จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์ อาหารไม่ย่อย แน่นหน้าอกบ่อยๆ คนท้องต้องทำอย่างไร

จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์ อาการที่พบบ่อยมากในคนท้อง เนื่องจากว่าเมื่อคุณแม่ท้องใหญ่ขึ้นพื้นที่ในกระเพาะอาหารลดน้อยลง ซึ่งคุณแม่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีเหล่านี้

อาการ จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์ เสียดท้อง คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อยคลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก มักจะเกิดขึ้น หลังจากทานอาหาร และบ่อยครั้ง มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลา ตอนกลางคืน หรือช่วงที่คุณแม่กำลังงีบหลับ เนื่องจาก กรดไหลย้อน กลับไปยังหลอดอาหารนั่นเองค่ะ อาการเสียดท้องของคนตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่เกิดอาการ ดังต่อไปนี้

  • แน่นหน้าอก
  • แสบร้อนกลางอก ลิ้นปี่ และ  ลำคอ
  • รู้สึกเปรี้ยวปาก หรือ ขมคอ

อาการปวดท้อง แสบร้อน ท้องอืด เรอ คลื่นไส้ อาจเป็นอาการของ กรดไหลย้อน หรือ โรคกระเพาะ อาการอักเสบ ซึ่งอาการของสองโรคนี้ จะมีความคล้ายคลึงกัน

 

จุกเสียดท้อง อาการจุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์

อาการเสียดท้องของคนตั้งครรภ์ สาเหตุของอาการ จุกเสียดท้อง มาจากอะไร?

สำหรับอาการ จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์ ของคุณแม่นั้นมีสาเหตุมากจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเกี่ยวข้อกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณแม่นั้นมักทำโดยที่ไม่รู้ตัว โดยสาเหตุต่าง ๆ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • กินอาหาร มากเกินไป
  • ทานอาหาร รสจัด
  • กินอาหาร ที่มีไขมันสูง
  • กินผลไม้ที่เป็น กรด เช่น มะนาว
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มี คาเฟอีน หรือ น้ำอัดลม
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • ทานยาบางชนิด
  • เกิดจากอาการเครียด

อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการจุกเสียดท้อง

เมื่อคุณแม่รู้สึกปวดแสบ ปวดร้อนกลางอก นอนหลับไม่สบาย เพราะอาการ จุกเสียด แน่นท้อง แต่บางครั้ง คุณแม่อาจจะเผชิญกับ อาการแทรกซ้อนเหล่านี้อีกด้วย ได้แก่

  • อาการเจ็บคอ
  • เจ็บหน้าอก
  • เสียงแหบ
  • มีอาการไอ หรือ หายใจลำบาก
  • เม็ดเลือกแดงน้อยลง

หากคุณแม่รู้สึกว่า มีอาการเหล่านี้ขึ้นมา แนะนำให้ไปพบแพทย์นะคะ

 

จุกเสียดท้อง จุกเสียดตอนท้อง

วิธีแก้อาการจุดเสียด

มักพบได้บ่อยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด เมื่อเด็กตัวใหญ่ขึ้น เขาก็จะดันท้องคุณ และ ทำให้กรดในกระเพาะ ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร สิ่งที่คุณควรทำ เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว คือ

  • หลีกเลี่ยงอาหาร รสเผ็ด อาหารทอด และ กาแฟ
  • กินมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อ
  • ดื่มน้ำระหว่างมื้อ แทนการดื่มในขณะที่กำลังกินอาหาร
  • นั่งตรง ๆ หลังอาหาร 1 – 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยง เสื้อผ้าคับ ๆ หรือ รัด ๆ
  • นอนแบบกึ่งนั่ง โดยพิงหมอน สองสามใบ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ ให้ได้ประมาณ 8 แก้วต่อวัน
  • อย่านอนทันที หลังจากรับประทานอาหาร
  • อย่าสูบบุหรี่ หรือ แอลกอฮอล์

 

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เริ่มแพ้ท้องตอนไหน จะรู้ได้เมื่อไร อาการแพ้ท้องเป็นอย่างไร?

ผักที่มีประโยชน์ต่อคนท้อง รวมสุดยอดผักที่แม่ท้องควรทานตั้งแต่ไตรมาสแรก

ลูกเริ่มดิ้นเมื่อไหร่ สาเหตุที่ลูกไม่ดิ้นเกิดจากอะไร ลูกเริ่มดิ้นตรงไหนของท้อง

ที่มา : Verywellfamily

บทความโดย

Khunsiri