นำลูกเข้าเต้า ทำอย่างไร ให้นมลูกแบบไหนไม่ทำให้เด็กงอแง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกมักร้องไห้แทบจะตลอดเวลา แถมยังคาดเดาไม่ได้ด้วยว่าร้องไห้จากสาเหตุอะไร ทำให้พ่อแม่ทำได้เพียงแค่เช็กดูว่าลูกหิวหรือไม่ ไม่สบายท้องหรือเปล่า หรือต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ วันนี้ theAsianparent Thailand มี 14 วิธีปลอบเบบี๋ร้องไห้ให้ได้ผล พร้อมวิธี นำลูกเข้าเต้า จากคุณแม่ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ค่ะ มาดูกันว่าวิธีไหนจะได้ผลกับลูกของคุณแม่

 

14 วิธีปลอบลูกน้อย และ นำลูกเข้าเต้า

1. กล่อมลูกด้วยท่าสควอช

วิธีแรกคือการกล่อมลูกด้วยท่าสควอช ทั้งท่า Deep lunges หรือ Squats จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณก้นของคุณแม่ได้ออกกำลังกายแถมยังกล่อมลูกนอนได้ด้วย ให้ลองยื่นมือออกไปอุ้มลูกตรง ๆ โดยให้ตัวลูกอยู่ห่างจากหน้าอกเท่าระยะแขน แต่ไม่ต้องยื่นแขนไปจนตึง แล้วย่อตัวลงอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ ขึ้น แล้วลงซ้ำ ก็จะช่วยให้ลูกดูดนมได้ง่ายขึ้นค่ะ

 

2. ยืดกล้ามเนื้อลูก

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ทารกงอแง คือ การปวดท้องแก๊สในกระเพาะอาหาร คุณแม่สามารถทำท่าปั่นจักรยานอากาศให้กับลูกขณะที่ลูกนอนหงาย โดยการยกปลายเท้าทารกขึ้นมาหมุน ๆ กลางอากาศ เหมือนกำลังปั่นจักรยานอย่างช้า ๆ จะช่วยให้ลูกสบายท้อง ไล่ลมได้อย่างดี และจะทำให้ลูกหลับสบายอีกด้วย

 

3. พาลูกไปสูดอากาศบริสุทธิ์

ทารกก็เหมือนกับผู้ใหญ่ทุกคนที่ต้องการไปสูดดมกลิ่นธรรมชาติ และสัมผัสกับอากาศบริสุทธิ์ หากลูกมีอาการงอแง ให้ลองพาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ ชมวิวทิวทัศน์ และเปลี่ยนบรรยากาศ ก็จะช่วยให้ลูกสงบลงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่เข้าเต้า ทำไงดี? ปัญหาที่แม่ ๆ กังวล วิธีแก้ปัญหาทำอย่างไรวันนี้มีคำตอบ!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. เล่นกรุ๊งกริ๊งกับลูก

ทารกสนใจอะไรที่วิบวับ เปล่งประกาย หรือส่งเสียงกรุ๊งกริ๊ง จะช่วยปลอบโยนเขา เมื่อลูกมีอาการงอแงได้ คุณแม่อาจเอาของเล่นมาล่อ หรือจะเลือกโมไบล์กรุ๊งกริ๊งลวดลายต่าง ๆ มาแขวนไว้ให้ลูกดู โดยอาจเลือกแบบที่เป็นดนตรี ก็จะช่วยขับกล่อมลูกนอนด้วยเสียงเพลงเพลิน ๆ ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ใช้เสียงเพลงจากของเล่นเป็นตัวช่วย

คุณแม่สามารถเปิดเพลงจากของเล่นชิ้นโปรดของลูก เวลาซื้อของเล่น ก็อาจเลือกของเล่นที่มีบทเพลงกล่อมเด็กด้วย เพราะเสียงดนตรีไพเราะเป็นตัวช่วยให้ลูกอารมณ์ดีขึ้นได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านควรมีของเล่นที่มีเสียงเพลงเอาไว้ หากลูกเกิดอาการหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี ก็ลองให้เล่นของเล่นที่มีเสียงเพลงดูนะคะ

 

6. ใช้ผ้าห่มห่อตัวที่มีตุ๊กตา

เลือกใช้ผ้ากอดหรือผ้าห่มห่อตัว ที่มีตุ๊กตาหรือใส่ของเล่นติดมาด้วย ด้วยลักษณะของ Security Blanket ที่เป็นผ้าห่อตัวเด็ก ซึ่งโอบรัดให้ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย แถมยังนุ่มสบาย และมีตุ๊กตาหรือของเล่น มาช่วงดึงดูดใจลูกน้อย และทำให้ลูกสงบลงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ติดโควิด ยังสามารถให้นมลูกได้หรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

7. อุ้มแกว่งไปมาอย่างเบา ๆ

การอุ้มลูกแกว่งไปมาอย่างเบา ๆ อาจช่วยให้ลูกเคลิ้ม และหยุดงอแงได้ง่ายกว่าที่คิด วิธีนี้บางคนอาจจะมองว่ามันเป็นวิธีโบราณ แต่ก็ช่วยให้ลูกน้อยเริ่มเคลิ้มได้ ซึ่งหลังจากลูกเคลิ้มหลับแล้ว พ่อแม่ก็สามารถวางลูกลงให้ลูกหลับยาว ๆ ได้ต่อไปค่ะ

 

