ชวนทำความรู้จัก “เสียงฟู่ของหัวใจ” (Heart Murmur) คืออะไร เสียงหัวใจผิดปกติ ในเด็กเล็ก จะเป็นอันตรายหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เพื่อจะได้รู้จักวิธีรับมือให้ถูกต้อง
เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart Murmur) คืออะไร ?
เสียงฟู่ของหัวใจ คือ เสียงที่คล้ายกับเสียงเป่าลม เกิดในระหว่างรอบการเต้นของหัวใจ โดยเสียงชนิดนี้สามารถได้ยินผ่านหูฟังของแพทย์ เป็นเสียงโลหิตไหลผ่านหัวใจ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ
อาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบไม่เป็นอันตราย ซึ่งเรียกว่า เสียงฟู่หัวใจชนิดปกติ (innocent heart murmur) เสียงฟู่ของหัวใจไม่ใช่โรค และบ่อยครั้งมักพบแบบไม่เป็นอันตรายในเด็กเสียงฟู่ของหัวใจชนิดปกติ ตรวจพบเสียงฟู่หัวใจเป็นเสียง Systolic Ejection Murmur (SEM) ในระดับ 2-3 จาก 6 ระดับ โดยฟังได้ชัดที่สุดบริเวณ ขอบล่างซ้ายของกระดูกสันอก นอกจากนี้เด็กที่เสียงฟู่ชนิดปกติ ตรวจพบโครงสร้างหัวใจ และมีปริมาณเลือดไปปอดที่ปกติ นอกจากนี้ผลตรวจเอกซเรย์ทรวงอกไม่พบลักษณะของหัวใจโต เสียงฟู่ชนิดปกติจะสามารถหายเองเมื่อเด็กโตขึ้น และสำหรับผู้ใหญ่ เสียงฟู่อาจหายไปเมื่อโรคที่เป็นสาเหตุนั้นหายดีขึ้น
อาการเป็นเสียงฟู่ของหัวใจเป็นอย่างไร
- มีอาการไอเรื้อรัง
- เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เหนื่อย
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม
- เหงื่อออกมากกว่าปกติ
- มีอาการตัวบวม หรือน้ำหนักขึ้นแบบฉับพลัน
- ปลายนิ้วมือหรือริมฝีปาก กลายเป็นสีเขียว
สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะเสียงฟู่ของหัวใจ
- คนในครอบครัวเคยมีประวัติภาวะหัวใจผิดปกติ หรือเป็นโรคหัวใจ
- โรคประจำตัวบางประการ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคแพ้ภูมิตัวเอง กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ โลหิตจาง
- ช่วงตั้งครรภ์เกิดภาวะเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ , ติดเชื้อหัดเยอรมัน
- ใช้ยาหรือสารเสพติด ดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้ทารกเกิดความผิดปกติของหัวใจ
- ความบกพร่องของหัวใจตั้งแต่กำเนิด เกิดรูในผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจทำให้ทำงานผิดปกติ แต่ส่วนมากสามารถผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติเหล่านี้ได้
- โรคลิ้นหัวใจไมตรัลหรือเอออร์ติกรั่ว (Mitral or aortic regurgitation) คือเลือดไหลไปผิดทาง ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อผลักดันเลือดให้ไหลย้อนกลับผ่านลิ้นหัวใจ ในอนาคตอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
- ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบและแข็ง (aortic sclerosis and stenosis) พบมากในผู้สูงอายุ เกิดเสียงฟู่เพราะลิ้นหัวใจเอออร์ติกแข็งตัว ทรงผลให้เจ็บทรงอก หายใจลำบาก แต่ลิ้นหัวใจยังสามารถทำงานได้อีกหลายปีหลังเริ่มเกิดเสียงฟู่ของหัวใจ
- ลิ้นหัวใจเอออร์ติกหรือไมตรัลตีบ (mitral valve or aortic stenosis) เป็นลิ้นหัวใจที่อยู่ด้านซ้ายของหัวใจ ถ้าลิ้นนี้ตีบลง จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้
- ลิ้นหัวใจไมตรัลปลิ้น (mitral valve prolapse) ตามปกติ ลิ้นหัวใจไมตรัลจะปิดสนิท เมื่อห้องหัวใจล่างซ้ายหดตัว ลิ้นหัวใจนี้จะหยุดเลือดไม่ให้ไหลกลับ แต่ถ้าลิ้นหัวใจโป่งออกมาและปิดไม่สนิท จะทำให้เกิดเสียงคลิกเมื่อหัวใจเต้น ภาวะนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นค่อนข้างน้อยและมักไม่รุนแรง
เสียงฟู่ของหัวใจพบได้บ่อยหรือไม่ ?
มักจะพบกับเด็กเล็กๆ ร้อยละ 40-45 และในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 แต่เป็นเสียงฟู่ของหัวใจชนิดปกติไม่เป็นอันตราย และพบได้ในคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์บุตร ส่วนเสียงฟู่ของหัวใจที่ผิดปกติมักพบในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจบกพร่อง ลิ้นหัวใจตีบ ผนังภายในหัวใจรั่ว หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
บทความที่น่าสนใจ : โรคหัวใจโตในเด็ก และโรคหัวใจในผู้ใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม
การป้องกันและรักษา ควรพบแพทย์หรือไม่
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นประเภทโปรตีนและผัก ผลไม้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานเชื้อโรคได้
- ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพราะเสียงฟู่หัวใจไม่ใช่โรค มีโอกาสหายได้เองเมื่อโตขึ้น
- การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของลิ้นหัวใจบางประเภท ในกรณีที่รุนแรง
- รักษารับยากินเป็นประจำ รักษาอาการตามคำสั่งของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- มีอาการของโรคหัวใจ เช่น อาการเจ็บหน้าอก เจ็บคอ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม ริมฝีปากหรือปลายนิ้วมือมีสีน้ำเงินจาง ไอเรื้อรัง เหนื่อยหอบ มีเหงื่อออกมากแม้ออกแรงเพียงเล็กน้อย
- ได้ยินเสียงฟู่ของหัวใจ เมื่อมีไข้หรือในระหว่างออกกำลัง
ผู้ที่มีภาวะเสียงฟู่หัวใจผิดปกติ อาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมหาความผิดปกติ เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันที
- การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก เพื่อให้เห็นภาพของหัวใจ ปอดและหลอดเลือด ถ้าหัวใจขยายโตขึ้นอาจเป็นอาการที่ซ่อนอยู่ สาเหตุของเสียงฟู่หัวใจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram, ECG) เพื่อตรวจหาจังหวะหัวใจและปัญหาทางโครงสร้างการทำงาน
- การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) การสอดสายสวนเข้าสู่เส้นเลือดดำหรือเส้นเลือดแดงในขา หรือแขนจนกว่าจะไปถึงหัวใจ เพื่อช่วยประเมินแรงดันในห้องหัวใจ
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) โดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์การทำงาน และโครงสร้างของหัวใจอย่างละเอียด สามารถระบุอาการรั่วของลิ้นหัวใจ และความผิดปกติอื่น ๆ
บทความที่น่าสนใจ :
หัวใจวายมีอาการเป็นอย่างไร มีวิธีรักษาหรือไม่ รวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจวาย
โคคิวเทน (CoQ10) ป้องกันโรงหัวใจได้จริงหรือไม่? มีอยู่ในอาหารใดบ้าง?
เครื่องฟังเสียงหัวใจทารก คืออะไร ? จำเป็นแค่ไหนกันนะ ?
ที่มาข้อมูล : kidshealth , hellokhunmor , doctor