ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่อันตราย เพราะคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ไม่ทราบว่าตัวเองเป็น บางคนเป็นหนักมากเมื่อรู้ตัวว่าเป็นความดันก็เส้นสมองแตกไปแล้ว คนที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปขอแนะนำให้ตรวจวัดความดันเป็นระยะ ๆ เพราะหากตรวจพบว่ามีระดับสูงจะได้รักษาได้ทันท่วงที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension Day) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้จัดงาน “ความดันคุมได้ หัวใจเต้นดี” บริการตรวจวัดความดันฟรี มีนิทรรศการความรู้เรื่อง ความดันโลหิตสูง บริการให้คำปรึกษาจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด เภสัชกร และ พยาบาลวิชาชีพ

องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2542 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 / 90 มม. ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูง มักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจ ความดันโลหิตสูงเปรียบเสมือนเพชฌฆาตเงียบ ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นการควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้

ตารางวัดความปกติของความดัน

พญ. นพวรรณ กิติวัฒน์ ให้ความรู้ว่า โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก และมักจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน จะมีโรคความดันโลหิตสูงตามมาด้วย ส่งผลให้การรักษายากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พูดง่าย ๆ ว่าหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ก็เหมือนมีน้ำเชื่อมอยู่ในกระแสเลือด นอกจากจะส่งผลเสียและก่อให้เกิดการเสื่อมสลายของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่ต้องแช่อยู่ในน้ำเชื่อมเป็นเวลานานแล้ว ผนังหลอดเลือดที่มีน้ำเชื่อมอาบอยู่เป็นเวลานาน ก็ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเช่นกัน

โรคความดันโลหิตสูงพบมากในผู้สูงอายุ สมัยนี้คนที่อายุเกิน 60 ปี จะเป็นโรคนี้ถึง 60% และในผู้ที่มีอายุเกิน 80 ปี มีสูงถึง 75% เมื่อมีความดันสูง ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ความดันโลหิตสูง ข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การปรับพฤติกรรมเพื่อช่วยลดความดันโลหิตสูง

1. ลดน้ำหนัก – หากเป็นคนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์

2. มี โภชนาการที่ดี – ทานอาหารที่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวที่ต่ำ มีผัก ถั่วต่าง ๆ ผลไม้ และคาร์โบไฮเดตรที่ไม่ได้รับการขัดสี

ลดปริมาณแอลกอฮอล์ – ควรดื่มไม่เกินวันละ 60 มิลลิลิตร หรืองดการดื่มเลยจะดีที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ลดปริมาณเกลือโซเดียม – ไม่ควรทานเกลือเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีการถนอมอาหาร เช่น อาหารกระป๋อง เพราะจะมีปริมาณโซเดียมมากเพื่อการถนอมอาหาร

4. ออกกำลังกาย – อย่างน้อย 30 นาทีเกือบทุกวัน

5. สร้างสุขนิสัยการนอนที่ดี – ควรพักผ่อนให้เพียงพอและผ่อนคลายความเครียด เช่น ทำโยคะ หรือไทชี

6. ลดปริมาณแอลกอฮอล์ – ควรดื่มไม่เกินวันละ 60 มิลลิลิตร หรืองดการดื่มเลยจะดีที่สุด

ออกกำลังกาย – อย่างน้อย 30 นาทีเกือบทุกวัน ช่วยลดอาการ ความดันสูง

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ขอบคุณข้อมูลจาก :

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ – ความดันโลหิตสูง … ภัยเงียบที่ไม่ควรละเลย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ: เมื่อต้องดูแลพ่อแม่ตัวเอง

กรมควบคุมโรค เตือนให้ เฝ้าระวัง โรคไข้เลือดออกในเด็ก ในช่วงนี้!!

10 โรคหน้าฝนในเด็ก 2020 โรคหน้าฝนสุดฮิตที่เด็กมักเป็น คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team