ฮีทสโตรก (Heatstroke) วิธีการรับมือ เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงอย่างเฉียบพลัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฮีทสโตรก คืออะไร อันตรายต่อร่างกายหรือไม่ วันนี้ theAsianparent นำข้อมูลของโรคฮีทสโตรก และวิธีรับมือกันโรคนี้ ตัวร้อนแต่ไม่มีไข้ มาฝาก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

 

ฮีทสโตรกคืออะไร ตัวร้อนแต่ไม่มีไข้

โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke) ตัวร้อนแต่ไม่มีไข้  เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไปซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่นสมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ บางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีดูแลทารกหน้าร้อน แดดแรง ลูกตัวร้อน อุณหภูมิรอบตัวสูงขนาดนี้ แม่ต้องทำอย่างไร อากาศร้อนต้องห่มผ้าให้ลูกไหม

 

พญ.ดวงพร รุธิรโก ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ฮีทสโตรก ตัวร้อนแต่ไม่มีไข้ อาการตัวร้อนแต่ไม่มีไข้

พญ.ดวงพร รุธิรโก อายุรแพทย์ และแพทย์ด้านเวชบำบัดวิกฤตระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า โรคลมแดด ตัวร้อนแต่ไม่มีไข้ หรือ ภาวะฉุกเฉินจากความร้อน (Heatstroke) แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามสาเหตุที่ทำให้เกิด ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • Classic heatstroke or Non-exertional heatstroke

เกิดจากการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงแล้วทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงตาม มักพบในคนที่อยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและชื้นเป็นเวลานาน

 

  • Exertional heatstroke

ในกรณีนี้อุณหภูมิร่างกายมักสูงขึ้นจากการทำงานหรือออกกำลังกายอย่างหนักในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเกิดได้ง่ายขึ้นในคนที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีโอกาสเกิดภาวะฮีทสโตรกได้ง่ายขึ้น เช่น อายุที่น้อยหรือมากเกินไป มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

การใช้ยาบางกลุ่มที่ทำให้สูญเสียสารน้ำ หรือร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้เช่นกัน หรือการที่ร่างกายต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น ในกรณีที่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศที่อากาศร้อนหรือในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน (heat wave) ร่างกายปรับตัวไม่ทันก็ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้ง่าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการของโรคฮีทสโตรกเป็นอย่างไร

  • อาการของผู้ป่วยที่เป็นฮีทสโตรกจะมีอุณหภูมิกาย 40 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า ร่วมกับภาวะความรู้สติเปลี่ยนแปลงอาจเกิดอาการสับสน กระวนกระวาย เพ้อ ชักหรือหมดสติได้ หัวใจเต้นเร็ว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น
  • ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังแดง แพทย์จะวินิจฉัยโรคจากการทราบประวัติว่าผู้ป่วยมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะนี้ การตรวจร่างกายพบว่ามีอุณหภูมิกายสูงร่วมกับอาการแสดงในระบบต่าง ๆ
  • บางกรณี อาจวินิจฉัยร่วมกับผลตรวจเลือดและเอกซเรย์ เพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนของฮีทสโตรกร่วมด้วย
  • ในผู้ป่วยบางรายที่มีโรคและความผิดปกติทางระบบประสาทอยู่เดิม เมื่อต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงเป็นเวลานาน หรือมีภาวะที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมาก อาจทำให้อาการทางระบบประสาทที่เคยมีกลับเป็นซ้ำได้ เช่น ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมอง multiple sclerosis หรือโรคลมชัก ซึ่งกลไกที่กระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้นจะแตกต่างกันในแต่ละโรค

 

ภาวะฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด แตกต่างจากสโตรก อย่างไร

นพ.ภวิศ เหลืองเวชการ กล่าวเกี่ยวกับความแตกต่างของ ฮีทสโตรก กับ ลมแดด อาการตัวร้อนแต่ไม่มีไข้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ด้าน นพ.ภวิศ เหลืองเวชการ แพทย์ด้านเวชบำบัดวิกฤตระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดมีความแตกต่างจากสโตรก (stroke) คือ ภาวะฉุกเฉินของระบบประสาทที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ / อุดตัน หรือแตก ซึ่งมักจะทำให้เกิดอาการอ่อนแรง ชา พูดลำบาก ปากเบี้ยว หรือการทรงตัวผิดปกติเฉียบพลัน ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน แต่จะมีแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาที่แตกต่างไปจากฮีทสโตรก ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะสำคัญต่าง ๆ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น โรคทางสมองมีโอกาสทำให้เกิดอาการชัก สมองบวม อาจเกิดการเสียหายถาวรของเซลล์สมอง อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) ส่งผลกระทบถึงภาวะไตวายเฉียบพลันได้

การสูญเสียสารน้ำ ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงตับลดลงอาจทำให้เกิดภาวะตับวาย มีการทำงานที่หนักขึ้นของหัวใจอาจส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดภาวะหัวใจวายได้ อาจทำให้เกิดภาวะวิกฤติทางระบบการหายใจ (Acute respiratory distress syndrome) อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หรือเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคที่มากับหน้าร้อน โรคฮิตสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกป่วย

 

วิธีการลดอุณหภูมิของร่างกาย ตัวร้อนแต่ไม่มีไข้

 

  • พาผู้ป่วยเข้ามาพักในที่ร่ม หรือในที่ที่มีเครื่องปรับอากาศและมีอุณหภูมิที่เย็นลง
  • ถอดเสื้อผ้าและคลายเครื่องแต่งกายที่รัดแน่นจนเกินไปออก เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว
  • อาจเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือใช้ถุงน้ำแข็งวางบริเวณศีรษะ ลำคอ รักแร้และขาหนีบ หรืออาจใช้สเปรย์น้ำเย็นพ่น
  • ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้จะทำให้ความสามารถในการปรับอุณหภูมิของร่างกายสูญเสียไป รวมถึงการดื่มน้ำเย็น ๆ ในทันที จะทำให้เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหารได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ลูกป่วยเป็นอะไรได้บ้างในฤดูกาลต่างๆ

 

วิธีป้องกัน ภาวะฮีทสโตรก

  • สวมใส่เสื้อผ้าโปร่งระบายลมได้ง่าย หากรู้ตัวว่าจะต้องไปอยู่ในที่อากาศร้อน อาจป้องกันตัวเองจากแสงแดดโดยสวมใส่แว่นกันแดด หรือหมวกรวมถึงใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักในที่อาการร้อน และถ่ายเทไม่สะดวก
  • หากพบผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่ามีอาการที่เข้าข่ายของโรค ควรติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินหรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียง

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :  รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล โทร.02-310-3000 contact center โทร.1719

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ฝ่ายสื่อสารการตลาด โรงพยาบาลกรุงเทพ

  • ปานฤทัย คงยิ้มละมัย (ปิงปอง) หัวหน้าฝ่ายสื่อสารการตลาด (PR)
  • ตัวแทนประชาสัมพันธ์โดย บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  โทร. 02-732-6069-70
  • อำไพพรรณ นภาสกุลคู   (โอ่ง)  086-351-7729   จารุวรรณ ศิริปัญจนะ (วรรณ) 081-819-7682
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong