“นมแม่” สำหรับ ทารก 1 สัปดาห์ กินกี่ออนซ์

การให้นมลูกน้อยสำหรับคุณแม่มือใหม่อาจต้องใช้การคำนวณตามน้ำหนักตัว มาลองคำนวณกันดูค่ะว่า ทารก 1 สัปดาห์ กินกี่ออนซ์ จึงจะเพียงพอต่อการเติบโตตามช่วงวัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ท้องแรกมักมีปัญหากวนใจไม่เว้นวันค่ะ ช่วงตั้งครรภ์ก็พะวงกับภาวะสุขภาพครรภ์ พอคลอดก็วุ่นวายใจกับโภชนาการทั้งของคุณแม่คุณลูก โดยเฉพาะกรณีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดูจะมีเรื่องให้คุณแม่มือใหม่กังวลใจไม่น้อยตั้งแต่วันแรกที่เริ่มให้นมเลยทีเดียว เช่น น้ำนมจะพอไหม ต้องให้ลูกกินนมมากเท่าไรถึงจะเพียงพอ นมแม่สำหรับ ทารก 1 สัปดาห์ กินกี่ออนซ์ ถ้าลูกไม่ดูดนมจากเต้าควรปั๊มนมไว้ก่อนไหม ค่อย ๆ มาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ

นมแม่ดีที่สุด แต่ต้องปลอดภัยด้วย

ย้ำกันอยู่เสมอว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยนะคะ เพราะมีสารอาหารครบถ้วน ช่วยให้ร่างกายของทารกแข็งแรง เจริญเติบโตได้ดี และช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน โดยคุณแม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 6 เดือน-2 ปีเลยค่ะ อย่างไรก็ตาม นมแม่ที่ดีต้องมีความปลอดภัยด้วย ลูกน้อยจึงจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มคุณค่า

  • ความสะอาด

  • ก่อนให้นมลูก หรือปั๊มนม คุณแม่ต้องล้างมือให้สะอาด และใช้ผ้าสะอาดเช็ดคราบเหงื่อไคลและสิ่งสกปรกบริเวณเต้านมก่อนทุกครั้ง โดยเช็ดจากหัวนมหมุนออกไปยังลานนม จากนั้นเปลี่ยนผ้าหรือขยี้ล้างน้ำ แล้วเช็ดจากในออกนอกอีกครั้งทั้ง 2 เต้า
  • กรณีปั๊มนม ขวดต้องสะอาด ไม่ควรใช้อุปกรณ์ปั๊มหรือขวดเดิมซ้ำโดยที่ไม่ได้ล้างทำความสะอาด
  • อุปกรณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการให้นมลูก ควรเก็บในที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น ปลอดภัยจากสัตว์และแมลงต่าง ๆ และควรแยกออกจากพื้นที่สำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • อาหารของคุณแม่

  • กินอาหารที่สะอาด และกินให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะช่วงหลังคลอด 1 เดือนแรก ท่อน้ำนมยังขยายไม่เต็มที่ แนะนำว่าควรกินอาหารที่มีส่วนผสมของขิง เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกาย ทำให้น้ำนมไหลออกได้ง่ายขึ้น
  • ควรลดขนมที่มีกะทิ ชีส หรือ เบเกอรีที่มีนมเนยมาก เพราะจะทำให้นมคุณแม่ข้นมัน และขับออกจากเต้าได้ยาก อาจเกิดปัญหามีก้อนนมในเต้าหรือท่อน้ำนมตัน หรืออาจส่งผลให้เกิดไขมันที่คั่งในตับทารกจนนำไปสู่ภาวะตับและทางเดินน้ำดีอักเสบได้
  • ยาที่แม่กินมีผลต่อลูกเนื่องจากส่วนมากสามารถขับออกทางน้ำนมได้ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนกินยา หรืออาหารเสริมใด ๆ ในช่วงให้นมลูก
  • แม่ให้นมควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณ 3 ลิตรต่อวัน และงดหรือลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน ชา กาแฟ ซึ่งหากคุณแม่ดื่มอะไรแล้วปัสสาวะมีกลิ่นหรือสีที่เปลี่ยนไป แสดงว่ากลิ่นและสีของเครื่องดื่มนั้นสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ หรือขับออกทางน้ำนมได้ด้วยเช่นกัน
  • การพักผ่อน

