พอใกล้ถึงช่วงเวลาแห่งการท่องเที่ยวแต่ละที ครอบครัวไหนที่กำลังวางแผน จะพาเด็กๆ ไปเที่ยวต่างประเทศเป็นครั้งแรก สิ่งจำเป็นที่สุดคือ พาสปอร์ตสำหรับเด็ก หลายคนคงยังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร หรือเตรียมเอกสารอะไรบ้างจะพาเด็กๆ ไปต่างประเทศทั้งที ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ต้องเป็นกังวลกันบ้างล่ะ แน่นอนว่าขั้นแรกคือ การทำ พาสปอร์ตสำหรับเด็ก นั่นเอง การทำ พาสปอร์ตสำหรับเด็ก นั้นต้องเตรียมตัวยังไง? ใช้เอกสารอะไรบ้าง? สำหรับสถานที่ให้บริการ ทำพาสปอร์ตเด็กนั้น ก็คือกองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือพูดง่ายๆ คือที่เดียวกันกับทำพาสปอร์ตผู้ใหญ่นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันก็มีจุดให้บริการอยู่ทั่วประเทศ
เอกสารที่ใช้ในการทำพาสปอร์ตเด็ก มีดังนี้
- บัตรประจําตัวประชาชนของเด็ก ที่ยังมีอายุการใช้งาน (กรณีที่เด็กมีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
- สูติบัตรฉบับจริง (กรณีเด็กอายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์)
- บัตรประจําตัวประชาชนของพ่อ-แม่
- หากพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ให้ใช้พาสปอร์ตทางฉบับจริงของพ่อหรือแม่
ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต (สำหรับเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี)
- กดบัตรคิว รอเรียกคิว
- วัดส่วนสูง
- บันทึกลายนิ้วมือ
- ถ่ายรูป
- เซ็นชื่อ หรือ ปั๊มลายนิ้วมือ (สำหรับเด็กเล็ก)
- พ่อและแม่เซ็นเอกสารรับรอง
- จ่ายค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
- จ่ายค่าไปรษณีย์ 60 บาท (สำหรับจัดส่งพาสปอร์ตไปที่บ้าน)
ทำพาสปอร์ตและการทำหนังสือยินยอม
การพาสปอร์ต สำหรับเด็ก
How to apply for a passport or passport for children 1
พาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทาง คือใบเบิกทางเพื่อผ่านไปยังประเทศนั้นๆ สำหรับเด็กๆ ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ อาจจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากผู้ใหญ่นิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้ยากลำบากอะไรมากนัก มาดูกันว่าเอกสารสำหรับทำพาสปอร์ตของเด็กเล็กอายุไม่เกิน 15 ปี มีอะไรบ้าง
1. บัตรประชาชนหรือสูติบัตรฉบับจริงของเด็ก ถ้าเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอหรือเขต
หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอหรือเขต หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากอำเภอ หรือเขตมาแสดงพร้อมผู้มีอำนาจปกครอง หากเด็กอายุ 7 ขวบ มีบัตรประชาชนแล้วก็นำบัตรประชาชนของเด็กไปยื่นได้เลย
2. พ่อแม่หรือผู้ปกครอง นำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
นำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของพ่อแม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง หากชื่อนามสกุลพ่อแม่ ในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่แม่หย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
3. หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ
ที่ต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากอำเภอหรือเขต เอกสารอื่น ๆ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ, เปลี่ยนนามสกุล, เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม, บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของพ่อหรือแม่ เป็นต้น
4. หากพ่อแม่มีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
ให้นำเอกสารการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
5. ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่
และมีการใช้นามสกุลตามสามีใหม่ ให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
6. หากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาได้
กรณีนี้ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ และบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา โดยต้องผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต
How to apply for a passport or passport for children 2
7. เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น
เช่น หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น
8. กรณีที่พ่อแม่เสียชีวิต
หรือว่าเป็นชาวต่างชาติแล้วไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง
9. อัตราค่าธรรมเนียม เริ่มต้นราคา 1,000 บาท
How to apply for a passport or passport for children 3
การทำหนังสือยินยอม
สำหรับเด็กเล็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี พ่อแม่ไปทำหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ที่อำเภอหรือสำนักงานเขตฯ ที่เราอาศัยอยู่ โดยนำบัตรประชาชนหรือสูติบัตรฉบับจริงของเด็กไปด้วย หากสูติบัตรเป็นสำเนา ก็ต้องให้ทางอำเภอหรือสำนักงานเขตฯ รับรองสำเนาถูกต้อง โดยทั้งพ่อและแม่จะต้องมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ในวันยื่นคําร้อง ทำพาสปอร์ตเด็ก เว้นแต่จะเป็นกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามด้านล่างนี้
1. กรณีที่พ่อหรือแม่ หรือ ทั้งพ่อและแม่ ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้
ให้พ่อหรือแม่ที่ไม่สามารถมาลงนาม ทําหนังสือยินยอมให้เด็กเดินทางไปต่างประเทศ ที่อําเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น พร้อมบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงที่มีอายุการใช้งานของพ่อหรือแม่ที่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ หรือในกรณีที่พ่อหรือแม่อยู่ในต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้เด็กเดินทางไปต่างประเทศ จากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย
*เฉพาะกรณีที่เด็กอายุตํ่ากว่า 15 ปีบริบูรณ์ ที่พ่อและแม่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ให้ทําหนังสือมอบอํานาจที่อําเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือในกรณีที่พ่อหรือแม่อยู่ต่างประเทศ ให้ทําหนังสือมอบอํานาจจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย ให้บุคคลอื่นที่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เป็นคนพาเด็กมายื่นคําร้องขอทําพาสปอร์ตเพิ่มเติม พร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงของผู้รับมอบอํานาจ
2. กรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และเด็กอยู่ในความปกครองของผู้เป็นแม่
แม่สามารถลงนามให้ความยินยอมได้ฝ่ายเดียว พร้อมกับบันทึกคําให้การรับรองการปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอําเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น และบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของแม่
3. กรณีที่พ่อและแม่จดทะเบียนหย่า
พ่อหรือแม่ที่เป็นผู้ปกครองบุตรเพียงผู้เดียวในบันทึกการหย่า สามารถเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมได้ฝ่ายเดียว พร้อมนำบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของพ่อหรือแม่มาด้วย
4. กรณีที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรม
ให้พ่อหรือแม่ที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรม เป็นผู้ลงนามให้ความยินยอม พร้อมนำทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม และบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของผู้รับบุตรบุญธรรมมาด้วย
5. กรณีพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต
ให้พ่อหรือแม่ที่ยังมีชีวิตมาลงนามให้ความยินยอม พร้อมนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตน และใบมรณบัตรของอีกฝ่ายหนึ่งมาด้วย
6. กรณีอื่นๆ ที่จะต้องมีคําสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้ปกครอง เช่น
6.1 กรณีพ่อและแม่เสียชีวิต
6.2 กรณีพ่อหรือแม่ของเด็กเป็นชาวต่างชาติ ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และไม่สามารถตามหาอีกฝ่ายหนึ่งมาลงนามให้ความยินยอมได้
6.3 กรณีพ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่เด็กอยู่ในความดูแลของพ่อฝ่ายเดียวมาโดยตลอดและไม่สามารถติดต่อแม่ได้ ให้ผู้ปกครองที่มีชื่อระบุตามคําสั่งศาลเป็นผู้ลงนาม พร้อมกับนำคําสั่งศาลมาด้วย และบัตรประจําตัวประชาชนฉบับจริงของผู้ปกครอง
How to apply for a passport or passport for children 4
สรุป การทำพาสปอร์ตสำหรับเด็ก ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยมีพาสปอร์ตแล้ว ก็ขอวีซ่าได้เลยค่ะ แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าขอวีซ่าต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสารอะไรบ้าง ให้ทีมงาน Tumvisa ช่วยคุณสิคะ เราจะทำให้การขอวีซ่าของคุณไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
การขอ Visa Non- Immigrant “O” ติดตามครอบครัว
ผู้ที่สามารถขอรับวีซ่าประเภทนี้ได้ได้แก่บุคคล 3 กลุ่มดังนี้:
- ชาวต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสกับคนไทย / อุปการะบุตรคนไทย
- ครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าประเภท “Non- B” ที่มีใบอนุญาตทำงานในไทย
- ครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าเกษียณ ซึ่งอายุต่ำกว่า 50 ปี
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
- หนังสือเดินทางที่มีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน
- แบบฟอร์มใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วน
- ภาพถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน / ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ) พื้นหลังสีน้ำเงินหรือสีขาว
- ต้นฉบับและสำเนาทะเบียนสมรส (สำหรับคู่สมรส) หรือสูติบัตร (สำหรับเด็ก)
- สำเนาใบอนุญาตทำงานไทย (กรณีติดตามผู้ถือ Non-B)
- สำเนาหน้าข้อมูลและหน้าวีซ่าไทยของหนังสือเดินทางของผู้อุปการะ (กรณีติดตามผู้ถือ Non-B/วีซ่าเกษียณ)
- ค่าธรรมเนียมวีซ่า (Single Entry 2,000 บาท, Multiple Entry 5,000 บาท)
- หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่า ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท (สี่แสนบาท)
- เอกสารที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยอาจร้องขอเพิ่มเติม ได้แก่:
- สำเนาทะเบียนบริษัท, สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท, สำเนาของงบดุลล่าสุดของบริษัท, สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของบริษัท (กรณีติดตามผู้ถือ Non-B
- หนังสือรับรองความประพฤติ
- ใบรับรองแพทย์
เนื่องจากเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ อาจแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่ยื่นใบสมัคร จึงควรตรวจสอบข้อมูลล่าสุดสำหรับสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยที่คุณต้องการสมัคร
How to apply for a passport or passport for children 5
วิธีช่วยในการถ่ายรูปทำวีซ่าสำหรับเด็กเล็ก
- หาอะไรเป็นสีขาวเป็นฉากหลัง หรือจะเป็นสีอื่นที่เป็นสีอ่อนๆ ก็ได้ และควรเป็นพื้นเรียบๆ ไม่ต้องมีลวดลายอะไร เพราะเราจะได้นำไปปรับแต่งภาพได้ในภายหลัง
- ถ่ายในที่แสงส่องถึง ให้เห็นหน้าเด็กอย่างชัดเจน เด็กอาจจะทนไม่ได้กับแสงแฟลช เพราะฉะนั้นควรใช้แสงจากธรรมชาติจะดีกว่า
- เสื้อผ้าเด็กควรเป็นสีอื่น ที่ไม่ใช่สีขาว ถ้าเป็นสีเข้มหน่อยก็จะดี จะได้ไม่กลืนไปกับฉากหลังสีขาวของเรา เวลาปรับแต่งอะไร ก็จะทำได้ง่ายกว่า
- ทำยังไงให้เด็กมองมาที่เลนส์ ก็ต้องหลอกล่อกันสักหน่อย โดยการใช้ของเล่น หรือเปิดการ์ตูนให้ดู โดยให้อยู่ใกล้กับเลนส์มากที่สุด ตากของเด็กจะตรงกับเลนส์พอดี
- ถ่ายรูปไว้ให้มากที่สุด เพราะเด็กไม่อยู่นิ่งอยู่แล้ว อาจจะขยับไปมาได้ระหว่างที่มีการกดชัตเตอร์ เพราะฉะนั้น ถ่ายรูปมาให้เยอะๆ แล้วเราสามารถนำมาเลือกรูปที่ดีที่สุดได้ภายหลัง
ถ้าเด็กยังนั่งเองไม่ได้ ควรทำดังนี้
- ให้เด็กนั่งเก้าอี้หัดนั่ง และให้ใครสักคนช่วยกันจับตัวเด็กไว้ไม่ให้ล้ม
- ห่อเก้าอี้ด้วยกระดาษขาว แล้วผูกตัวเด็กไว้กับเก้าอี้
- ให้ลูกนอนบนเตียงที่มีผ้าปูสีขาว วิธีนี้เด็กไม่ลำบาก แต่คนถ่ายอาจจะลำบากสักหน่อย อย่าลืมทำผ้าปูให้ตึงๆ ด้วย
- ทำอย่างไรก็ไม่ได้ผล ยังไงก็ต้องมีคนอุ้ม ต้องให้คนอุ้มใส่เสื้อยืดสีขาวไม่มีลาย แล้วจับเด็กอยู่ในท่านั่ง วิธีนี้รับรองได้ผล
ที่มา : (sanook) (wonderfulpackage) (tumvisa)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
พาลูกเที่ยว เดินทางไกล ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
นักท่องเที่ยว เลือกใช้เวลากับคนรักเป็น สิ่งสำคัญในปี 2021
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!