วิธีปราบเด็กชอบโกหก ให้อยู่หมัด

เด็กในช่วงวัย 4 – 5 ขวบ เป็นช่วงที่หนูน้อยกำลังช่างพูด ช่างซัก ช่างถาม บางทีก็มีเรื่องคุยเรื่องโน้นเรื่องนี้ไม่หยุดหย่อน เพราะวัยนี้เริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาลกันแล้ว แต่ถ้าคุณแม่พบว่าเรื่องที่เจ้าหนูเล่านั้นไม่เป็นความจริง แสดงว่าลูกกำลังพูดโกหกอย่างนั้นหรือ เด็กจะพูดโกหกเพื่ออะไร จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่ ทำความเข้าใจทำไมหนูถึงโกหก จะมี วิธีปราบเด็กชอบโกหก แบบไหนบ้าง

วิธีปราบเด็กชอบโกหก ให้อยู่หมัด

นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล  จิตแพทย์ทั่วไป  โรงพยาบาลมนารมย์ ให้ข้อมูลว่า “ถ้าหากมองในแง่ดี การโกหกเป็นธรรมชาติของเด็ก เพราะโดยพื้นฐานทางจิตใจของเด็กนั้น จะไม่โหดร้ายเหมือนกับผู้ใหญ่ และการโกหกส่วนใหญ่อาจจะมีเหตุผลบางประการ เช่น เกรงว่าจะถูกทำโทษเมื่อทำผิด กลัวพ่อแม่จับได้จึงจำเป็นต้องโกหก

ต้องพิจารณาถึงสาเหตุด้วยว่า เพราะอะไรเด็กถึงไม่ไว้ใจพ่อแม่ เวลาทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมลงไป ซึ่งพ่อแม่เองก็ไม่ควรมานั่งจับผิด หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีใส่เด็ก ซึ่งการสร้างมาตรการลงโทษแบบแก้ไขที่ปลายเหตุ มักใช้ไม่ได้ผล เพราะเด็กจะถูกมองเป็นเด็กไม่ดี และมองตัวเองด้อยคุณค่าลงไปได้ และเมื่อโตขึ้น เด็กจะมีพฤติกรรมร่วมกับการโกหกอีกหลายอย่าง จนกลายเป็นเด็กมีปัญหาในที่สุด” จิตแพทย์กล่าว 

รู้แบบนี้แล้ว  มาดูกันว่าจะมีวิธีปราบเด็กพูดโกหกให้อยู่หมัดทำได้อย่างไร  เพื่อไม่ให้เจ้าหนูติดนิสัยไปจนโต การปราบเด็กพูดโกหกไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลยค่ะ  ก็หนูไม่รู้นี่นา!!! แค่ไม่อยากถูกดุเท่านั้นเอง   มาดูกันค่ะจะใช้วิธีใด

1. สร้างความไว้วางใจแก่ลูก

เพื่อเวลาที่ลูกทำผิดหรือทำสิ่งไม่ดีลงไป ลูกจะได้กล้าปรึกษา แทนที่ลูกจะกลัวความผิด และใช้วิธีการโกหก โดยหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเปิดโอกาสให้ลูกได้โกหก เช่น เมื่อลูกเล่นน้ำในแก้ว และคุณเห็นว่า ลูกทำน้ำหกเลอะพื้น แทนที่คุณแม่จะถามลูกว่า “นั่นลูกทำอะไรน่ะ”  คุณแม่อาจจะได้คำตอบจากลูกว่า  เปล่าทำ ไม่ได้ทำ เพราะรู้สึกว่า ตัวเองกำลังจะโดนดุ หรือโดนทำโทษ  ให้บอกลูกไปเลยว่า “แม่เห็นลูกทำน้ำหก ไปหาผ้ามาเช็ดพื้นเลย” ดีกว่าเดี๋ยวใครเดินผ่านมาจะลื่นหกล้มได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ไม่ควรตำหนิหรือดุด่าลูกเมื่อลูกทำความผิด

แต่ควรใช้เหตุผลพูดคุยกัน เพราะบางทีการที่เด็กถูกตำหนิ อาจจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมชอบโกหก และบางครั้งพฤติกรรมเหล่านั้นก็อาจจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น  พยายามหลีกเลี่ยงการกล่าวโทษ หรือลงโทษลูก เช่น ว่าลูกเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เป็นจอมโกหก เพราะเท่ากับเป็นการสร้างภาพในด้านลบให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก และส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก อีกทั้งยังทำให้พวกเขากลายเป็นเด็กพูดปดจริง ๆ มากขึ้น

3. อย่าใจอ่อน

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตั้งใจจะฝึกวินัยให้ลูก เมื่อลูกพูดโกหก ลูกจะต้องมีการทดแทนแก้ไขสิ่งที่ผิดนั้น คุณแม่ไม่ควรพูดคำว่า “ทีหลังอย่าทำเช่นนี้อีก” เพราะคำพูดเช่นนี้จะไม่ได้ผล และเด็กยังคงทำอีกเช่นเคย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งสุดท้าย คือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องดูว่าชีวิตจริงของลูกนั้นมีความสุขหรือไม่ จึงทำให้ลูกชอบจินตนาการและอยู่ในความเพ้อฝัน ดังนั้น จึงควรให้เวลากับลูก ได้เล่นกับลูก ให้ความรัก ความอบอุ่นและความมั่นคง ขอให้คุณพ่อคุณแม่คิดไว้เสมอว่า ลูกจะไม่พูดโกหกหรือพูดปดถ้าลูกมีความสุขใจ