คุณแม่ควรพยายามนอนหลับทุกครั้งที่ลูกหลับ โดยเฉพาะเวลากลางคืน เพราะฮอร์โมนสร้างน้ำนมจะหลั่งในช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน โดยเฉพาะในช่วง 10 วันแรกหลังคลอด จะเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำนมในอนาคต

กินนมแม่อย่างไรให้พอดี ทารก 1 สัปดาห์ กินกี่ออนซ์

ก่อนอื่นคุณแม่มือใหม่ต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า ปริมาณนมที่จะให้ทารกแต่ละช่วงวัยได้รับนั้นต้องมีความเหมาะสม พอเพียง เนื่องจากหากลูกน้อยกินนมมากเกินไปจนระบบย่อยอาหารไม่สามารถย่อยนมที่กินเข้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนลูกรู้สึกไม่สบายท้อง ต้องแหวะ หรือสำลักนมออกมา ที่เรียกว่า “ภาวะ Over breastfeeding”

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าการดูดกระตุ้นของลูกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการสร้างน้ำนม ดังนั้น คุณแม่ควรตั้งนาฬิกาปลุกทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อตื่นมาให้ลูกดูดเต้า หรือถ้าลูกไม่ดูดต้องปั๊มนมออกทันที เนื่องจากนมที่คัดจะทำให้การผลิตของนมลดลง หรือเต้านมอักเสบได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารก 1 สัปดาห์ กินนมแม่กี่ออนซ์

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ลูกวัยทารก 1 สัปดาห์ สามารถเข้าเต้าได้ตามปกติ ยังไม่ได้ดูดนมที่แม่ปั๊มจากขวดซึ่งมีสเกลบอกปริมาณนมแม่ที่ปั๊มได้อย่างชัดเจน อาจทำให้คุณแม่คำนวณปริมาณนมแม่เป็นจำนวนออนซ์ยากสัดนิดนึงนะคะ ดังนั้น แนะนำว่าให้สังเกตปริมาณนมที่เหมาะสมจาก “การฉี่ของลูก” ค่ะ โดยหากลูกฉี่อย่างน้อย 6-10 ครั้งต่อวัน ก็วางใจได้ว่าเขาได้รับนมในปริมาณที่พอดี หรือสามารถคำนวณจากน้ำหนักตัวลูก ดังนี้

  • 0-3 วันแรก ใช้สูตร 10 ซีซี/กิโลกรัม/ครั้ง x 8 ครั้ง/วัน (ระยะห่างแต่ละครั้งประมาณ 3 ชั่วโมง)

เช่น น้ำหนักตัวทารก 3 กิโลกรัม ควรได้รับนม 10 x 3 = 30 ซีซี/ครั้ง ทุก 3 ชั่วโมง (30 ซีซี = 1 ออนซ์)

  • 4 วันแรก – ทารก 1 สัปดาห์ ไปจนถึง 1 เดือน สามารถใช้สูตรเดียวกันคือ 4-5 ออนซ์/กิโลกรัม/วัน แบ่ง 6-8 ครั้ง/วัน (ระยะห่างแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ชั่วโมง)

เช่น น้ำหนักตัวลูกน้อย 4 กิโลกรัม ควรได้รับนม 4 x 4 = 16 หรือ 5 x 4 = 20 ออนซ์/วัน แบ่งได้เป็นครั้งละ 2-2.5 ออนซ์ ทุก 3 ชั่วโมง/วัน หรือครั้งละ 2.5-3 ออนซ์ ทุก 4 ชั่วโมง/วัน

  • ลูกอายุ 1 เดือน กินนมกี่ออนซ์ ให้ใช้สูตร 4 ออนซ์/กิโลกรัม/วัน แบ่ง 6 ครั้ง/วัน (โดยเว้นระยะห่าง ครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง)

ยกตัวอย่างเช่น ลูก 1 เดือน น้ำหนัก 7 กิโลกรัม ควรได้รับนม 4 x 7 = 28 ออนซ์/วัน แบ่งได้ครั้งละ 4.6 ออนซ์ ทุก 4 ชั่วโมง/วัน วันละ 6 ครั้ง หรือจะปรับเป็นครั้งละ 4.5 ออนซ์ ทุก 4 ชั่วโมง/วัน วันละ 6 ครั้งก็ได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลักสังเกตว่าทารก 1 สัปดาห์ ได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ

นอกจากจะสังเกตจากจำนวนการฉี่ในแต่ละวันของลูกแล้ว คุณแม่สามารถสังเกตได้ทันทีหลังจากลูกดูดนมเสร็จด้วย คือ

  • จะรู้สึกว่าเต้านมแม่ตึงก่อนให้นม และนิ่มลงหลังให้นมเสร็จ
  • ได้ยินเสียงลูกกลืนน้ำนมเป็นช่วง ๆ และดูดนมไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง/วัน
  • ลูกน้อยสงบ ดูผ่อนคลาย มีความสุข นอนหลับพักผ่อนได้ดีหลังดูดนม
  • หลังอายุ 3-4 วัน ฉี่ของลูกน้อยมีสีเหลืองใส จำนวน 6-8 ครั้ง/วัน และถ่ายอุจจาระ 5-6 ครั้ง/วัน
  • ทารกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง กระฉับกระเฉง ผิวพรรณสดใส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารก 1 สัปดาห์ กินนมแม่แค่ไหนถือว่ามากเกินไป

การให้นมแม่อย่างปลอดภัยจะต้องมีความสัมพันธ์กับบน้ำหนักตัวลูกน้อยด้วยนะคะ โดยทารกจะต้องมีน้ำหนักลดลงไม่มากกว่า 10% ใน 7 วันแรก จากนั้นน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ วันละ 20-25 กรัม หรือ 600-800 กรัมต่อเดือน การที่น้ำหนักลูกขึ้นน้อยเกินไปจะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อาทิ อาจมีภาวะตัวเหลือง การเติบโตและพัฒนาการของสมองล่าช้า

แต่หากน้ำหนักตัวขึ้นเยอะเกินไป คือเกิน 30-35 กรัมต่อวัน หรือเกิน 1 กิโลกรัมต่อเดือน จะทำให้มีภาวะอ้วน หายใจลำบาก มีเสียงดังแปลก ๆ และอาจเป็นการสร้างนิสัยกินจุ นำไปสู่โรคอ้วนได้ในอนาคต

ทั้งนี้ อาการที่บ่งบอกว่าลูกกินนมมากเกินไป หรือการเกิดภาวะ Over breastfeeding คือ ลูกน้อยอาจมีอาการอาเจียน แหวะนม นมไหลออกปากหรือจมูก หรือสำลักนม นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น

  • ท้องป่องมาก แน่นท้อง ร้องงอแงหลังกินนม
  • ไม่ยอมดูดนม ดูไม่สบายตัว ทั้ง ๆ ที่เริ่มดูดนมได้ดี
  • น้ำหนักตัวขึ้นเร็วมากกว่าปกติ (โดยปกติจะขึ้นประมาณ 20-60 กรัมต่อวัน)
  • ไม่มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการแหวะนม อาเจียน ปวดท้อง หรือร้องงอแง

 

ดังนั้น คุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่มั่นใจเรื่องการให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำหลักการให้นมที่ถูกต้อง รวมถึงปริมาณที่เหมาะสมกับลูกน้อย เพื่อพัฒนาการที่ดีและร่างกายที่เติบโตอย่างแข็งแรงสมวัยค่ะ

 

 

ที่มา : www.samitivejhospitals.com , www.phyathai.com , www.bumrungrad.com

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกกินนมน้อย ผิดปกติไหม ต้องแก้ไขอย่างไร

ให้นมลูกกินมะม่วงได้ไหม ส่งผลอะไรต่อลูกหรือเปล่า

วิธีเก็บนมแม่ แบบมือใหม่ ทำตามง่าย เก็บน้ำนมได้นาน ไม่เหม็นหืน

บทความโดย

จันทนา ชัยมี