วิธีกระตุ้นน้ำนม ให้มีน้ำนมเยอะ ๆ สำหรับแม่มือใหม่กลัวน้ำนมน้อย ลูกไม่พอกิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ มักจะเป็นกังวลว่าตัวเองจะมีน้ำนมน้อย กลัวว่าน้ำนมจะไม่พอให้ลูกกิน วันนี้เรามีเคล็ดลับการเพิ่มน้ำนม วิธีกระตุ้นน้ำนม วิธีเพิ่มน้ำนมแม่ ทำให้มีน้ำนมมากขึ้นมาฝากกัน ส่วน วิธีกระตุ้นน้ำนม จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย

 

สาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อย

ก่อนที่จะทราบถึงวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ เรามาดูกันก่อนว่า จริง ๆ แล้ว น้ำนมแม่น้อยจริงหรือคิดไปเอง ซึ่งเวลาเห็นลูกร้องหิวบ่อย ๆ คุณแม่หลายท่านก็อาจจะเข้าใจว่าตัวเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ มีน้ำนมน้อย จนเกิดความเครียด เกิดความกังวล ซึ่งจริง ๆ แล้ว น้ำนมของคุณแม่อาจจะไม่ได้น้อยอย่างที่เข้าใจ และสาเหตุที่มักจะทำให้คุณแม่เข้าใจผิด คิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อย ก็ได้แก่เรื่องต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น

  • เริ่มให้ลูกดูดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมหลังคลอดช้าเกินไป
  • ให้ลูกเข้าเต้าผิดวิธี ลูกอมงับได้ไม่ลึกพอ
  • ให้ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอในช่วงแรก (น้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ซึ่งมักจะเกิดร่วมกับการเสริมนมผสม การให้ดื่มน้ำ หรืออาหารเสริม (ก่อนวัยอันสมควรคือ 6 เดือน) ทำให้ลูกอิ่มไม่ยอมดูดนมแม่
  • คุณแม่ที่กลับไปทำงานแล้วปั๊มนมออกน้อยเกินไป หรือทิ้งระยะห่างเกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง
  • สาเหตุจากความเครียด พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารน้อย
  • กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด

 

อย่ามองข้ามน้ำนมเหลืองหลังคลอด

หากคุณแม่มีปัญหาในการให้นมทารกน้อยตั้งแต่หลังคลอดใหม่ ๆ อย่าเพิ่งคิดว่าไม่ส่งผลมาก ค่อยกระตุ้นนมแม่ในภายหลังได้ จริง ๆ แล้วการกระตุ้นน้ำนมแม่ทันทีหลังคลอดสำคัญมาก เพราะในช่วง 1 – 3 วัน หลังคลอด เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่คุณแม่จะมีน้ำนมเหลือง (Colostrum) ที่ถือว่าเป็นนมที่มีประโยชน์ที่สุดในทุกระยะของน้ำนมแม่ หากผ่านช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอดไปแล้ว น้ำนมเหลืองของคุณแม่ก็จะหมดลงและเข้าสู่น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน 

น้ำนมเหลืองเปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่ มี “แลคโตเฟอร์ริน” ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนช่วยทั้งในเรื่องกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทารก ช่วยต้านเชื้อโรคให้ทารกทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา รวมไปถึงช่วยเสริมทางเดินอาหารให้แข็งแรง

ไม่เพียงแต่แลคโตเฟอร์รินเท่านั้น ในน้ำนมเหลืองยังมี MFGM, DHA และ 2FL ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นมากสำหรับทารกเช่นกัน สารอาหารในน้ำนมเหลืองที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีความสำคัญมากเกินกว่าจะมองข้ามได้ ดังนั้นอย่าพลาดที่จะให้นมทารกน้อยให้เร็วที่สุดหลังคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีกระตุ้นน้ำนมเหลือง กระตุ้นน้ำนมแม่

เมื่อได้ทราบถึงเหตุผลที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยกันไปแล้ว และเห็นความสำคัญของน้ำนมเหลืองแล้ว คุณแม่ที่พบปัญหาให้น้ำนมเหลืองกับทารกไม่ได้ สำหรับวิธีการรับมือที่ดีที่สุด คือ การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางแก้ไข หรือแนะนำนมสูตรนมผงที่มีสารอาหารที่พบในน้ำนมเหลือง เช่น แลคโตเฟอร์ริน หรือ MFGM เป็นต้น แม้ลูกจะมีอายุมากกว่า 6 เดือน แต่การได้รับสารอาหารที่พบได้ในน้ำนมเหลืองนั้น ก็ยังคงส่งผลดีต่อภูมิคุ้มกันของลูกในระยะยาวอยู่

