ลูกชอบพูดคำหยาบ แก้ปัญหาอย่างไรดี?

เด็กหลายคนเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียนก็อาจจะเริ่มสบถและพูดคำหยาบ เพราะได้ยินมาและทำตาม เรามี 10 ขั้นตอนมาแนะนำไว้จัดการปัญหาการพูดจาหยาบคายตั้งแต่ต้นเหตุ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกชอบพูดคำหยาบ จะจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างไร?

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผลสำรวจจากโพลสำนักหนึ่งเผยข้อมูลว่า 86% ของพ่อแม่ที่มีลูกอายุระหว่าง 2-12 ขวบ ยอมรับว่า ลูกชอบพูดคำหยาบ มากกว่าตอนที่พวกเขาเป็นเด็ก   54% ของผู้ปกครองจากกลุ่มตัวอย่างบอกว่า ลูกพูดคำหยาบต่อหน้าพวกเขา ในขณะที  20% คิดว่าเด็กไม่น่าจะรู้ความหมายของคำนั้น ๆ

ใคร ๆ (แม้แต่เด็ก ๆ) ก็รู้ว่าการสบถด้วยถ้อยคำหยาบคายเป็นการระบายอารมณ์รุนแรงอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นอารมณ์โกรธ ฉุนเฉียว หรือหงุดหงิด และยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ นักวิจัยเชื่อว่าการสบถเป็นการระบายความเครียดอย่างหนึ่งคล้ายการร้องไห้ แต่ความหยาบคายไม่ใช่เรื่องดี เราจะมีวิธีที่จะหยุดตัวเรา และเจ้าตัวน้อย ไม่ให้ติดนิสัยหยาบคายได้อย่างไร?

เรามี 10 ขั้นตอนปรับพฤติกรรมมาฝาก

 

1. ชี้แนะเมื่อลูกดูทีวี
มีความเป็นไปได้สูงว่าเจ้าตัวเล็กอาจจะได้ยินคำหยาบมาจากทีวี อินเตอร์เน็ต เพื่อน พี่น้อง หรือแม้แต่ผู้ปกครองเอง เมื่อคุณได้ยินลูกพูดคำหยาบ ให้ถามเขาอย่างใจเย็นว่าไปได้ยินมาจากไหน เด็ก ๆ ก็เหมือนผ้าขาว ที่ซึบซับทุกอย่างที่ได้ยินหรือได้เห็นมา เมื่อคุณรู้ที่มาของคำหยาบแล้ว พยายามจำกัดเวลาที่ลูกใช้อยู่กับมัน เช่นจำกัดเวลาดูทีวี หรือเล่นอินเตอร์เน็ต คุณอาจจะใส่ระบบป้องกันเด็กในคอมพิวเตอร์เป็นมาตรการเสริมด้วยก็ได้

2. ฉันก็พูด
ยอมรับความจริงเสียเถอะ ผู้ใหญ่ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็ต้องมีหลุดคำหยาบออกมาบ้าง บอกลูกตรง ๆ ว่า “คุณพ่อ คุณแม่ก็เคยพูดคำหยาบ แต่เราจะหยุดพูด ฉะนั้นลูกก็ต้องเลิกพูดด้วยนะคะ” คุณคือแบบอย่างของลูก ฉะนั้นพยายามอย่าพูดคำหยาบต่อหน้าลูก ไม่เช่นนั้นลูกก็จะเลียนแบบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างให้กับลูกก่อน

3. ใครพูดแพ้
สอนลูกให้เข้าใจเกี่ยวกับการพูดคำหยาบและผลที่จะตามมา ตั้งกฎ “ห้ามพูดคำหยาบ” ใครถูกจับได้ว่าพูดคำหยาบ คนนั้นจะโดนลงโทษ สำหรับเด็กเล็ก คุณอาจลงโทษโดยการให้นั่งนิ่ง ๆ คนเดียว หรือไม่ให้ออกไปเล่นหนึ่งวัน สำหรับเด็กโต อาจเป็นการให้ทำงานบ้านเพิ่ม งดเล่นเกมหรือมือถือ ถ้าลูกมีค่าขนม คุณอาจจะตั้งกระปุกกลางไว้ในบ้าน คนที่ถูกจับได้ว่าพูดคำหยาบต้องหยอดกระปุกครั้งละ 20 บาท สุดท้ายก็เอาเงินนั้นไปบริจาค

