นมผงสำหรับเด็ก 4 เดือน เลือกแบบไหน สลับกับนมแม่อย่างไรให้ดีที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงทารกอายุไม่เกิน 6 เดือนแรก นมแม่นั้นดีที่สุดเสมอ แต่หากต้องให้นมผงสลับกับนมแม่ด้วย ก็ต้องรู้ว่า นมผงสำหรับเด็ก 4 เดือน คือสูตรไหน และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง หากต้องให้ลูกกินนมผงในช่วงอายุที่ควรจะรับเพียงนมแม่แบบนี้

 

เด็ก 4 เดือนกินนมผงได้ไหม

เรามักจะได้ยินคำแนะนำกันมาโดยตลอดว่า มื้ออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน คือ นมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนที่สุด เป็นอาหารของทารกตามธรรมชาติ แม้แต่แพทย์ก็แนะนำว่าควรให้ทารกกินนมแม่โดยเร็วที่สุดหลังคลอด และหากไม่มีปัจจัย หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ใด ๆ ก็ไม่ควรหยุดให้นมแม่ก่อน 6 เดือน ดังนั้นการให้ลูกมากินนมผง หรือกินนมแม่สลับนมผงนั้น คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีแน่นอน เพราะประโยชน์ที่ทารกจะได้รับนั้นไม่สามารถเทียบเท่ากับการได้รับนมแม่ได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามยังกรณีที่คุณแม่อาจต้องเลือกใช้นมผงมาเป็นอาหารหลักของลูก นอกจากนมแม่ เนื่องจากประสบปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการให้นมลูก เช่น น้ำนมมีน้อย, คุณแม่อยู่ในโรคกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถให้นมได้ หรือคุณแม่กำลังรับยารักษาบางชนิดอยู่ เป็นต้น ซึ่งคุณแม่ไม่ควรสรุปเอง แต่ควรปรึกษากับแพทย์ว่าโรคที่ตนเองเป็น หรือยาที่ตนเองทานอยู่จะทำให้ส่งผลต่อการให้นมหรือไม่ ส่วนอาการน้ำนมน้อยนั้นยังพอมีวิธีแก้ไขได้อยู่

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมผงสำหรับเด็ก 1 ปี เลือกแบบไหนดี สูตรไหนเหมาะที่สุด ?

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

ระวังอย่าตัดสินใจเสริมนมผงทันทีโดยไม่จำเป็น

การให้นมกับลูกน้อยช่วง 4 เดือนนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเจาะจงไปที่การให้นมจากเต้าของคุณแม่เท่านั้น หากไม่ได้จำเป็นไม่ควรนำนมผงมาให้ทารกกินร่วมด้วย ควรยื้อให้ลูกกินนมแม่ให้ได้นานที่สุด เนื่องจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • อาจเกิดอาการแพ้นมวัวจากการกินผงได้ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องดีของทารก หากยังสามารถกินนมแม่ได้ ทารกก็ยังถือว่าได้รับสารอาหารพร้อม ๆ กับความปลอดภัยด้วยนั่นเอง
  • ทำให้คุณแม่มีนมน้อยลง จากการที่ทารกกินนมวัวซึ่งย่อยได้ยากกว่า ทำให้ทารกอาจอิ่มได้ไว เมื่อทารกมาดูดนมจากเต้าก็จะดูดได้น้อย ส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่มีปริมาณน้ำนมน้อยลงตามไปด้วย
  • การให้ลูกกินนมซึ่งเป็นอาหารปกติของเด็กแรกเกิดนั้น หากกินจากขวดนมจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกอาจติดขวดนมได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • นมแม่ดีที่สุดเสมอ การให้ทารกทานนมผงอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกมีอาการท้องผูกได้ ถึงแม้ว่าอาการท้องผูกจะเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทารกก็ตาม

 

นมผงสำหรับเด็ก 4 เดือน

สำหรับทารกอายุเพียง 4 เดือนนั้น หากต้องรับนมผงจริง ๆ คุณแม่สามารถเลือกนมผงสูตรที่ 1 (Infant formula) มาใช้ได้เท่านั้น ห้ามนำสูตรอื่น ๆ มาใช้ เพราะหลักการในการเลือกสูตรนมจะอิงจากอายุของทารกนั่นเอง สำหรับนมสูตรที่ 1 นี้จะสามารถให้ทารกแรกเกิดกินได้จนอายุครบ 1 ปี ดังนั้นลูกวัย 4 เดือนจึงควรรับแค่นมสูตรนี้ไปก่อน และเมื่อลูกอายุครบ 6 เดือนจึงสามารถพิจารณาเปลี่ยนมาเป็นนมสูตรที่ 2 (Follow on formula) ได้ตามความเหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ ! 10 นมผงสูตร 1 สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด – 1 ปี สารอาหารครบ คุณประโยชน์เน้น ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การเปลี่ยนสูตรนมผงอาจทำให้ลูกท้องผูกได้

ในช่วงของการเปลี่ยนสูตรผงตามอายุของทารก อาจไม่ได้รับราบรื่นเสมอไป เพราะมีโอกาสที่ทารกจะมีอาการท้องผูกได้ด้วย ซึ่งเกิดจากระบบย่อยอาหารของทารกกำลังปรับตัวต่อการย่อยอาหารในนมสูตรใหม่นั่นเอง ซึ่งสารอาหารที่มากขึ้นจากสูตรที่สูงขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ทารกย่อยอาหารได้ยากมากขึ้นในช่วงแรก ดังนั้นคุณแม่จึงควรค่อย ๆ เปลี่ยนนมให้ลูกทีละน้อย ไม่ควรเปลี่ยนทั้งหมดในทันที และคอยสังเกตอาการของลูกหลังเปลี่ยนสูตรนมในช่วง 2 สัปดาห์ด้วยว่าลูกมีอาการผิดปกติอย่างไรหรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4 ข้อต้องคำนึงหากให้ลูกกินนมผงสลับนมแม่

เมื่อแพทย์แนะนำให้คุณแม่ใช้นมผงสลับกับนมแม่ได้ ต้องระวังให้ดี เพราะการละเลยบางเรื่องอาจส่งผลไม่ดีต่อตัวของทารกน้อย โดยมี 4 ข้อหลังที่ต้องคำนึงถึงเสมอ ดังนี้

 

  1. ไม่ควรให้ลูกกินนมจากขวดทันที : หากไม่มีข้อที่บ่งบอกว่าจำเป็นต้องให้ทารกกินนมจากขวดเท่านั้น คุณแม่ควรฝึกให้ลูกเข้าเต้า คุ้นชินกับการดูดนมจากเต้าจนเป็นปกติก่อน และค่อยเสริมด้วยการดูดนมจากขวดทีหลัง
  2. ให้ลูกดูดนมจากเต้าหลังนมผง : หลังจากให้ลูกกินนมผงไปแล้ว คุณแม่ควรสลับมาให้ลูกกินนมจากเต้าเล็กน้อยก่อนที่ลูกจะอิ่มนมมื้อนั้น ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยของคุณแม่กับทารกที่อาจขาดหายไปบ้าง จากการให้ลูกกินนมขวด อีกทั้งวิธีนี้ยังทำให้ทารกได้สารอาหารจากนมแม่เพิ่มขึ้นบ้าง
  3. ห้ามเลือกจุกนมรูขนาดใหญ่ : คุณแม่ไม่ควรเลือกจุกนมที่มีรูขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้ทารกไม่ได้ออกแรงดูด ซึ่งผลพัฒนาการตามธรรมชาติของทารก นอกจากนี้ความสบายที่มากเกินไปจากการกินนมจุกที่มีรูใหญ่ จะทำให้ทารกติดขวดนมตั้งแต่แรกเกิดได้
  4. กระตุ้นน้ำนมเสมอ : การนำนมผงมาเสริมให้ทารก ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะต้องใช้นมผงตลอดไป เพราะคุณแม่ควรกระตุ้นน้ำนมของตนเองอย่างถูกต้อง และทำเป็นประจำ เพื่อให้น้ำนมกลับมามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น และเมื่อคุณแม่พร้อมสามารถลดปริมาณของนมผง หรือเลือกให้ลูกกินนมผงไปเลยก็ได้เช่นกัน

 

 

อย่าพึ่งแต่นมผงต้องกระตุ้นน้ำนมเพื่อลูกวัย 4 เดือน

หากให้นมทารกวัย 4 เดือนได้น้อย คุณแม่ไม่ควรพึ่งแต่นมผงเท่านั้น ตราบใดที่ทารกยังตัวน้อยอยู่ โอกาสในการรับนมแม่มากขึ้นก็ย่อมส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยอยู่แล้ว โดยเรามีวิธีการเพิ่มน้ำนมมาแนะนำให้ ดังนี้

 

  • หากไม่มีข้อห้ามอะไรหลังจากคลอดทารกแล้ว ให้รีบนำลูกมาเข้าเต้าให้ได้มากที่สุด โดยต้องอุ้มให้ถูกท่า การให้ทารกมาดูดนมแม่นั้นจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของคุณแม่สร้างน้ำนมเพิ่มขึ้นได้
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยให้เน้นปริมาณของอาหารที่มีส่วนช่วยในการผลิตน้ำนม ตัวอย่างเช่น ปลา หรือฟักทอง เป็นต้น
  • ให้ความสำคัญกับการดูแลร่างกายของตนเองในระดับพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • พยายามปั๊มนมต่อไปตามเวลา แม้จะไม่ได้ให้นมลูก เป็นการกระตุ้นร่างกายให้เกิดการสร้างน้ำนมในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นได้เช่นกัน

 

หากคุณแม่พบว่าตนเองมีน้ำนมน้อย นอกจากวิธีที่เราแนะนำแล้ว ก็ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ด้วยเช่นกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การใช้นมผงมาทดแทนนมแม่บ้าง อาจเป็นสิ่งที่ทำให้คุณแม่เป็นกังวล กลัวว่าจะส่งผลไม่ดีต่อร่างกายของลูกน้อย แต่ถ้าหากคุณแม่ดูแลทารกน้อยอย่างดีในทุกช่วงวัย ก็สามารถทำให้ลูกรักเติบโตขึ้นมาได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ไม่มีอะไรต้องห่วงแน่นอน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนำการให้นมผงสำหรับเด็ก 3 เดือน เด็กคนไหนกินนมไม่ได้ต้องทำไง ?

นมผงสำหรับเด็ก 3 ปี เลือกให้ดีเพื่อภูมิคุ้มกันวัยซน เลือกนมผงแบบไหน ?

นมผงทารก นมผงดัดแปลง เลือกสูตรไหน แม่จะรู้ได้ยังไงว่าลูกแพ้นมผง

ที่มา : kidshealth, rakluke

บทความโดย

Sutthilak Keawon