ต่อไปเรามาดูกันว่า เมื่อผ่านพ้นช่วงน้ำนมเหลืองไปแล้ว แต่ยังมีปัญหาให้นมทั่วไป ควรทำอย่างไรให้มีน้ำนมมากขึ้น สามารถทำตามวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้นมลูกบ่อยขึ้นและนานขึ้น (ไม่ควรน้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ถ้าไม่ได้อยู่กับลูก ก็ควรบีบหรือปั๊มนมออกให้เกลี้ยงเต้าทุก 3 ชั่วโมง
  • กระตุ้นเต้านม โดยใช้ผ้าอุ่นจัดประคบเต้านม 3 – 5 นาที จากนั้นนวดเต้านมและคลึงหัวนมเบา ๆ ก่อนให้นมลูก
  • ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี ที่สำคัญต้องให้ลูกงับหัวนมจนถึงลานนมได้ลึกพอ
  • ไม่ควรป้อนน้ำ นมผสม หรืออาหารเสริมอื่นก่อนที่ลูกจะมีอายุได้ 6 เดือน
  • หายใจลึก ๆ ทำใจให้สบาย ไม่เครียด เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขณะให้นมลูกหรือขณะปั๊มนม
  • ทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และรับประทานอาหารหรือสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเพิ่มน้ำนม
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพียงพอใน 1 วัน
  • ให้ลูกดูดข้างหนึ่ง ปั๊มนมอีกข้างหนึ่งไปพร้อม ๆ กันเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่ม แถมยังช่วยให้ปั๊มน้ำนมออกง่ายกว่าการปั๊มนมตอนที่ลูกไม่ได้ดูดเต้าอีกด้วย แต่วิธีนี้ควรใช้เมื่อน้ำนมสร้างได้มากพอ คือประมาณหลัง 1 เดือนไปแล้ว
  • เพิ่มรอบปั๊มนมให้แต่ละรอบห่าง 3 – 4 ชั่วโมง หรือช่วงที่ลูกนอนหลับนานเกิน 3 ชั่วโมง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกดูดนมแล้วหลับ เอาลูกออกจากเต้า แล้วร้องหิวใหม่ ทำอย่างไร

เมื่อคุณแม่เห็นลูกหลับจึงเอาลูกออกจากเต้า เพราะเข้าใจว่าลูกอิ่มแล้ว แต่พอจะเอาออกก็ร้องขอดูดต่อ หรือหลับได้ครู่เดียวก็ร้องหิวใหม่อีก ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองน้ำนมน้อย ในกรณีแบบนี้ แนะนำให้คุณแม่สังเกตว่า ถ้าลูกหลับขณะกินนม และคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม แต่ถ้ายังไม่คาย เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบา ๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อโดยวิธีการดังนี้

  • ใช้นิ้วชี้ที่ประคองด้านล่างของเต้านม และเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ดูดต่อ
  • ใช้มือบีบเต้านม เพื่อไล่น้ำนมเข้าปากลูก ลูกจะกลืนน้ำนมและดูดต่อ เมื่อลูกหยุดดูด ก็บีบใหม่ ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง แต่ถ้าหากว่าบีบไล่น้ำนมสักพักแล้วไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะน้ำนมในเต้านั้นลดน้อยลง และไหลช้าลง ก็ให้เปลี่ยนไปอีกเต้าหนึ่ง ทำเป็นระยะ ๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง
  • หากลูกไม่ยอมตื่นมาดูดนมแม่ต่อ ให้เอาลูกออกจากเต้า และปลุกให้ตื่นก่อน จึงนำเข้าเต้าเพื่อดูดนมอีกครั้ง

 

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เราอยากแชร์ คือ การที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมสลับเต้าไปมาในมื้อเดียวกัน ก็อาจทำให้ลูกได้แต่น้ำนมส่วนหน้า ไม่ได้น้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันมากกว่า จึงทำให้ลูกกลับมาหิวเร็วกว่าปกตินั่นเอง

คุณแม่ควรคำนึงถึงความสำคัญของการให้นมแม่หลังคลอดเสมอ โดยเฉพาะน้ำนมเหลือง จึงไม่ควรปล่อยไว้ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการกระตุ้นการให้นม เสริมกับเลือกผลิตภัณฑ์สูตรที่เหมาะกับช่วงวัยของเด็ก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีนวดกระตุ้นน้ำนมไม่พอ เทคนิคสำคัญช่วยแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน

สีน้ำนมแม่ น้ำนมใส ที่ปั๊มออกมา ลูกจะกินได้ไหม ทำไมนมแม่มีหลายสี

รู้หรือไม่!! MFGM คือ สารอาหารในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองของลูกรัก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ที่มา :nappibaby , wicbreastfeeding

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul