกฟังมาเป็น 10 ครั้งแล้ว ถ้าลูกยังอยากฟังเรื่องเดิมอยู่ก็อ่านเรื่องเดิมนั่นแหละ เมื่อเด็กมีความต้องการให้คุณหยิบหนังสือมาอ่าน คุณต้องอย่าปิดกั้นความต้องการนั้น
4. เวลาอ่านให้ลูกฟัง อ่านให้มีจังหวะ และได้อารมณ์ของเรื่อง ให้ลูกได้เอาใจเข้าไปอยู่ในนิทานเรื่องนั้น เพื่อให้เขาสนุกกับหนังสือ
5. สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน หนังสือที่ใช้คำคล้องจองจะช่วยให้เด็กจำคำศัพท์ได้มากขึ้น
6. เวลาเห็นลูกนั่งอ่านหนังสือเงียบ ๆ ให้คุณเข้ามานั่งใกล้ ๆ และอ่านหนังสือของคุณไปข้าง ๆ
7. ชมลูกเมื่อเห็นลูกมีความพยายามที่จะอ่านหนังสือ เมื่ออ่านออกเสียง หรือเมื่ออ่านจบเล่ม
8. ทำที่วางหนังสือให้เป็นสัดส่วนที่เป็นของลูกและสอนให้ลูกเปิดใช้หนังสืออย่างถนอม
9. ทำให้ในบ้านมีหนังสือหลากหลายประเภท
10. พูดคุยเรื่องหนังสือกับลูก ให้ลูกเล่าให้ฟังว่าเรื่องที่อ่านสนุกยังไง
สิ่งที่ไม่ควรทำ ตอน เด็กอ่านหนังสือ
1. แก้คำที่ลูกอ่านออกเสียงผิด – การแก้คำผิดทันที นอกจากจะทำให้อารมณ์ของการอ่านนิทานสะดุดแล้ว ยังเป็นการลดความมั่นใจของเด็กและทำให้เด็กอยากอ่านน้อยลง หากคุณยังอยากสอนให้ลูกอ่านให้ถูก คุณสามารถสอนทางอ้อมได้ โดยการพูดคำที่เด็กอ่านผิดไป ในช่วงของการใช้ชีวิตประจำวันบ่อย ๆ เด็กก็จะคิดได้เองว่าคำที่อ่านไปเมื่อคืนน่าจะอ่านผิด ยังไงคำศัพท์ส่วนใหญ่ในหนังสือเด็กก็เป็นคำที่เราใช้ทั่วไปอยู่แล้ว
2. ห้ามลูกอ่านหนังสือที่คุณคิดว่าไม่มีประโยชน์ – เมื่อลูกมีความรักการอ่าน อย่าหยุดเขา เขาอยากอ่านอะไรก็อ่านไป ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน หนังสือที่มีแต่รูป หนังสือขำขัน หรือหนังสือที่คุณไม่ชอบ เด็กที่โตแล้วบางคนอาจจะเลือกแต่หนังสือที่มีตัวหนังสือตัวใหญ่หรือหนังสือที่เหมาะกับเด็กเล็กกว่า ก็ปล่อยเด็กเลือกหนังสือของเขาไป เมื่อเขาโตขึ้น เดี๋ยวเขาก็จะหยิบหนังสือที่เหมาะสมเอง
3. เลือกแต่หนังสือวิชาการที่มีเนื้อหาหนัก ๆ จะทำให้เด็กเกลียดการอ่านหนังสือ
4. จัดตารางเวลาการอ่านหนังสือ – เด็กไม่ชอบการบังคับ การจัดตารางก็เช่นกัน อยากอ่านหนังสือเมื่อไหร่ สะดวกที่ไหนก็อ่านได้เลย
5. อ่านนิทานให้ลูกฟังเป็นภาษาที่คุณไม่ถนัด – สมัยนี้พ่อแม่หลายท่านอยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ โดยการส่งลูกเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนสอนภาษาต่าง ๆ แต่เมื่อคุณเองพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดี คุณก็ไม่ควรอ่านนิทานเป็นภาษาอังกฤษที่คุณไม่ถนัด แม้ว่าจะส่งลูกเรียนนานาชาติ คุณก็สามารถอ่านนิทานไทยให้ลูกฟังได้ เพราะคุณจะอ่านได้ดีกว่า ได้รสกว่า และสนุกกว่านั่นเอง นอกจากเด็กจะได้ทั้งสองภาษาแล้ว เขายังได้ซึมซับแนวคิดและการเขียนของจากทั้งสองวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่กลัวการพูดหรือเรียนรู้ภาษาอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 9 สัญญาณอันตรายเมื่อเจ้าตัวเล็กเป็น “โรคติดทีวี”
เริ่มจากการอ่านหนังสือที่ชอบ อ่านเพื่อความสนุกค่ะ ให้รักการอ่านก่อน ให้ลูกอยากไปหยิบหนังสืออะไรก็ได้มาอ่านโดยที่เราไม่ต้องบังคับ ที่สำคัญพ่อแม่ต้องพาอ่านและพ่อแม่ต้องอ่านให้ดู เคยเห็นไหมคะ ถ้าเราสูบบุหรี่ให้ลูกเห็นลูกก็จะอยากลอง พ่อแม่ที่จับโทรศัพท์ เล่นมือถือบ่อยๆ ลูกก็มีแนวโน้มจะติดมือถือไปด้วย เพราะอะไรที่พ่อแม่ทำ ลูกจะอยากทำตาม ฉะนั้นอ่านบ่อยๆ ให้ลูกเห็น quality time เวลาอยู่กับลูกไม่จำเป็นต้องหยอกล้อ เล่นสนุกกันตลอดเวลา
ทำ quiet time เลือกหนังสือที่ชอบมานั่งอ่านข้างๆกันก็ดี
อีกอย่างที่อยากให้คิด แม้ผู้ใหญ่เองยังไม่อยากอ่านหนังสือวิชาการ ทำไมคุณคิดว่าลูกๆจะชอบหนังสือเรียน?
สำหรับครอบครัวเราสนับสนุนการอ่านลูก มีหนังสือเยอะมาก พาลูกอ่านบ่อยๆด้วย และเราคุยกันว่าถ้าลูกทำดีในห้องเรียน เกรดไม่ตก วันหยุดวันว่างถ้าอยากอ่านหนังสือ อยากให้ลูกอ่านเพื่อนคลายเครียด อ่านแบบมีความสุขกับตัวหนังสือ ไม่ใช่มาหมกมุ่นอ่านหนังสือเรียนต่อ ยกเว้นช่วงสอบค่ะ
บทความนี้รวบรวมมาจากการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ จัดโดย International Parenting Network (IPN) ภายใต้หัวข้อ “How to help your child catch the reading bug” โดย Preethi Stalder ครูสอนภาษาอังกฤษและบรรณารักษ์โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ ทำงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการอ่านของเด็ก
พ่อแม่ที่อยากหาเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อช่วยพัฒนาการเลี้ยงลูกของตัวเองและพบปะพ่อแม่คนอื่น ๆ สามารถเข้าไปหากิจกรรมและเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ International Parenting Network (IPN) ได้ที่ ipnthailand.com
ที่มาจาก : https://th.theasianparent.com/10-
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ข้อดีของการอ่านนิทานก่อนนอน ให้ลูกฟัง ว่ากันว่ามันคือกิจกรรมที่ทรงพลังที่สุด
เคล็ดลับสร้างนิสัยการอ่าน
คุยกับลูกโดยใช้คำถามแบบเปิด ช่วยพัฒนาความคิด