การไหว้ผู้ใหญ่ : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

พ่อแม่บางท่านคิดว่าเรื่องมารยาท การทักทายผู้ใหญ่ เป็นเรื่องไม่สำคัญ ไว้รอให้ลูกโตก็เรียนรู้ได้เอง หรือคิดว่า เป็นหน้าที่ของคุณครูที่จะเป็นผู้สอน ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิดมาก มารยาทการเข้าสังคมของเด็ก จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ในครอบครัว เริ่มตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กทารกกันเลยทีเดียวค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่บางท่านคิดว่าเรื่องมารยาท การทักทายผู้ใหญ่ การไหว้ผู้ใหญ่ มารยาทในการทักทาย เป็นเรื่องไม่สำคัญ ไว้รอให้ลูกโตก็เรียนรู้ได้เอง หรือคิดว่า เป็นหน้าที่ของคุณครูที่จะเป็นผู้สอน ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิดมาก มารยาทการเข้าสังคมของเด็ก จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ในครอบครัว เริ่มตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กทารกกันเลยทีเดียวค่ะ

มารยาทในการทักทาย

เราควรจะสอนให้เด็กรู้จัก ไหว้ผู้ใหญ่ ไหว้ขอบคุณ ไหว้ขอโทษ และควรเป็นการไหว้ ที่มีความตั้งใจ มีความเคารพด้วย หรือ เมื่อเห็นผู้ใหญ่นั่งอยู่ เด็กควรนั่งลงไม่ยืนค้ำหัวผู้ใหญ่ ถ้าจะต้องเดินผ่านผู้ใหญ่ หรือ พระสงฆ์ แม่ชี ครู อาจารย์ เด็กควรค้อมหลังลงเล็กน้อย แล้วค่อย ๆ เดินผ่านไปอย่างสุภาพ

 

การไหว้ผู้ใหญ่

 

สอนลูกไหว้ การทักทายผู้ใหญ่ ได้อย่างไร? มารยาทในการทักทาย

  1. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

คุณพ่อคุณแม่สามารถ สอนให้ลูกรู้จักการไหว้ได้ตั้งแต่ลูกอายุ 1 – 3 ปี โดยเริ่มจากการที่คุณพ่อคุณแม่ไหว้ให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งในเด็กเล็กที่ยังพนมมือไม่เป็นนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสอนโดยจับมือลูก ให้พนมมือเข้าด้วยกันอย่างถูกต้อง โดยบอกให้ลูกรู้ว่า นี่คือการไหว้เป็นการแสดงออกที่สวยงามน่ารัก นอกจากนี้ เมื่อลูกได้เห็นคุณพ่อคุณแม่ยกมือไหว้ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย และผู้อาวุโสบ่อย ๆ ก็จะรู้ว่านี่เป็นพฤติกรรมที่ดี ที่ควรกระทำซึ่งจะทำให้ลูกเลียนแบบ และซึมซับพฤติกรรมนี้ได้ไม่ยาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. สอนการไหว้อย่างถูกต้อง

คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกไหว้ผู้อาวุโส และผู้มีพระคุณ ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ โดยการพนมมือนิ้วชิดกันพร้อมกับก้มศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดกับปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว และการไหว้บุคคลที่มีอาวุโสกว่าเล็กน้อยที่เคารพนับถือ โดยการพนมมือนิ้วชิดกัน แล้วยกขึ้นพร้อมทั้งก้มศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก

 

  1. อย่าปล่อย! เมื่อลูกไม่ยอมไหว้

ทุกครั้งที่ลูกมีท่าทีดื้อ หรือต่อต้านที่จะไหว้สวัสดี ทักทายผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ยอม ที่จะปล่อยตามใจลูก แต่ต้องเอาจริงเอาจังที่จะสอนให้ลูกตระหนักว่า การไหว้เป็นสิ่งสำคัญที่ลูกจะละเลยไม่ได้ และต้องปฏิบัติจนติดเป็นนิสัยความเคยชิน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : นิสัย การกิน ที่ไม่ดี ของเด็ก ๆ เกิดจากอะไร สอนลูกให้กินอย่างไรจึงจะดี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5 มารยาทในการเข้าสังคมที่เด็กควรมี (ขั้นพื้นฐาน)

 

1. การไหว้ เด็กต้องยกมือไหว้ผู้ใหญ่ก่อนเสมอ ทั้งต้องกล่าวคำทักทายเช่น สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ อย่างสุภาพอ่อนน้อม และเป็นการไหว้ที่มีความตั้งใจ ไม่ใช่แค่สักแต่ไหว้ส่ง ๆ ไป เมื่อจะลากลับ เด็กก็ควรไหว้สวัสดีเพื่อขอตัวลากลับด้วย เป็นการรู้จักคำว่า “ไปลา - มาไหว้” และมีสัมมาคารวะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เมื่อต้องการสิ่งใดควรถาม หรือขออนุญาตก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่พ่อแม่ควรสอนลูก เพราะการมีมารยาทในการหยิบจับหรือใช้ของใด ๆ ก็ตามโดยเฉพาะของผู้อื่น ลูกต้องถาม หรือขออนุญาตเจ้าของให้เขาอนุญาตก่อนจึงใช้ได้ ห้ามถือวิสาสะเด็ดขาด

 

3. รู้จักขอโทษ และยอมรับผิด พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จัก กล่าวคำขอโทษ ถ้าลูกทำผิดพลาดกับผู้อื่นด้วยความองอาจ เพราะการขอโทษเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่ง ของผู้ดีที่แท้จริงไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่อย่างใด

 

4. ควรรู้จักกาลเทศะ เด็ก ๆ ควรเรียนรู้เรื่องกาลเทศะให้มาก ๆ เช่น เมื่อผู้ใหญ่กำลังสนทนากัน เด็กก็ควรหลบไปเล่นที่อื่นก่อน แต่ไม่ไกลเกินไป เพราะเผื่อพ่อแม่จะเรียก ให้มาช่วยบางสิ่งบางอย่างได้ไม่ยากนัก ไม่ส่งเสียงดัง ไม่วิ่งซุกซน หรือเข้ามาแทรกกลางวงสนทนาของผู้ใหญ่ มีอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ หรือสามารถเห็นได้บ่อย ๆ คือ อย่าปล่อยให้ลูกวิ่งเล่น หรือส่งเสียงดังบนรถประจำทาง รถไฟฟ้า หรือเรือโดยสาร เพราะเป็นการรบกวนผู้อื่น และอาจเกิดอันตรายได้

 

5. เมื่อลูกต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ควรสอนให้เด็กรู้จักวัฒนะธรรมของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น นั่นคือ การมีน้ำใจไมตรีต่อหมู่คณะ ร่วมแรงร่วมใจสามัคคีกัน ไม่อิจฉาริษยา และไม่แบ่งแยกพรรคพวกแบ่งกลุ่มจนขาดความสามัคคี มีการแบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกัน และกันอย่างดีเพื่อกิจกรรมของหมู่คณะจะได้สำเร็จลุล่วง เมื่อถึงเวลากินก็กินด้วยกันแต่เมื่อถึงเวลาต้องเก็บต้องล้าง ก็ช่วยกันทุกคนไม่หลบ ไม่อู้งาน เป็นเด็กดีมีน้ำใจนักกีฬา รู้จักการให้อภัย และมีความจริงใจต่อผู้อื่น

 

การไหว้ผู้ใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จะจัดกิจกรรมสอนลูกให้ปฏิบัติตนต่อญาติผู้ใหญ่ที่บ้านได้อย่างไร?

การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่มีผลต่อการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ เด็กปฐมวัยต้องการการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ซึ่งเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่เหมาะสม เด็กจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ สุขภาพจิตดี และมีบุคลิกภาพที่ดี การปลูกฝังคุณธรรมด้านความสุภาพ การมีสัมมาคารวะ และมารยาทที่ดีต่อญาติผู้ใหญ่

 

พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้เกิดกับเด็กได้ตั้งแต่วัยแรกเริ่ม เด็กจะเรียนรู้ และซึมซับพฤติกรรมจากการอบรมเลี้ยงดู และการปฏิบัติของพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นกิริยามารยาท การพูด การแสดงท่าทางต่าง ๆ ที่เป็นการแสดงออกถึงการมีความสุภาพ การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อญาติผู้ใหญ่

 

นอกจากนี้การฝึกฝนให้เด็กปฏิบัติตนต่อญาติผู้ใหญ่จากสถานการณ์จริง เช่น เมื่อญาติผู้ใหญ่มาเยี่ยมเยียน พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กปฏิบัติต่อญาติผู้ใหญ่ด้วยการกล่าวทักทาย การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ การใช้คำพูดที่สุภาพ การบริการเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อญาติผู้ใหญ่ สิ่งเหล่านี้สามารถซึมซับ และรับรู้ได้ตั้งแต่วัยเด็ก และพฤติกรรมที่ได้รับ การปลูกฝังจะมีความมั่นคงถาวรมากเพียงใด ขึ้นอยู่กับการได้รับการฝึกฝนอย่าง สม่ำเสมอจากผู้ที่เป็นพ่อแม่ และผู้ใกล้ชิดเด็ก

 

 

ที่มา : sansanook , parentsone , naschool

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สอนลูกให้มีมารยาทดี ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ เป็นแบบอย่าง

5 วิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าว ดื้อด้าน เอาแต่ใจ พ่อแม่ต้องทำยังให้ลูกเป็นเด็กดี มีมารยาท

 

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana