อาหารที่เด็กฐานะดี ฐานะไม่ดีกินต่างกันอย่างไร? มาดูกัน
อาหารที่เด็กฐานะดี ฐานะไม่ดี รู้หรือไม่ว่าเด็ก ในแต่ละช่วงฐานะ จะมีความแตกต่างกัน มากในหลายๆเรื่อง อย่างที่บอก ว่าเงิน เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตของเด็ก และ เงินก็เป็น สิ่งแบ่งปันเกรดของสินค้าด้วยเช่นกัน มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก ที่เด็กแต่ละคน เด็กต่างฐานะ จะได้รับสิ่งอะไร แตกต่างกัน ทั้งที่จริงๆแล้ว
พวกเขาควรได้รับอะไรที่ เหมือนกัน แต่นี่คือความจริง ที่โลกของเราต้องเจอ
อาหารที่เด็กฐานะดี – ฐานะไม่ดีกินต่างกันอย่างไร?
งานวิจัยเปิดเผยข้อมูล
นักวิจัย จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ การแพทย์ แห่ง มหาวิทยาลัย บัฟฟาโล ได้ทำการศึกษา และ พบว่า ทารก ที่ถูกเลี้ยงดู โดยครอบครัว ผู้มีรายได้น้อย และ คุณแม่ที่มีการศึกษาน้อย มักได้กินอาหาร ที่มี ปริมาณไขมัน และ น้ำตาลสูงกว่า เมื่อเทียบ กับ เด็กที่ ถูกเลี้ยงดูโดย ครอบครัวที่มี การศึกษา และ ฐานะ สูงกว่า ซึ่งมีแนวโน้ม ที่จะ ได้รับสารอาหาร ใกล้เคียง กับ สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
นักวิจัย ได้ใช้ ข้อมูลจาก Infant Feeding Practices Study โดย ดู ข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับ พฤติกรรม การกิน ของ ทารกที่มีอายุ 0 – 1 ขวบจาก กลุ่ม ตัวอย่าง ทั้งหมด 1,500 คน
นักวิจัย แบ่ง ประเภทอาหาร ที่ ทารก กินออก เป็น 18 ประเภท ซึ่ง รวมถึง นมแม่, นมผง, นมวัว, นมอื่น ๆ (เช่น นม ถั่วเหลือง), อาหารประเภท นมอื่น ๆ เช่นโยเกิร์ต, อาหาร ประเภท ถั่วเหลืองอื่น ๆ เช่น เต้าหู้, น้ำผัก หรือ ผลไม้ 100% และ น้ำหวานอื่น ๆ เป็นต้น
ทีม นักวิจัย พบว่าอาหาร ที่แม่หลาย ๆ คนใช้ ป้อนทารก ยังรวมไปถึง ลูกกวาด ไอศครีม น้ำอัดลม และ เฟรนช์ฟราย นักวิจัย ได้แบ่ง อาหารทั้ง 18 ประเภท ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ
ประกอบ ด้วย อาหารที่ เหมาะสำหรับทารก 2 กลุ่ม คือ “อาหาร สูตรทารก” และ “อาหาร ตาม คำแนะนำ ผู้เชี่ยวชาญ” และ อาหารที่ ไม่เหมาะสำหรับ ทารกอีก 2 กลุ่ม คือ “น้ำตาล/ไขมัน/โปรตีนสูง” และ “ธัญพืช ปริมาณปกติ/สูง” เพื่อให้ สามารถ เห็นอย่าง ชัดเจน ว่า ทารกคนไหน ได้รับอาหาร ที่เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสม
นักวิจัย ได้พบ ความเชื่อมโยง สำคัญ ระหว่างฐานะ ครอบครัว (รายได้ต่ำ การศึกษาน้อย) กับรูปแบบ การกิน ที่ส่ง ผลเสีย ต่อ สุขภาพ ของ ทารก ผลที่ตามมาคือ เด็กจะ มีน้ำหนัก ตัวเกินมาตรฐาน และเ จริญเติบโตช้า ทารกที่กินอาหาร ประเภท ไขมัน และ น้ำตาลสูง และ ผลิตภัณฑ์จากนม (ซึ่งมักพบในครอบครัวที่มีรายได้น้อยและมีการศึกษาน้อย)
เด็กกลุ่มนี้จะขาดสารอาหาร
ทารกในกลุ่มนี้จะเตี้ยกว่าทารกโดยเฉลี่ย ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าอาจเป็นผลมาจากการขาดสารอาหารที่ไปช่วยในการสร้างกระดูก
การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและพฤติกรรมการกินของเด็กในระยะยาว เมื่อนักวิจัยได้ติดตามผลขอเด็กกลุ่มเดิมไปจนถึงขวบปีที่ 6 ก็พบว่าเด็กมีพฤติกรรมการกินในลักษณะเดิม และพฤติกรรมนี้อาจติดตัวไปตลอดชีวิต
“ถ้าคุณป้อนอาหารที่มีประโยชน์ให้เด็ก แม้ว่าอาหารนั้นอาจมีรสขมหรือไม่อร่อย เช่นผักบด เด็กจะหัดกินจนชอบมันในที่สุด แต่ถ้าคุณให้เด็กกินของหวานหรือมัน เด็กก็จะติดรสชาตินั้นไปจนโต” นักวิจัยระบุ
มีปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างการเลี้ยงดูเด็กอยู่หลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ที่มีการศึกษาน้อย และอาจไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูหรือโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทารก ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราสามารถเข้าถึงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ได้ง่ายกว่าอาหารที่มีประโยชน์
ราคาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เพราะอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและน้ำตาลมักมีราคาถูกกว่า จึงทำให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยเลือกอาหารดังกล่าวให้เด็ก
การเลี้ยงดูและโภชนาการของเด็กเป็นตัวสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากช่องว่างระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นล่างในอเมริกาได้อย่างชัดเจน และปัญหานี้ก็กำลังเลวร้ายขึ้นเรื่อย ๆ
ช่วงทารกถือเป็นช่วงที่สำคัญซึ่งเด็กกำลังเรียนรู้รสชาติต่าง ๆ ผู้ปกครองควรใส่ใจกับอาหารทารกในช่วงนี้เป็นพิเศษเพื่อฝึกให้เด็กมีพฤติกรรมการกินที่ดีในระยะยาว
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
อยากมีลูกต้องกินอะไร? สุดยอดอาหาร 10 อย่างที่อาจทำให้คุณมีลูกได้
10 อาหารแม่หลังคลอด อาหารแม่ลูกอ่อน อาหารเรียกน้ำนม อาหารของคุณแม่
คนท้องกินอะไรให้ลูกผิวขาว 10 อาหารที่ทำให้ลูกเกิดมาตัวขาว