ตรวจเลือดตั้งครรภ์ หรือการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือด ตรวจอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อสตรีที่ประจำเดือนขาด หรือรอบเดือนมาไม่ปกติ โดยมาก มักจะตั้งข้อสงสัยว่า ตนเองนั้นมีโอกาสตั้งครรภ์หรือไม่? ซึ่งโดยส่วนใหญ่ หลังจากที่เกิดข้อสงสัยเราจะสามารถตรวจการตั้งครรภ์เบื้องต้น ด้วยตัวเองได้จาก ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ โดยการใช้ปัสสาวะเป็นหลัก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ อาจมีความแม่นยำไม่สูงหากเทียบกับการ ตรวจเลือดตั้งครรภ์ หรือการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือด แล้วหากเราต้องการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือด เราจะทำได้อย่างไร และการตรวจแบบนี้ จะบอกผลอะไรได้บ้าง

 

 

ตรวจเลือดตั้งครรภ์ หรือการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือด (hCG)

การทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยเลือด หรือ hCG เป็นการตรวจการตั้งครรภ์โดยใช้หลักการหาฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin : hCG) ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ จะเกิดขึ้นหลังจากมีการปฏิสนธิแล้วตั้งแต่ 6 วันขึ้นไป โดยเมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วจากเซลล์ปกติ จะปรับเปลี่ยนกลายเป็นรก และทำให้ระดับปริมาณของฮอร์โมนเอชซีจีปรับเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นจุดที่บ่งบอกการตั้งครรภ์ และอายุครรภ์โดยคร่าว ๆ ได้

การตรวจลักษณะนี้จำเป็นจะต้องเข้ารับการตรวจสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีการยืนยันผลโดยนักเทคนิคการแพทย์ ด้วยวิธีการตรวจจากฮอร์โมน Beta-hCG ซึ่งผลที่ได้รับมีความแน่นอนถึง 100% และใช้ระยะเวลาในการรอฟังผลทดสอบเพียงแค่ 1 – 2 ชั่วโมงเท่านั้น

 

การตรวจเลือดตั้งครรภ์มีประโยชน์อย่างไร ?

บางรายอาจมีความสงสัยว่า ในเมื่อเราสามารถตรวจสอบทางตั้งครรภ์ทางปัสสาวะได้แล้ว ทำไมเราจึงจำเป็นจะต้องใช้เลือดเพื่อตรวจการตั้งครรภ์ด้วย แม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้ จะมีความแม่นยำที่แตกต่างกัน แต่ประโยชน์ในการตรวจฮอร์โมน hGC นั้น ยังมีประโยชน์อีกหลาย ๆ ด้าน ในขณะที่การตรวจผ่านทางปัสสาวะไม่สามารถบ่งบอกได้ นั่นก็คือ

  • การทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้ เหมาะกับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก หรือเคยมีประวัติการแท้งบุตรมาก่อน เพื่อต้องการข้อมูลในการวางแผนการดูแล และการปรับระดับฮอร์โมนเพื่อป้องกันการแท้งบุตร
  • การเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมน hCG นั้น ช่วยบอกถึงพัฒนาการของการตั้งครรภ์ว่าเป็นปกติดีหรือไม่ เพราะโดยปกติแล้ว ระดับ hCG จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรก และจะเริ่มลดต่ำลงเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 3
  • ระดับ hCG ที่ต่ำมากเกินไป อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการแท้งเนื่องจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น
  • นอกจากนี้ระดับฮอร์โมน hCG ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีการตั้งครรภ์ร่วมด้วยนั้น อาจบอกถึงภาวะการมีเนื้องอกในมดลูกได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : hCG คืออะไร เกี่ยวอะไรกับคนท้อง แล้วเราจะรู้ค่า hCG ได้อย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผลลัพธ์ค่า hCG แค่ไหน หมายถึงอะไร?

*** ผลลัพธ์แสดงเป็นหน่วยสากลต่อมิลลิลิตร (mUI/mL) ***

ค่า hCG ระดับปกติ

  • สตรีไม่ตั้งครรภ์ : น้อยกว่า 5 mIU/mL
  • ผู้ชายที่มีสุขภาพดี : น้อยกว่า 2 mIU/mL

