โรคงูสวัด ภาวะแทรกซ้อนที่ จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) กำลังเผชิญ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้จักโรคงูสวัด ให้เพิ่มขึ้นเถอะ หลังจากที่ จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ศิลปินชื่อดังระดับโลก ประกาศเลื่อนทัวร์คอนเสิร์ต เนื่องจากอาการป่วยรุนแรงจากโรคแรมเซย์ ฮันท์ (Ramsey Hunt Syndrome) คือภาวะแทรกซ้อนจาก โรคงูสวัด เกิดจาก varicella-zoster virus infection ที่หู (Herpes zoster oticus) และมีการติดเชื้อที่ ganglion ของ 8th cranial nerve และ facial nerve ที่ผ่านมาทางผนังของ external ear และเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (chickenpox) ดังนั้น ใครที่เคยเป็นอีสุกอีใสก็อาจเป็นโรคแรมเซย์ ฮันท์ได้ด้วย เนื่องจากไวรัสจะยังอยู่ในร่างกายแม้จะหายดีแล้ว

โดยอาการของ จัสติน บีเบอร์ (Justin Bieber) ที่กำลังเป็นโรครัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากงูสวัด ที่ทำให้เป็นอัมพาตครึ่งหน้า ซึ่งเจ้าตัวก็ได้บอกว่าขอใช้เวลาช่วงนี้เพื่อไปพักรักษาตัวเองอย่างเต็มที่ และกำลังอยู่ในช่วงต้องฟื้นฟูร่างกายด้วยการทำกายภาพต่างๆ กับใบหน้า

บทความที่น่าสนใจ โรคงูสวัด คืออะไร อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!!

 

 

ทำความ รู้จักโรคงูสวัด

โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกันกับการที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้วเชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย

เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อ่อนเพลีย, พักผ่อนไม่เพียงพอ, ผู้ป่วยสูงอายุ, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัว เพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะออกมาที่ผิวหนังตามแนวเส้นประสาท

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผื่นจากโรคงูสวัดมักจะเกิดขึ้นบนผิวหนังตามแนวเส้นประสาทของร่างกายตามลำตัว, หน้าอก, แผ่นหลัง, หน้า และคอ น้อยคนจะเป็นที่ฝ่ามือ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

 

รู้จักโรคงูสวัด และอาการเป็นอย่างไร

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรกเป็นช่วงที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำลง เชื้อไวรัสจึงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ในเส้นประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดแสบปวดร้อน โดยหาสาเหตุไม่ได้
  • ระยะที่ 2 เมื่อมีอาการแสบร้อนโดยหาสาเหตุไม่ได้ประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มปรากฏผื่นแดงขึ้น และกลายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงตัวกันเป็นแนวยาวตามเส้นประสาทของร่างกาย เช่น ตามความยาวของแขน รอบเอว รอบหลัง ใบหน้า ต้นขา เป็นต้น ต่อมาตุ่มน้ำใสนั้นจะแตกออกเป็นแผล จากนั้นจะตกสะเก็ด แล้วจะหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ และอาจมีไข้ร่วมด้วย
  • ระยะสุดท้าย แม้แผลจะหายดีแล้ว แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะยังคงมีอาการปวดแสบปวดร้อนอยู่ตามรอยแนวของแผลที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจเกิดอาการปวดประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด ซึ่งจะปวดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนหลังจากที่ตุ่มใสเริ่มเกิดขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคงูสวัดและอาการแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในโรคงูสวัดคือ อาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังการติดเชื้อ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี บางรายอาจปวดนานหลายปี ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่พบ ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม, ตาอักเสบ, แผลเป็นที่กระจกตา และภาวะแทรกซ้อนทางหู นอกจากนั้นผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ, ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด อาจทำให้โรคงูสวัดอาจแพร่กระจายและรุนแรงขึ้นได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบได้น้อยคือ สมองและปอดอักเสบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษาโรคงูสวัดที่ถูกต้อง

  • รักษาตามอาการ เช่น หากมีอาการปวดแพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการ ถ้าตุ่มติดเชื้อจนกลายเป็นหนองแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ
  • ให้ยาต้านไวรัส หากมีอาการปวดรุนแรงแต่แรกที่มีผื่นขึ้น เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น
  • ฉีดยาต้านไวรัสเข้าหลอดเลือดดำ เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดขึ้นที่ตา ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต้องได้รับการรักษาร่วมกับจักษุแพทย์ ซึ่งแพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดทาน และยาหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา

 

การป้องกันจากโรคงูสวัด

  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอเพื่อไม่ให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเป็นโรคงูสวัดได้
  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดจำนวน 1 เข็มเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคงูสวัด และลดความรุนแรงของโรคได้
  • หากยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อ หรือไม่ควรสัมผัสแผลของผู้ป่วยโรคงูสวัด
  • โรคงูสวัดเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ในปัจจุบันเราสามารถป้องกันโรคนี้ง่าย ๆ ด้วยการฉีดวัคซีนที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคร้ายนี้ได้

 

บทความที่น่าสนใจ

โรคงูสวัด คืออะไร อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!!

งูสวัด ทารก โรคงูสวัดในเด็กเล็ก อาการของทารกที่เป็นโรคงูสวัด แม่จะสังเกตได้ยังไง

เสี่ยงแท้งหรือไม่!! แม่ท้องเป็นงูสวัด

 

ที่มา (mahidol) (petcharavejhospital) (thonburihospital)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn