ทารก สะอึก เป็นอันตรายไหม ? คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือกับอาการนี้อย่างไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาสุดฮิตของทารก หลังกินนม ลูกมักจะมีอาการสะอึก การที่เด็กสะอึกนั้น สร้างความกังวลให้พ่อแม่มือใหม่ เพราะไม่รู้จะหยุดลูกสะอึกอย่างไรทารกสะอึก แล้วเป็นอันตรายไหม ? วันนี้ theAsianparent Thailand ได้รวบรวมสาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหาของอาการสะอึก ที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกมาฝากคุณพ่อคุณแม่กันแล้วค่ะ โดยจะมีวิธีไหนบ้างนั้น พร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลย 

 

ทารก สะอึก เกิดจากอะไร ?

การสะอึกในเด็กแรกเกิด หรือลูกน้อยวัยทารก เกิดจากกระเพาะอาหารขยายตัว เนื่องจากนมที่กินเข้าไป ทำให้เกิดแรงดันไปที่กล้ามเนื้อกะบังลม ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอด และช่องท้อง เกิดเป็นเสียงของกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็วขณะที่หายใจออก ทำให้เด็กสะอึก พอทารกเข้าสู่วัย 4-5 เดือน อาการสะอึกจะลดลงและหายไปเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการสะอึก เกิดจากอะไร สาเหตุ และวิธีการดูแลเบื้องต้น

 

 

ทารก สะอึก ช่วยพัฒนาการร่างกายได้จริงหรือไม่ ?

อาการสะอึก เป็นสิ่งที่สร้างความรำคาญให้กับพวกเรามาก โดยเฉพาะการสะอึกของลูกน้อย เพราะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคน อาจไม่รู้วิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังไง อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยใหม่ของ University College London ได้เผยว่า เมื่อลูกน้อยแรกเกิด มีอาการสะอึก นั่นหมายความว่า สมองมีการพัฒนาที่จะควบคุมระบบหายใจในร่างกาย อีกทั้ง การศึกษานี้ ถูกตีพิมพ์ลงวารสาร Clinical Neurophysiology ซึ่งนักวิจัยได้ทำการสแกนสมองของลูกน้อยแรกเกิด เพื่อทำความเข้าใจว่าทำไม ลูกน้อยในครรภ์ และ ทารกแรกเกิดนั้นมีการสะอึกที่ค่อนข้างบ่อย โดนทารกในครรภ์ เริ่มมีอาการสะอึกเร็วที่สุดเมื่ออายุครรภ์ 9 สัปดาห์

นักวิจัยหลายคน ได้กล่าวว่า อาการสะอึกเกิดขึ้นเมื่อสมองส่งสัญญาณให้ไดอะแฟรมดึงอากาศจำนวนมากเข้าสู่ด้านหลังของลำคอ รวมทั้งกิจกรรมที่เกิดจากการสะอึกนั้น อาจจะช่วยทำให้สมองของลูกน้อยได้เรียนรู้วิธีกำหนดลมหายใจด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกน้อยควบคุมลมหายใจได้ในที่สุด เพราะฉะนั้น การสะอึกในเด็กแรก จึงเกิดนับเป็นพัฒนาการที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อยนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกสะอึกบ่อย เกิดจากอะไร? วิธีหยุดทารกไม่ให้สะอึก ทำอย่างไร?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้รวบรวม ทารกแรกเกิด 13 คนในการศึกษา รวมถึง ยังได้สังเกตทารกในครรภ์ช่วงอายุระหว่าง 30 ถึง 42 สัปดาห์ โดยได้ใช้เครื่อง อิเลคโทรดอเล็คโทรโฟกราฟิก (EEG) เพื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของสมอง และ การสะอึก พบว่าเมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวระหว่างการสะอึก จะมีการเกิดคลื่นสมองขนาดใหญ่สามตัวที่สอดคล้องกัน โดยคลื่นสมองที่สามทำให้เกิดการเชื่อมโตระหว่างเสียงสะอึก กับ การเคลื่อนที่ของกะบังลม อาการสะอึกทั้งหมดเกิดขึ้นในทารกที่ตื่นอยู่ หรือ กำลังหลับก็ได้

หนึ่งในทีมวิจัยได้เผยว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อจากการสะอึกนั้นดีสำหรับสมองที่กำลังพัฒนา เพราะมัน ช่วยให้เซลล์สมองทั้งหมดเชื่อมโยงเข้าหากัน และ ยังสามารถสอนให้ทารกแรกเกิดเข้าใจเรื่องการหายใจอีกด้วย รวมทั้งสิ่งที่เราค้นพบนั้นทำให้เราได้เข้าใจการสะอึกมากขึ้น ถึงแม้มันจะดูเป็นเรื่องน่ารำคาญสำหรับผู้ใหญ่ แต่มันเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการร่างกายสำหรับเด็กแรกเกิด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารก สะอึก เป็นอันตรายไหม ?