ในการตั้งครรภ์ ระดับ HCG จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสแรกและลดลงเล็กน้อย ช่วง HCG ที่คาดหวังในสตรีมีครรภ์ขึ้นอยู่กับความยาวของการตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • 3 สัปดาห์ : 5 – 72 mIU/mL
  • 4 สัปดาห์ : 10 -708 mIU/mL
  • 5 สัปดาห์ : 217 – 8,245 mIU/mL
  • 6 สัปดาห์ : 152 – 32,177 mIU/mL
  • 7 สัปดาห์ : 4,059 – 153,767 mIU/mL
  • 8 สัปดาห์ : 31,366 – 149,094 mIU/mL
  • 9 สัปดาห์ : 59,109 – 135,901 mIU/mL
  • 10 สัปดาห์ : 44,186 – 170,409 mIU/mL
  • 12 สัปดาห์ : 27,107 – 201,165 mIU/mL
  • 14 สัปดาห์ : 24,302 – 93,646 mIU/mL
  • 15 สัปดาห์ : 12,540 – 69,747 mIU/mL
  • 16 สัปดาห์ : 8,904 – 55,332 mIU/mL
  • 17 สัปดาห์ : 8,240 – 51,793 mIU/mL
  • 18 สัปดาห์ : 9,649 – 55,271 mIU/mL

ช่วงค่าปกติอาจแตกต่างกันเล็กน้อยในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ นั่นเป็นสาเหตุที่เราจำเป็นจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้อ่านผลเพื่อทำการวินิจฉัยอย่างตรงไปตรงมา

 

สามารถการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือด ได้เลยหรือไม่?

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ต้องการตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วยเลือด หรือ hCG นี้ จำเป็นจะต้องเข้าแพทย์ เพื่อทำการซักถามประวัติ และข้อมูลของผู้ที่ต้องการรับการตรวจ เช่น

  • เวลาของประจำเดือนที่มาครั้งสุดท้าย
  • อาการที่ทำให้สงสัยว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปัสสาวะบ่อย เต้านมคัด เป็นต้น

การซักถามประวัติเหล่านี้ เป็นการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการวินิจฉัยผลลัพธ์อย่างตรงไปตรงมา และเพื่อให้เกิดความแม่นยำมากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ควรมีค่าฮอร์โมน hCG เท่าไหร่ถึงถือว่าปกติ

 

 

ความผิดพลาดของการตรวจ hCG เกิดขึ้นได้จากสาเหตุอะไรบ้าง?

แม้ว่าทางการแพทย์จะมีการยืนยันว่า การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือดนั้น มีความแม่นยำถึง 100% ซึ่งในบางตำรากล่าวถึงความแม่นยำเพียง 99% นั่นเป็นเพราะ ยังคงมีเพียง 1% ที่เหลือ ที่อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น

  • มีการแท้งบุตรเพียงไม่นาน (เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถปรับระดับฮอร์โมนให้กลับสู่ภาวะปกติได้ทัน เมื่อมีการตรวจสอบระดับ hCG)
  • มีการใช้ยารักษาภาวะเจริญพันธุ์บางชนิด
  • มีการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งในมดลูก ทำให้มีการกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมน hCG ออกมามากกว่าปกติ

ซึ่งถ้านับรวมความผิดพลาดที่เกิดจากการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยเลือด หากได้นำผลการทดสอบไปวินิจฉัยร่วมกับการซักประวัติ ก็จะทำให้ทราบได้ว่า ผู้ที่เข้ารับการตรวจอยู่ในภาวะตั้งครรภ์จริง หรือมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่น ๆ กันแน่

 

 

ควรทำอย่างไร เมื่อผลออกมาว่าท้อง ?

เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่เฝ้ารอคอยการตั้งครรภ์อย่างใจจดใจจ่อ เมื่อผลทดสอบออกมาเป็นบวก นั่นหมายถึง คุณได้มีการตั้งครรภ์แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่คุณควรทำเป็นอันดับแรก นั่นก็คือการฝากครรภ์ เพื่อทำการทดสอบ และติดตามพัฒนาการต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ รวมถึงสุขภาพของคุณแม่อีกด้วย

การเข้ารับการทดสอบการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด, การตรวจหากรุ๊ปเลือด, ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ตรวจหาภูมิคุ้มกัน รวมถึงการตรวจคัดกรองเบาหวาน เป็นการตรวจสอบเพื่อป้องกันภาวะต่าง ๆ ที่จะส่งผลอันตรายต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ เป็นการดูแล พร้อมทั้งให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพครรภ์อย่างถูกต้อง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าการทดสอบ หรือการตรวจเลือดตั้งครรภ์ จะมีความแม่นยำมาก แต่ทางคุณหมออาจต้องมีซักถามประวัติต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์รวมกับผลลัพธ์ที่ได้ และอาจจะทำการตรวจซ้ำหากมีข้อสันนิษฐานว่าอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของการตั้งครรภ์ ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการตรวจสอบชนิดนี้ให้คุณได้มากกว่าการตรวจทั่วไปอย่างแน่นอน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีการตรวจครรภ์ ทำยังไงได้บ้าง เปิด 4 วิธีที่ต้องรู้

ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ?

ความผิดพลาดของที่ตรวจครรภ์ รู้ตัวอีกทีก็ท้องโตซะแล้ว

ที่มา : mountsinai, medicalnewstoday, nakornthon

บทความโดย

Arunsri Karnmana