ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน เหมือนลูกคนอื่นๆ ทำอย่างไรดีนะ

ปัญหาลูกไม่ยอมนอนกลางวันพบได้ทั้งในเด็กเล็กและเด็กในวัยอนุบาล การนอนถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวัยเด็ก เพราะการนอนหลับสนิทส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของร่างกาย และพัฒนาการทางด้านสมอง เด็กในแต่ละช่วงวัยมีระยะเวลาการนอน และช่วงเวลาการนอนที่แตกต่างกันไป มาดูกันว่า การนอนหลับของแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน เหมือนลูกคนอื่นๆ ทำอย่างไรดีนะ

เชื่อว่าพ่อแม่หลายๆ คนประสบปัญหา ลูกไม่ยอมนอนกลางวัน เหมือนลูกคนอื่นๆ ทั้งๆ ที่พ่อแม่อยากจะได้พักช่วงกลางวันบ้าง แต่กลับกลายเป็นเหนื่อยทั้งกลางวันและกลางคืน ทางเรามีข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับของเด็ก และการฝึกลูกมาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน

ปัญหาลูกไม่นอนกลางวัน ก็ทำให้คนเป็นพ่อแม่อดพักผ่อนตอนกลางวันไปด้วย

ความลับในการนอนของเด็กที่น่ารู้

ทารกวัยแรกเกิด       

โดยทั่วไปจะเห็นว่าทารกแรกเกิดนั้นนอนหลับเกือบตลอดเวลา  แต่เชื่อไหมคะ  ที่เราเห็นว่าทารกกำลังนอนหลับนั้น  ที่จริงแล้วเจ้าหนูน้อยไม่ได้นอนหลับสนิทจริง ๆ ค่ะ  เพราะไม่ว่ายามหลับหรือยามตื่น  สมองน้อย ๆ ของเจ้าหนูกลับตื่นตัวตลอดเวลา  เพราะนักวิจัยได้มีการทดสอบวัดคลื่นสมองของทารกแรกคลอด พบว่า  คลื่นสมองของทารกในขณะที่หลับและขณะที่ตื่นมีลักษณะคล้ายคลึง

กันมาก  ทีมนักวิจัยดังกล่าว  ได้แนะนำคุณพ่อคุณแม่ว่า  ไม่จำเป็นต้องให้ห้องนอนนั้นเงียบสงบจนเกินไป  สามารถเปิดเพลงคลอเบา ๆ เปิดไฟสลัว ๆ หรือมีเสียงพูดคุยกันระหว่างพ่อแม่จะให้ผลดี  เพราะเจ้าตัวน้อยอาจจะกำลังเงี่ยหูฟังเสียงของคุณอยู่ก็ได้  ยิ่งเสียงของคุณพ่อคุณแม่ด้วยแล้ว  เขาจะคุ้นเคยตั้งแต่อยู่ในท้อง  จะทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นใจอีกด้วย

ทารกวัย  2 – 5 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกในช่วงวัย 2 – 5 เดือน เวลาที่เจ้าตัวน้อยนอนหลับ บางทีคุณจะสังเกตอากัปกิริยา  บางทีก็เหมือนจะยิ้ม ขยับปากคล้ายจะดูดนม บางทีก็ทำหน้าย่นคล้ายจะร้องไห้   จริง ๆ แล้ว ทารกน้อยไม่ได้กำลังฝันดีหรือฝันร้ายแต่อย่างใด  แต่เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใบหน้าเท่านั้น

ทารกวัย 6 เดือน 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื่อไหมว่า  ทารกในวัยนี้หนูฝันเป็นแล้วนะ  รู้ได้อย่างไร  ทีมนักวิจัยได้ใช้การทดสอบโดยการวัดคลื่นสมองเป็นเครื่องมือในการพิสูจน์  พบว่า  คลื่นสมองทารกในวัย 6 เดือนขณะที่กำลังฝันเมื่อนำมาเทียบกับผู้ใหญ่ที่นอนหลับฝัน  ไม่น่าเชื่อว่าเหมือนกันจริง ๆ

ขวบครึ่ง

ในวัยนี้ถึงจะนอนหลับได้สนิทจริง ๆ นักวิจัยพบว่า  ในช่วงวัยขวบครึ่งคลื่นสมองขณะหลับและขณะตื่นนั้นจะมีความแตกต่างกัน  คือ  ขณะหลับคลื่นสมองจะตื่นตัวลดงกว่าในช่วงเวลาที่เด็กตื่น และเริ่มแยกแยะเวลากลางวันกับกลางคืนออกแล้ว   ทำให้เด็กวัยนี้นอนหลับในเวลากลางคืนได้ยาวนานขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อายุ 3 – 4 ขวบ

นักวิจัยได้วัดคลื่นสมองของเด็กในวัย 3-4 ขวบ ในขณะที่เด็กนอนหลับ  เชื่อว่า  ความฝันของเด็กวัยนี้จะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น   และจะฝันเหมือนภาพสไลด์  คือ  เนื้อเรื่องความฝันยังไม่ต่อเนื่อง

อายุ 5 – 6 ขวบ

ในวัยนี้ความฝันจะมีความต่อเนื่องมากขึ้น มีความเชื่อมโยงของเรื่องราวความฝันมากขึ้น และที่สำคัญยังมีตัวเองเป็นตัวเอกของเรื่องเสียด้วย

 

จากที่กล่าวมา  เป็นการเปิดเผยความลับการนอนของเจ้าหนู  ทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ว่าการนอนของทารกรวมถึงความฝันนั้น  มีความสัมพันธ์กับคลื่นสมอง  ซึ่งเป็นผลดีเสียอีกที่ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ จะเข้าใจการนอนของเด็กได้ดีขึ้น  ทีนี้หากเราฝึกวินัยการนอนให้แก่ลูกน้อยย่อมเป็นสิ่งที่ดี

 

อ่านวินัยการนอนฝึกได้ไม่ยาก คลิกหน้าถัดไป

วินัยการนอน  ฝึกได้ไม่ยาก

แม้ว่าการนอนจะเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปก็ตาม  แต่การนอนของวัยเด็กนั้น  ซึ่งวัยที่ซุกซนอยากเรียนรู้  ถ้าไม่ง่วงจริง ๆ ไม่มีทางยอมนอนเด็ดขาด  ยิ่งถ้าได้เล่นแล้วหล่ะก็ถึงไหนถึงกัน

การนอนของเด็ก ๆ นั้น  ไม่ใช่เพียงการพักผ่อนเท่านั้น  แต่ยังหมายถึงพัฒนาการร่างกายและสมองกำลังพัฒนาในช่วงหลับ  เพราะขณะที่เด็กหลับสนิทนั้นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง คือ  ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า  โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)  นั่นเอง ซึ่งจะหลั่งออกมามากที่สุดในช่วงที่เด็กหลับสนิท  รู้อย่างนี้แล้ว เรามาฝึกวินัยการนอนกันดีกว่าค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นจาก  เมื่อได้เวลานอน   ปิดไฟดวงใหญ่  เหลือเพียงไฟสลัว ๆ พาลูกเข้านอนพร้อมกับเล่านิทาน  หรือร้องเพลงกล่อม  แต่ควรมีข้อตกลงกับเจ้าหนูเสียหน่อยว่าหากเล่านิทานจบหรือร้องเพลงจบแล้วก็ถึงเวลานอนแล้วนะจ๊ะ  จากนั้นงดการพูดคุยค่ะ  เพราะเด็กลองได้คุยแล้ว  ไม่จบง่าย ๆ หากเด็กมีตุ๊กตาหรือหมอนใบโปรดก็ให้เขาเอามากอด  หลังจากนั้นความเงียบจะทำให้เด็กหลับได้ง่าย

การฝึกลูกเข้านอนในช่วงแรกยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก  ต้องอดทนค่ะ  อดทนคำเดียวเลยถึงจะประสบความสำเร็จ  หรือไม่ก็เจอเด็กขัดขืนไม่ยอมนอน คุณแม่ต้องใจเย็นค่อย ๆ ปรับพฤติกรรม  และทำเช่นนี้สม่ำเสมอ  เด็กจะค่อย ๆ คุ้นชิน  หากทำได้สำเร็จเมื่อใดลูกของคุณจะกิน นอน เป็นเวลานับว่าเป็นความสำเร็จของคุณแม่จริง ๆ ค่ะ

ที่กล่าวมาในข้างต้นถึงความลับในการนอนของเด็ก  รวมถึงการฝึกวินัยให้เด็กนอนเป็นเวลา  ทีนี้เดินทางมาถึงหัวข้อ  ลูกไม่ยอมนอนกลางวันทำอย่างไรดีนะ  มาดูกันว่าเพราะอะไรและจะแก้ไขได้อย่างไร  ติดตามอ่านกันเลยค่ะ