ถ้าลูกโกหก อาจจะทำโทษลูกด้วยการให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนรอบข้าง

4. ฝึกความรับผิดชอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งสำคัญที่ควรฝึกให้ลูก คือ ความรับผิดชอบ  เริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว ได้แก่  การบ้าน  คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต  สอบถาม  และช่วยตรวจดูการบ้านหรืองานที่คุณครูสั่งมาจากทางโรงเรียน หรืออาจใช้วิธีการสอบถามจากคุณครูเวลาที่ไปรับลูกที่โรงเรียนก็ได้  เมื่อกลับถึงบ้านแล้ว   หากลูกจะขอดูทีวีหรือเล่นเกมหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ก่อน

คุณพ่อคุณแม่ควรคุยกับลูกโดยใช้เหตุผล  แสดงให้ลูกเห็นหากหนูทำการบ้านเสร็จแล้ว    หนูก็จะได้ทำกิจกรรมที่ต้องการได้อย่างสบายใจจะช่วยปลูกฝังความรับผิดชอบในตัวลูก    อีกทั้งลูกไม่ต้องโกหกพ่อแม่ว่าทำการบ้านเสร็จแล้ว  ที่สำคัญต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิด  เป็นที่ปรึกษาหรือคอยช่วยเหลือแนะนำ  คุณแม่จะต้องทำให้ลูกรู้ว่า    หากหนูได้ทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างดีแล้ว เขาจะได้ดูทีวีอย่างสบายใจ โดยที่พ่อแม่เองก็เคารพสิทธิ์ของเขาเมื่อเขารู้จักรับผิดชอบ เป็นการสอนวินัยไปในตัวด้วย

การสอนให้ลูก มีระเบียบวินัย ก็ช่วยแก้ปัญหา ลูกชอบโกหก ได้เช่นกัน

5. ชมเชยเมื่อลูกทำดีและมีความซื่อสัตย์

ชมเชยเมื่อลูกซื่อสัตย์ ธรรมดาแล้วเด็ก ๆ อยากทำให้พ่อแม่ชอบใจ คุณควรใช้แนวโน้มนี้ให้เป็นประโยชน์ ทำให้ลูกรู้ว่าในครอบครัวความซื่อสัตย์เป็นเรื่องสำคัญมาก   และคุณก็อยากให้ลูกเป็นคนซื่อสัตย์  ไม่พูดปดมดเท็จ  คุณควรทำให้ลูกเข้าใจว่า  การโกหกนั้นสามารถทำลายความเชื่อใจกัน    และต้องใช้เวลานานกว่าที่คนอื่นจะกลับมาเชื่อใจเราอีกครั้ง  ดังนั้น  ถ้าคุณพ่อคุณแม่ชมเชยลูกบ่อย ๆ เมื่อลูกพูดความจริง ก็จะช่วยให้เขาอยากเป็นคนซื่อสัตย์ อย่างเช่น คุณอาจพูดว่า “หนูเก่งมากเลยที่พูดความจริงนะจ๊ะ”

6. พ่อแม่คือแบบอย่างที่ดีของลูก

เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก คุณพ่อคุณแม่อย่าคาดหวังว่าลูกจะพูดความจริง   ถ้าลูกเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่พูดความจริง เช่น ตอนที่คุณไม่อยากรับโทรศัพท์ คุณบอกลูกว่า “บอกเขานะว่าพ่อไม่อยู่บ้าน” ทั้ง ๆ ที่คุณอยู่บ้าน หรือบอกว่า “ฉันไปไม่ได้ ฉันไม่สบาย” ทั้ง ๆ ที่คุณสบายดีแต่แค่อยากพักผ่อน  ในความเป็นจริง  พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่พูดโกหกให้ลูกเห็น เพราะลูกอาจเลียนแบบจนติดเป็นนิสัย เข้าใจผิดว่าการโกหกเป็นเรื่องปรกติที่สามารถทำได้

ที่สำคัญพ่อแม่จะต้องพยายามสังเกตว่าลูกมีอาการป่วยทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า ความบกพร่องทางสติปัญญา หรือมีปัญหาเรื่องภาษาหรือไม่ เนื่องจากเด็กที่มีปัญหากลุ่มนี้อาจโกหกโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำไปเพราะพวกเขาป่วย   หากสงสัยว่าลูกมีภาวะดังกล่าวควรพามาพบจิตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

 

เห็นไหมคะว่า การฝึกลูกไม่ให้เป็นเด็กพูดปด หรือพูดโกหกทำได้ไม่ยาก เพราะจริง ๆ แล้วเจ้าหนูอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังโกหกอยู่  เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใจใส่  ใกล้ชิดดูแล  ให้ความรักความเข้าใจแก่ลูก รวมถึงการใช้เหตุผล  หลีกเลี่ยงการทำโทษหรือดุว่ารุนแรง  และทำตามคำแนะนำหรือใช้เป็นแนวทางในการปราบลูกโกหกให้อยู่หมัดค่ะ

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อ ติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัว ไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”


Source หรือ บทความอ้างอิง : childmind.org

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

เมื่อไหร่ควรลงโทษลูกแบบ time in หรือ time out

รับมือโรคซึมเศร้าในเด็ก

5 เคล็ดวิธีปรับทัศนคติใหม่ให้ลูกเลิกโกหกอย่างถาวร!

คำโกหกสีขาว (white lie) ที่เราบอกเด็ก ๆ