4. งดไม้เรียว
การตีเด็กหรือทำโทษทางร่างกาย ในขณะที่ลูกกำลังโกรธ หรือเก็บกด จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง ถ้าคุณกำลังจะตีลูกเพราะลูกพูดคำหยาบ กรุณาหยุดและใจเย็น ๆ ก่อน วิธีแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุคือการคุยกับลูกดี ๆ เราคงไม่อยากทำให้เด็กกลัวหรือเครียด แต่ควรจอธิบายให้เขาเข้าใจว่าทำไมการพูดคำหยาบจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ลูกรู้มั้ย ว่ามันแปลว่าอะไร?
จับลูกนั่งคุย แล้วถามเขาว่ารู้ความหมายของคำที่พูดออกมาหรือไม่ เจ้าตัวเล็กอาจจะแค่พูดตามคนอื่น เพราะ “ใคร ๆ เขาก็พูดกัน” แต่ไม่รู้ความหมายของคำสักนิด เด็กที่โตหน่อยอาจจะรู้ความหมาย คุณต้องรู้ว่าลูกรู้มากน้อยแค่ไหน ถึงจะอบรมได้ตรงจุด

บางครั้ง ลูกของคุณอาจจะไม่รู้ความหมายของคำหยาบนั้นๆ ก็เป็นได้

6. สอน
คุณควรเป็นคนสอนลูกว่าคำหยาบเป็นสิ่งไม่ดี อธิบายให้เขาฟังว่าคำหยาบทำให้คนฟังรู้สึกยังไง สอนเรื่อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ให้ลูกเข้าใจว่า ถ้ามีคนมาพูดหยาบคายกับเขา เขาก็คงรู้สึกไม่ชอบเหมือนกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. หลอกให้กลัว
พ่อแม่สมัยก่อนมักชอบหลอกให้ลูกกลัวเพื่อให้ลูกทำบางอย่าง เช่น อาบน้ำ หรือไปหาหมอฟัน เหตุผลก็คือ เพราะมันได้ผลน่ะสิ! เราไม่ได้บอกให้คุณหลอกลูกให้กลัวหัวหด แต่อธิบายถึงสิ่งที่แย่ที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นกับเขาถ้าเขายังขืนพูดคำหยาบต่อไป เช่น เขาจะดูเป็นคนไม่ดี และไม่มีใครคบ เด็ก ๆ มักกลัวการไม่มีเพื่อน วิธีนี้มักได้ผลเสมอ

8. บ้านฉัน กฎฉัน
คุณไม่ได้เป็นผู้ใหญ่เพียงคนเดียวที่อยู่กับลูก พยายามอย่าให้ญาติ หรือใครก็ตามที่อยู่ใกล้ลูกพูดคำหยาบ แม้แต่คุณตาหรือคุณยาย ซึ่งบางครั้งก็เผลอพูดเหมือนกัน ขอร้องให้พวกเขาไม่พูดคำหยาบต่อหน้าเด็ก ๆ เพื่อช่วยหยุดพฤติกรรมห่ามของลูก

9. ใช้คำนี้แทน
เราทุกคนต้องค่อย ๆ เริ่มหาวิธีระบายอารมณ์รูปแบบอื่นแทนการพูดคำหยาบ วิธีที่ดีที่สุดที่คุณสามารถใช้และบอกให้ลูกใช้ได้คือการใช้คำอื่นแทน ลองหาคำตลก ๆ มาใช้แทนคำสบถ เช่น “เห็ด” “เป็ด” ฯลฯ อย่างน้อยถ้าเจ้าตัวเล็กเลียนแบบ มันก็ไม่ใช่คำหยาบ

10. เล่นตามกฎ

พยายามทำตามกฎที่ตั้งไว้ทั้งหมดให้ได้ มิเช่นนั้นสิ่งที่คุณพยายามมาทั้งหมดก็จะสูญเปล่า และแก้นิสัยลูกไม่ได้

คุณพ่อคุณแม่ ต้องเด็ดขาดกับกฎที่ตั้งไว้ให้ลูก เพื่อสร้างวินัยที่ดี

การทำให้บ้านเป็นเขตปลอดคำหยาบไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แค่ต้องอาศัยความพยายามหน่อยเท่านั้นเอง

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


source หรือ บทความอ้างอิง :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

verywellfamily.com

www.theindusparent.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สอนให้ลูกกล้าแสดงออก

วิธีสอนลูกให้คิดเป็น

สอนลูกกินด้วยตัวเอง

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team