อ่านลูกไม่ยอมนอนกลางวันทำอย่างไรดีนะ  คลิกหน้าถัดไป

ลูกไม่ยอมนอนกลางวันทำอย่างไรดีนะ

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจช่วงระยะเวลาที่เด็กต้องการพักผ่อนในช่วงวัยของเขา น.พ.บุญรัตน์  ภัทรากุลพิเชษฐ์   กุมารแพทย์  ได้อธิบายถึงช่วงเวลาการนอนพักผ่อนของเด็กดังนี้

เด็กวัย ขวบครึ่ง -2 ขวบ  และเด็กเนิร์สเซอรี่  จะนอนทั้งวันประมาณ 12 ชั่วโมง/วัน โดยนอนตอนกลางวันประมาณ 1 ชั่วโมง

เด็กอนุบาล วัย 3 – 6 ขวบ  จะนอนประมาณ 8 – 12 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันว่าจะสร้างความเหนื่อยล้า  อ่อนเพลียให้เด็กมากเพียงใด

เด็กวัย 5 – 6 ขวบ  จำนวนมากที่ไม่ยอมนอนกลางวันจึงไม่ต้องกังวล หากเด็กนอนกลางคืนมาเพียงพอ  แต่กิจกรรมในช่วงบ่ายควรจะเป็นกิจกรรมเบา ๆ ให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย

หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ประสบปัญหาเด็กไม่ยอมนอนกลางวัน  โดยเฉพาะเด็กในช่วงวัย 3 – 6 ขวบ  ซึ่งวัยนี้เป็นวัยอนุบาล  วัยแห่งการเรียนรู้และอยากเรียนรู้ไปเสียทุกเรื่อง  ยิ่งเด็กที่นอนตื่นสายที่มีผลจากการนอนดึก  อาจเกิดจากรอคุณพ่อคุณแม่กลับจากที่ทำงาน  หรือห่วงเล่นจนไม่ยอมนอน  เมื่อตื่นสายทำให้พอถึงเวลากลางวันเพื่อนคนอื่น ๆ นอนหลับกันหมดแล้วแต่เจ้าหนูกลับนอนทำตาปริบ ๆ ก็หนูไม่ง่วงนี่นา  เพราะเด็กอาจจะหลับในช่วงเวลากลางคืนยาวนานรวมถึงการตื่นสายนั่นเอง  เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ก็อย่าบังคับให้นอนเลยค่ะ   ควรเปลี่ยนเป็นการหากิจกรรมให้ทำเงียบ ๆ เช่น  อ่านหนังสือนิทาน ฟังเทปนิทานหรือเพลง  ก็ได้ค่ะ  แต่ถ้าคุณครูพบเหตุการณ์ไม่ยอมนอนกลางวันเช่นนี้เสมอ ๆ ควรมีการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อร่วมมือกันปรับพฤติกรรมการนอนตั้งแต่ที่บ้าน

คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ อย่างแรกไม่ควรให้เด็กนอนดึก  ควรฝึกให้ตื่นเช้าจนเป็นเรื่องปกติ  เมื่อไปโรงเรียนก็จะเข้าที่เข้าทาง การทำกิจกรรมในช่วงเช้าหากวันไหนที่ต้องออกแรงมากกว่าปกติ  เช่น  เล่นกีฬา  วันนั้นเวลากลางวันคงไม่มีเด็กคนไหนนั่งตาแป๋วเป็นแน่  เพราะได้เสียเหงื่อและออกแรง  ร่างกายอ่อนเพลีย  ทำให้อยากพักผ่อน  วิธีการนี้สามารถใช้ได้โดยเฉพาะช่วงวันหยุดไม่ต้องไปโรงเรียนเมื่อเด็กอยู่บ้าน  ก็ให้เล่นอะไรที่ออกกำลังในช่วงเช้า หรือช่วงสาย  เพื่อให้เด็กได้ใช้พลังงาน  เมื่อถึงเวลากลางวันเด็กจะได้นอนหลับสนิทนั่นเอง

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


source หรือ บทความอ้างอิง : helpguide.org

motherandchild.in.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การนอนกลางวันช่วยพัฒนาความจำของเด็ก

เผยความลับ…การพัฒาสมองของลูกกับการนอนหลับ

ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก