ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? แพ้นมวัว วิธีแก้ไข และนมทางเลือก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรามักจะพบเห็นเด็กรุ่นใหม่มักจะมีอาการแพ้นมวัว แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าลูกของเรานั้น แพ้นมวัวหรือไม่ ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ? เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรได้บ้าง แล้วเราจะสามารถเลือกนมชนิดไหน ที่จะมาใช้ทดแทน และยังได้คุณค่าทางโภชนาการได้อย่างสมบูรณ์บ้าง มาหาคำตอบไปด้วยกันค่ะ

 

 

ลูกแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร ?

ในความเป็นจริงของการแพ้นมวัวนั้น คือการแพ้โปรตีนที่อยู่ในนมวัว ซึ่งทารกในช่วงขวบปีแรกเมื่อให้ดื่มนมวัว หากเด็กเกิดอาการแพ้โปรตีนในนมวัว ในกรณีแพ้เฉียบพลัน อาการแพ้จะเกิดขึ้นทันที และในเด็กบางคน จะมีอาการแพ้ที่ค่อย ๆ แสดงมากขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ ซึ่งโดยเฉลี่ย เด็กทารกเกิดใหม่ที่มีอัตราการแพ้โปรตีนในนมวัว มีมากถึง 3% ทั่วโลก

ในขณะที่ประเทศไทยกลับมีเด็กทารกเกิดใหม่ ที่มีอาการแพ้โปรตีนในนมวัว ถึง 20,000 คน จากเด็กทารกที่เกิดใหม่ 700,000 คน ต่อปี โดยทั่วไป จะมี 3 อาการหลัก ดังนี้

 

  • อาการทางผิวหนัง : ซึ่งจะพบได้ทั้งแบบผื่นลมพิษ โดยจะเป็นผื่นแดง คัน ทั้งตัว หรือเป็นบางส่วนของร่างกาย หรืออาจเป็นผื่นคัน ฝ้าขาว นูน ก็ได้
  • อาการทางเดินหายใจ : ซึ่งอาจมีอาการตั้งแต่คัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกไหลเรื้อรัง มีเสมหะในลำคอหรือหลอดลม จนกระทั่งเป็นปอดอักเสบก็ได้
  • อาการทางเดินอาหาร : พบได้ตั้งแต่ อาการสำรอกนมหรืออาเจียนบ่อย ร้องกวนโคลิกทุกคืน ถ่ายเหลวเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งท้องผูกรุนแรง

 

ซึ่งอาการเหล่านี้ เด็กที่มีอาการแพ้ สามารถเกิดอาการทั้ง 3 อย่างพร้อม ๆ กัน หรือเป็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ จำเป็นจะต้องสังเกต และเฝ้าระวังให้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังคงฝืนให้เด็กทารกต่อ อาจส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว หรือเสี่ยงให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคภูมิแพ้อาหาร แพ้อาหาร คืออะไร สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษา

 

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกแพ้นมวัว

  • ทารกที่แพ้โปรตีนนมวัวโดยมากจะเป็นเกิดจากพันธุกรรม ที่พ่อ หรือแม่ หรือญาติมีประวัติการเป็นภูมิแพ้มาก่อน ซึ่งอาจจะแพ้อากาศ หรือแพ้อาหาร และอาจจะแสดงอาการ หรือไม่แสดงอาการก็ได้เช่นกัน
  • แม่ดื่มนมวัว หรือทานโปรตีนเป็นจำนวนมาก แต่สาเหตุนี้ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือไม่
  • ทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ และมีส่วนทำให้ลูกแพ้โปรตีนนมวัวได้ง่ายขึ้น
  • หลังคลอดแม่ดื่มนมวัวมากไป เมื่อลูกได้รับนมแม่จึงได้โปรตีนนมวัวที่ผ่านน้ำนมแม่ แต่สาเหตุที่ลูกน่าจะแพ้โปรตีนนมวัวเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วก็เป็นได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

ถ้าหากสงสัยว่าลูกของคุณแพ้นมวัว หรือแพ้โปรตีนในนมวัว หรือไม่ ให้ลองเปลี่ยนนมเป็นนมสำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนนมวัวให้ลูกของคุณดื่ม ในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 3 สัปดาห์ หากอาการแพ้ หรืออาการเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกของคุณเริ่มจางหายไป แต่เมื่อกลับมาดื่มนมวัวแบบเดิม อาการแพ้ ก็จะกลับมาอีกครั้ง

การแพ้โปรตีนนมวัว เป็นโรคที่วินิจฉัยได้ช่วงแรกที่ดื่มยังไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา พอดื่มไปได้สักระยะ 1 – 2 สัปดาห์จึงแสดงอาการ หากแสดงอาการหลังดื่มทันที เช่น หน้าบวม ปากบวมแดง ลมพิษ อาเจียนมาก มีผื่นขึ้นตามใบหน้าหรือตามตัว บางรายถ่ายเป็นเลือดปนมูก ท้องเสียเรื้อรัง หรือหวัดเรื้อรัง หายใจครืดคราดนาน ๆ ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตอาการอย่าร่วมกับประวัติสัมพันธ์กับอาการ และหากไม่แน่ใจกับอาการที่เกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการหาสาเหตุ ที่แท้จริง

 

วิธีแก้ไขดูแลรักษา เมื่อลูกแพ้นมวัว

ทานนมแม่ให้นานที่สุดอย่างน้อย 4 – 6 เดือน เพื่อเป็นการป้องกัน และลดอาการแพ้โปรตีนนมวัว โดยมารดาที่มีลูกแพ้นมวัว ควรงดบริโภคนมวัวและอาหารที่ผลิตจากนมวัว เพราะพบว่านมวัวผ่านมาทางน้ำนมแม่ได้ ตัวเด็กงดทานนมวัว และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากนมวัว หากสงสัยว่าลูกเข้าข่ายแพ้นมวัว ควรมาพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำ เกี่ยวกับการเปลี่ยนนมเป็นนมที่เหมาะสม และแนวทางการให้อาหารเสริมในเด็กต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : เปรียบเทียบสารอาหารในนม นมแพะ นมวัว นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมแบบไหนเหมาะกับเบบี๋?

 

 

นมทางเลือกสำหรับลูกน้อยที่แพ้นมวัว

เมื่อสงสัยว่าลูกแพ้โปรตีนนมวัว ให้เปลี่ยนเป็นนมพิเศษ ซึ่งในประเทศไทยมีนมพิเศษอยู่ 4 ชนิด

  1. นมที่มีโปรตีนนมวัวย่อยละเอียด
  2. นมที่มีโปรตีนเป็นกรดอะมิโน
  3. นมจากเนื้อไก่
  4. นมข้าวอะมิโน เป็นนมที่มีโปรตีนเป็นกรดอะมิโน และน้ำตาลที่มาจากแป้งข้าวเจ้า

เมื่อเปลี่ยนจนทราบว่าลูกเหมาะกับนมชนิดใดชนิดหนึ่งก็ให้ลูกดื่มนมชนิดนั้นต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน จึงค่อยหาทางเปลี่ยนนมวัวภายหลัง

 

กลุ่มอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวที่ควรเลี่ยง

กลุ่มผลิตภัณฑ์นม

  • นมวัว ไขมันจากนมวัว นมข้นจืด และนมข้นหวาน
  • ชีสทุกชนิด
  • อาหารประเภทครีม เช่น วิปครีม (Whipped Cream)
  • เครื่องดื่มผสมนมหรือไอศกรีม เช่น Malted milk
  • เนย ไขมันเนย (Butter fat butter solids) น้ำมันเนย (Ghee)
  • โยเกิร์ต
  • นมที่ผ่านการหมักด้วยเม็ดบัวหิมะ (Ker)
  • คาราเมล
  • พุดดิ้ง
  • คัสตาร์ด หรือสังขยา
  • ช็อกโกเลต
  • ขนมหวานกรอบแข็ง (Nougut)
  • อาหารที่ส่วนประกอบของโปรตีนเวย์ (Whey) หรือเคซีน (Casein) เช่น Calciuam Caseinate,Iron Caseinate,Zinc Caseinate
  • น้ำตาลแล็กโทส และ Lactulose

 

กลุ่มอาหารที่อาจมีการปนเปื้อนของนมวัวในกระบวนการผลิต (หรืออ่านฉลากโภชนาการเสมอ)

  • เนื้อโคและไส้กรอก
  • มาร์การีน (Margarine)
  • ขนมปัง และขนมอบ (พัฟฟ์-พาย)
  • ซุปและผงซุปพร้อมดื่ม
  • ซีเรียลผง
  • ลูกอมหรือขนมเจลลีชนิดเคี้ยวหนึบ
  • การแต่งกลิ่นธรรมชาติ และกลิ่นสังเคราะห์ (Natural and articial favorings)
  • ข้าวมันต่าง ๆ
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง (High protein product)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกสามารถหายขาดจากอาการแพ้นมวัวได้หรือไม่

มีตัวเลขอัตราการหายขาดจากการแพ้โปรตีนนมวัว ดังนี้

  1. อายุ 12เดือน อัตราหายประมาณ 70%
  2. อายุ 18 เดือน อัตราหายประมาณ 75%
  3. อายุ 2 ปี อัตราหายประมาณ 80%
  4. อายุ 3 ปี อัตราหายประมาณ 90%

และมีเพียง 1% เท่านั้น ที่อาจจะแพ้จนเกินอายุ 10 ปี

 

การย่อยแล็กโทสบกพร่องรักษาได้

ในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แลกเทสชั่วคราว แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกินนมที่มีน้ำตาลแล็กโทส หรือกินนมสูตรเดิมปริมาณครึ่งหนึ่งของที่เคยกินอยู่ แล้วค่อย ๆ เพิ่ม ในรายที่มีอาการมากควรเลือกกินนมสูตรนมถั่ว นมวัวสูตรแล็กโทสฟรี หรือ โยเกิร์ตซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้เติมจุลินทรีย์ที่ได้ย่อยแล็กโทสไปบางส่วนแล้ว

ในทารกที่ทานนมแม่ให้มารดาปั๊มนมส่วนหน้าที่มีน้ำตาลแล็กโทสสูงออกก่อน และให้ทานนมส่วนหลังเมื่ออาการดีขึ้นจึงค่อยกินนมสูตรปกติแต่ให้กินปริมาณน้อย ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มเพื่อให้ลำไส้ปรับตัว

 

อย่างไรก็ตาม อาการแพ้นมวัว หรือแพ้โปรตีนนมวัว มักจะเกิดจากโภชนาการของคุณแม่ทั้งขณะที่ตั้งครรภ์ และหลังคลอด ดังนั้นนอกจากจะต้องระมัดระวังเรื่องของนมที่ให้กับลูกน้อยของคุณทานแล้ว ในกรณีที่คุณแม่ให้นมแม่ร่วมด้วย คุณแม่จำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของโปรตีนนมวัว เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย และสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินเวย์ได้ไหม Whey Protein ดีกับคนท้อง และทารกในครรภ์จริงหรือไม่

ลูก แพ้นมวัว ดูแลอย่างไร ไม่ขาดสารอาหารสำคัญ

“7 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องรู้” เมื่อลูกแพ้โปรตีนนมวัว

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

Arunsri Karnmana