8. หันเหความสนใจด้วยเสียง

เสียงตลก ๆ จากตัวการ์ตูน หรือเสียงที่พ่อแม่ทำขึ้นมาเอง จะช่วยหันเหความสนใจของลูกได้ แต่บางทีก็ไม่จำเป็นต้องมีของเล่นราคาแพง ๆ มาช่วยดึงความสนใจ เพราะพ่อแม่คือของเล่นที่ดีที่สุดของลูก

 

9. แสงไฟสว่างช่วยให้ลูกสนุก

นอกจากเสียงเพลง และของเล่นวิบวับแล้ว แสงไฟธรรมดา ๆ ก็สามารถช่วยดึงความสนใจจากลูกได้ ให้ลองปิดเปิดไฟในห้องเพื่อทำให้ลูกรู้สึกสนุก หรือใช้โคมไฟเล็ก ๆ ที่สามารถกะพริบเปิดปิด ก็จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกเลิกงอแงได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปลอบลูกน้อยงอแงที่ช่วยให้คุณแม่หายเหนื่อย

 

 

10. ร้องเพลง เต้นรำ เอนเตอร์เทนลูก

การร้องรำทำเพลงในตอนที่ลูกโยเย ก็เป็นวิธีที่ง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมาก และยังสามารถเรียกรอยยิ้มจากลูกน้อยได้ ให้คุณแม่ลองเปิดเพลงสนุก ๆ พร้อมร้องเพลงไปด้วย หรือชวนคุณพ่อเต้นกันสนุก ๆ ต่อหน้าลูก ก็จะช่วยให้ลูกเลิกร้องไห้ กลับมายิ้ม และหัวเราะอย่างสดใส

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

11.พยายามปลอบลูก

หากลูกร้องไห้หนักมาก ไม่ยอมดูดนม ให้ลองใช้ผ้าห่อทารกให้รู้สึกอบอุ่นปลอดภัย วางลูกนอนลง เป็นท่าตะแคงหรือท่านอนคว่ำ หรือใช้เสียง white noise กล่อมลูกได้ โดยคุณแม่สามารถเลือกใช้แอปพลิเคชันเปิดเสียงธรรมชาติต่าง ๆ ให้ลูกฟัง พร้อมแกว่งไกวลูกเป็นจังหวะอย่างอ่อนโยน เมื่อลูกเริ่มสงบลงให้ลูกดูดนม ดูดจุกหลอก หรือให้ลูกดูดนิ้วค่ะ

 

12. อาบน้ำช่วยลูกผ่อนคลาย

แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่อาจชอบอาบน้ำ แต่สำหรับเด็กทารกบางคนอาจไม่ชอบอาบน้ำได้ คุณแม่ลองพยายามชวนลูกน้อยอาบน้ำ เพราะการอาบน้ำช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายได้ ถ้าลูกของคุณชอบอาบน้ำ สามารถฉีดน้ำเบา ๆ เวลาที่อาบน้ำให้ลูก เพื่อเพิ่มความสนุก และหาอะไรเล่นกับลูกเวลาที่เขาอาบน้ำ ก็จะช่วยให้ลูกเลิกงอแงได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูก ดูดนม ลูกไม่ยอมอ้าปากเข้าเต้า ทำอย่างไรให้ลูกดูดเต้าอย่างถูกวิธี?

 

 

13. อุ้มลูกด้วยท่าโปรดที่ลูกชอบ

คุณแม่สามารถให้นมลูกด้วยท่าโปรดที่ลูกชอบ เช่น การให้ลูกนอนคว่ำราบไปกับแขน ขาหันไปทางข้อศอก หรืออุ้มให้ลูกมองออกไปข้างหน้า แล้วใช้มือข้างหนึ่งเป็นเก้าอี้ให้ลูกนั่ง ส่วนมืออีกข้างทำหน้าที่เข็มขัดนิรภัย เอื้อมมาจับแขนอีกข้างจากด้านหน้า นอกจากนี้อาจใช้วิธีอุ้มลูกตรง ๆ ให้หน้าลูกอยู่บริเวณหน้าอก ใกล้กับหัวใจหรือใกล้กับแก้มก็จะช่วยให้ลูกดูดนมได้ง่ายขึ้น

 

14. ถ้าลูกไม่เลิกงอแงคุณแม่ต้องพัก

บางครั้งลูกก็ร้องไห้จนแม่ยากจะจัดการไหว เพราะฉะนั้นคุณแม่อาจต้องพักก่อน โดยการวางลูกลงบนที่นอน แล้วใช้เวลาทบทวนตัวเอง คิดถึงวิธีที่ลูกชอบ เพราะทารกแต่ละคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน แม่เท่านั้นจะรู้ดีที่สุดว่าต้องจัดการลูกอย่างไร

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ 14 วิธีจาก 14 คุณแม่ที่มาแชร์ประสบการณ์การปลอบเบบี๋ร้องไห้ให้ได้ผล สำหรับคุณแม่ที่กำลังหาวิธีนำลูกเข้าเต้าอยู่ สามารถนำวิธีข้างต้นไปปรับใช้กันได้นะคะ รับรองว่าต้องมีสักวิธี ที่เหมาะกับการนำลูกน้อยของคุณแม่เข้าเต้าแน่นอนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ฝึกลูกดูดนม ป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดนมอย่างไรถึงจะถูกวิธี

ลูกติดเต้า ไม่ดูดนมขวด สามารถเสริมนมผงได้ตอนอายุเท่าไหร่

เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง

ที่มา : thaibf.com