อย่างที่เราได้กล่าวไปเมื่อข้างต้น อาการสะอึกของลูก ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติ และเป็นการพัฒนาทางด้านร่างกายอย่างหนึ่ง เมื่อทารกสะอึกไปสักพัก พวกเขาก็จะหยุดเอง ไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นจนมีอายุ 4-5 เดือน อาการสะอึกเหล่านี้ จะค่อย ๆ หายไป ไม่เกิดขึ้นบ่อย เหมือนในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม หากลูกเกิดอาการสะอึกติดต่อกันเป็นชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูก ไปหาหมอทันที เพราะอาการสะอึกที่เกิดขึ้นนั้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายลูกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธีแก้อาการสะอึก รักษาอาการสะอึก ช่วยให้หายได้ในพริบตา

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีแก้อาการสะอึกของทารก

ปัญหาสุดฮิตของทารก คือเมื่อเด็กกินนมเสร็จ ก็มักจะมีอาการสะอึกตามมา ซึ่งการที่เด็กสะอึกนั้น สร้างความกังวลให้พ่อแม่มือใหม่ เพราะไม่รู้จะหยุดลูกสะอึกอย่างไร ไม่แน่ใจว่า ใช้วิธีเดียวกันกับผู้ใหญ่หรือเปล่า อย่าเพิ่งกังวลเกินไป เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า การที่เด็กทารกแรกเกิดมีอาการสะอึกหลังจากให้นมนั้น เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่อันตรายร้ายแรงแบบที่กลัวค่ะ

 

  • หลังจากที่ลูกกินนมแล้ว คุณแม่ต้องทำให้ลูกเรอเพื่อไล่ลมออกทุกครั้ง โดยอาจจะใช้การตบหลังเบา ๆ หรือวนมือเป็นวงกลม บริเวณท้องก็ช่วยได้เหมือนกัน
  • วิธีอุ้มให้ลูกเรอ ให้อุ้มโดยให้ส่วนหัวพักอยู่บนไหล่ของเราแล้วลูบหลัง หรือจะอุ้มพาดบ่าไปเลยก็ได้ แต่ต้องให้ลูกตัวตั้งด้วย และอุ้มเดินไปเดินมาเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลออกจากกระเพาะอาหารได้เร็วขึ้น
  • ให้ลูกนั่งตัวตรงบนตัก แล้วใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับประคองคางลูกไว้ โดยให้ตัวลูกเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือลูบขึ้นเบา ๆ ช้า ๆ ลูบจากเอวด้านหลังขึ้นมาจนถึงต้นคอ เพื่อไล่ลม
  • การให้ลูกดูดนมแม่ก็ช่วยแก้อาการสะอึกได้ โดยไม่ต้องกินน้ำ แต่ถ้าเคสที่เด็กกินนมผง อาจจะแก้โดยให้เด็กกินนมจากขวด ก็จะช่วยให้เด็กหยุดสะอึกได้เร็วขึ้น

 

กินนมแม่ช่วยแก้อาการสะอึก

นอกจากวิธีการไล่ลมแล้ว เชื่อไหมคะ ว่าการให้ลูกกินนมแม่ สามารถช่วยให้พวกเขา หายจากอาการสะอึกได้ โดยวิธีการง่าย ๆ คือ ให้ลูกกินนมแม่จากเต้า โดยไม่ต้องดื่มน้ำตาม และไม่ควรให้ลูกกินนมจากขวดบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้ลูก ดูดอากาศเข้าท้องมากขึ้น จึงอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอาการสะอึกตามมานั่นเองค่ะ

 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ อาจต้องทำความเข้าใจกับสาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหาอาการสะอึกของลูกที่ถูกต้อง คุณพ่อคุณสามารถใช้วิธีการไล่ลม หรือดื่มนมแม่ เพื่อช่วยให้ลูกหายจากอาการนี้ได้ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกดื่มนม หรือน้ำมาก ๆ เพราะหากเกิดอาการสะอึก การดื่มนม และน้ำที่มากเกินไป อาจทำให้ของเหลวเหล่านั้น ไปดันกะบังลมลูก ทำให้ลูกสะอึก และสำลักมากขึ้นได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกสะอึกในท้อง รู้สึกต่างจากลูกดิ้นอย่างไร เป็นสัญญาณบอกอะไร

ไขข้อสงสัย เมื่อลููก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

วิธีแก้ปัญหาลูกสะอึก หลังกินนม ทารกสะอึกทําไงให้หาย ให้นมลูกเสร็จแล้วลูกสะอึก

ที่มาข้อมูล : phillyvoice, enfababy

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

bossblink